สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติ
ฐิติพร มะชิโกวา, รุจ มรกต, ฐิติพร มะชิโกวา, รุจ มรกต - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติ
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Seasonal Population Fluctuations of Mealybugs Attacking Cassava and Their Natural Enemies
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติ ได้ดำเนินการในแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง 4 แปลง เป็นพันธุ์ห้วยบง 60 จำนวน 2 แปลง (Site1-2) และระยอง 72 จำนวน 2 แปลง (Site3-4) อำเภอสีคิ้ว ช่วงฤดูปลูกเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงตุลาคม 2555 และแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 จำนวน 2 แปลง (Site5-6) และระยอง 72 จำนวน 2 แปลง (Site7-8) อำเภอโชคชัยและอำเภอหนองบุญมาก ช่วงฤดูปลูกเดือนตุลาคม 2555 ถึงสิงหาคม 2556 ทำการสุ่มต้นมันสำปะหลัง 50 ต้นต่อแปลงเพื่อทำการสำรวจตรวจนับและบันทึกประชากรเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลัง 4 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้งลาย Ferrisia virgata (Cockerell) เพลี้ยแป้งแจ็คเบียส Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller เพลี้ยแป้งสีเขียว Phenacoccus madeirensis Green และเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero รวมทั้งแมลงศัตรูธรรมชาติได้แก่ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi และแตนเบียน Anagyrus lopezi เก็บยอดมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูทำลายจากแปลงทดลองครั้งละไม่เกิน 500 ตัว เพื่อนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินเปอร์เซ็นต์การถูกเบียน ผลการทดลองในช่วงฤดูปลูกเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนตุลาคม 2555 พบว่าทั้งในพันธุ์ห้วยบง 60 และระยอง 72 มีประชากรเพลี้ยทั้ง 4 ชนิดในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและการกระจายตัวต่ำ ไม่มีผลเสียหายต่อต้นมันสำปะหลัง พบประชากรเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูมีความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 6.08 ตัวต่อต้นในเดือนสิงหาคม 2555 ในพันธุ์ห้วยบง 60 สำหรับประชากรแมลงช้างปีกใส P. ramburi พบในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและไม่กระจายตัวความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 39 ตัวต่อ 50 ต้น ในเดือนกรกฎาคม 2555 พบประชากรแตนเบียน A. lopezi ในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและไม่กระจายตัวความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 10 ตัวต่อ 50 ต้น ในเดือน มิถุนายน 2555 จากการเก็บเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูจากทุกแปลงทดลองมาตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การถูกเบียนโดยแตนเบียน A. lopezi รวม 28 ครั้ง พบเปอร์เซ็นต์การถูกเบียนค่อนข้างสูงเฉลี่ย 57.72% ผลการทดลองในช่วงฤดูปลูกเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนสิงหาคม พบว่าทั้งในพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72 มีประชากรเพลี้ยทั้ง 4 ชนิดอยู่ในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและไม่กระจายตัว ไม่มีผลเสียหายต่อต้นมันสำปะหลัง พบประชากรเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูมีความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 28.60 ตัวต่อต้นในเดือนกุมภาพันธุ์ 2556 ในพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 สำหรับศัตรูธรรมชาติพบประชากรแมลงช้างปีกใส P. ramburi ในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและไม่กระจายตัวความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 45 ตัวต่อ 50 ต้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เช่นเดียวกับประชากรแตนเบียน A. lopezi ในระดับความหนาแน่นต่อต้นต่ำและไม่กระจายตัวความหนาแน่นสูงสุดเฉลี่ย 36 ตัวต่อ 50 ต้น ในเดือน มีนาคม 2556 จากการเก็บเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูจากทุกแปลงทดลองมาตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การถูกเบียนโดยแตนเบียน A. lopezi รวม 13 ครั้ง พบเปอร์เซ็นต์การถูกเบียนค่อนข้างสูงเฉลี่ย 62.93%
บทคัดย่อ (EN): Study on seasonal population fluctuations of mealybugs attacking cassava and their natural enemies was carried out at 8 sites of farmer cassava fields where sites 1–2 for Huaybong 60 variety and sites 3–4 for Rayong 72 variety in Amphoe Sikhiu during the growing season from November 2011 to October 2012 as well as sites 4–5 Kasetsart 50 variety and sites 7–8 for Rayong 72 variety in Amphoe Chok Chai and Nong Bun MAK district during the growing season of October 2012 to August 2013. Randomly 50 plants per sites to explore, counting and recording the populations of 4 mealybug species namely, striped mealybug Ferrisia virgate (Cockerell), grey mealybug, Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller,green, green mealybug Phenacoccus madeirensis Miller Green, cassava pink mealybug, Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero including their natural enemies include green lacewings, Plesiochrysa ramburi and parasitic wasp Anagyrus lopezi. Cassava pink mealybugs not more than 500 individuals were collected from each sites to evaluate its percentage parasitism by the parasitic wasp. The results of experiments during the growing season from November 2011 to October 2012 revealed that in both the Huaybong 60 and Rayong 72 varieties, have a population of 4 species with low density levels and low dispersion. There was not damage to cassava plant. Cassava pink mealybug population has the highest density in average 6.08 individuals in August 2012 in HuayBong 60 variety. The green lacewing P. ramburi population was found in low density and low dispersion. The highest population density was found 39 individuals per 50 plants in July 2012. The parasitic wasp A. lopezi population was found in low density and low dispersion which the highest density was 10 individual per 50 plants in June 2012. From 28 times collected of cassava pink mealybug from sites 5-8, the percentage parasitism of the mealybug by the parasitic wasp was a relatively high average record 57.72% The results of experiments during the growing season from October 2012 August to October 2013 revealed that in both Kasetsart 50 and Rayong 72 varieties, have a population of 4 species with low density levels and low dispersion. There is not damage to cassava plant. Cassava pink mealybug populations has the highest density in average 28.60 individuals per plant in February 2013 in Kasetsart 50 variety. The green lacewing P.ramburi population was found in low density and low dispersion.The highest population density was found 45 individuals per 50 plants in February 2013. The parasitic wasp A. lopezi population was found in low density and low dispersion with the highest density was 36 individual per 50 plants in March 2013. From 13 times collected of cassava pink mealybug from sites 5-8, the percentage parasitism of the mealybug by the parasitic wasp was a relatively high average record 62.93%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของเพลี้ยแป้งทำลายมันสำปะหลังและศัตรูธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2556
อาหารจากมันสำปะหลัง มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" การสกัดแป้งจากกากมันสำปะหลังและการเตรียมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของแมลงศัตรูองุ่นและศัตรูธรรมชาติ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก