สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)
พิมพร มนเทียรอาสน์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิมพร มนเทียรอาสน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บัญญัติ มนเทียรอาสน์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย( Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus ) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล ( Oreochromis niloticus ) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย แม่โจ้ โดยใช้ระบบชีววิถีผักตบชวาในสัดส่วนของพื้นที่ การทดลองใช้ปลาดุกบิ๊กอุย อายุ 21-23 วัน ขนาดตัว 5-10 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัว/ตารางเมตร ปลานิลขนาดตัว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 30 ตัว/ตารางเมตร บ่อเลี้ยงแบบคอนกรีตโดยใช้ระบบชีววิถีผักตบชวา 30 % แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.เลี้ยงเฉพาะปลานิล 2.เลี้ยงเฉพาะดุกบิ๊กอุย และ3.เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่ารูปแบบการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล ปริมาณกลิ่นสาปโคลนชนิด Geosmin และ 2-Methylisoborneol เนื้อปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิล เมื่อเทียบกับการเลี้ยงแบบเฉพาะปลานิลและปลาดุกบิ๊กอุยแยกกัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในส่วนของคุณภาพน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในส่วนของกลุ่มที่ 2 มีค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำและค่าแอมโมเนีย ดีกว่ากลุ่ม 1 และ3 ในส่วนประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของปลาทั้งสามกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นรูปแบบการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิล โดยใช้ระบบชีววิถีผักตบชวา 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถช่วยควบคุมปริมาณสารกลิ่นสาปโคลนทั้งสองชนิดในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุยและปลานิลได้
บทคัดย่อ (EN): This study was conducted to compare earthy-musty odors concentrations in hybrid walking catfish (Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus) meat from “Biological-Way-Of-Life” system with and without Nile tilapia (Oreochromis niloticus) for food safety standard based on strategy of Maejo University. This study used hybrid walking catfish age 21-23 days with 5-10 cm in size and Nile tilapia 3-5 cm in size, 30 fishes per m2 in the cement pond using Biological-Way-Of-Life system with 30% of water hyacinth. The experiment was assigned to 3 groups: 1) Nile tilapia only 2) hybrid walking catfish only and 3) Hybrid walking catfish and Nile tilapia. The result indicated that the smell of mud from Geosmin and 2-Methylisoborneol in hybrid walking catfish and Nile tilapia was not significant different (P>0.05) compare to the first and second group. In addition, the dissolved oxygen (DO) value and ammonia value in group 2 are greater than group 1 and 3. Whereas, growth performance among three groups were no different. Therefore, hybrid walking catfish culture with Nile tilapia using Biological-Way-Of-Life system 30 % of water hyacinth cannot reduce the amount of mud smell in both types of fish.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-58-053.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://artsandculture.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=4429
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย (Clarias macrocephalus X Clarias gariepinus) ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้ และไม่ใช้ปลานิล (Oreochromis niloticus) เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย(Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromisniloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัย การลดปริมาณสารพิษไมโครซิสตินในปลานิลที่เลี้ยงโดยระบบผสมผสาน(ชีววิถี)ด้วยการจัดการด้านอาหาร การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) การพัฒนากระบวนการผลิตสัตว์น้ำให้มีคุณภาพและปลอดภัย:การพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้ปลอดจากการปนเปื้อนของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ศึกษาการเจริญเติบโตของลูกปลาดุกลำพันที่เลี้ยงในระบบ การวิจัยและพัฒนาระบบชีววิถีเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ( Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus ) ร่วมกับปลานิล ( Oreochromisniloticus ) เป็นอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ร การผลิตปลานิลเชิงพาณิชย์ระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยในการส่งออก การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย การลดปริมาณสารพิษไมโครซิสตินในปลานิลที่เลี้ยในระบบผสมผสานโดยการจัดการด้านอาหาร การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก