สืบค้นงานวิจัย
โครงการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน
เกรียงไกร จำเริญมา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Pest Management
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกรียงไกร จำเริญมา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เกรียงไกร จำเริญมา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) มีการศึกษาใน 10 พืช คือ มังคุด มะม่วง พริก หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว กล้วยไม้ ขิง ลำไย ส้มโอ และส้มเขียวหวาน ที่แปลงเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ชัยนาท สุโขทัย เชียงใหม่ เชียงราย และนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึง กันยายน 2553 เพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัด โดยเน้นลดการใช้สารเคมี ซึ่งทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเทคโนโลยีที่ใช้ในแปลง IPM กับวิธีเกษตรกร เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในแปลง IPM กับเทคโนโลยีของเกษตรกร เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช ปริมาณการใช้สารเคมี วิธีการใช้ อัตราการใช้ ผลผลิต คุณภาพผลผลิต ราคาผลผลิต ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนต่อการลงทุน พบว่าในแปลง IPM มีการสุ่มสำรวจศัตรูพืชทุกๆ สัปดาห์ และตัดสินใจป้องกันกำจัด เมื่อปริมาณศัตรูพืชสูงถึงระดับเศรษฐกิจ เลือกใช้สารที่มีอันตรายน้อย ไม่ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาศัตรูพืชสร้างความต้านทาน มีการใช้สารทดแทนสารเคมี เช่น ใช้สารสกัดจากพืช ใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ใช้เครื่องพ่นและอัตราพ่นที่เหมาะสม ทำให้ลดการสูญเสีย และความสิ้นเปลือง มีการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการควบคุมศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ในขณะที่เกษตรกรเน้นแต่การใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสานใน มังคุด มะม่วง พริก หน่อไม้ฝรั่ง และกระเจี๊ยบเขียว พบว่า แปลง IPM สามารถลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต และให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงกว่าแปลงเกษตรกร ส่วนกล้วยไม้แปลง IPM สามารถลดการใช้สารเคมีได้สูงถึง 76.04% สำหรับส้มโอมีการใช้สารเชื้อราปฏิปักษ์ (Trichoderma) แทนสารเคมี ทำให้ลดการใช้สารเคมีลงได้ 22.20% ขณะที่ลำไยมีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดการระบาดของศัตรูพืช และมีการพ่นสารกำจัดศัตรูพืช โดยใช้ระบบน้ำน้อย สามารถลดการใช้สารเคมีได้ระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับขิงมีการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ (Bacillus subtilis) ทดแทนสารเคมี ส่วนในส้มเขียวหวานมีการสำรวจศัตรูพืช ก่อนตัดสินใจใช้สารเคมี จึงมีแนวโน้มว่าลดการใช้สารเคมีได้เช่นกัน
บทคัดย่อ (EN): Studies of Integrated Pest Management were carried out on 10 economic crops; mangosteen, mango, chilli, asparagus, okra, orchid, tangerine, pummelo, longan and ginger. The field experiment were conducted in Chantaburi, Suphanburi, Kanchanaburi, Nakhonpathom, Chinat, Sukhothai, Chaingmai, Chaingrai and Nakhornratchasima provinces during October 2005-September 2010. The experiments were aimed to compare IPM technology with farmer’s practices in each economic crops. From the experiment plots, record were taken on pets species, pest densities, natural enemies, group of pesticide, rate and time application. The control cost, yield, yield price as well as the cost/benefit ratio from the IPM and the farmer’s practice plots were calculated and compared. In the IPM plot, appropriate control methods were used when the population of pest was higher than economic threshold level. These control included the use of selective pesticides and microbial pesticides at the optimum rate and time for spraying in order to protect the natural enemies. While the farmer’s practice, they only depend on pesticide for pest control. In mangosteen, mango, chilli, asparagus and okra the cost/benefit ratio in IPM plots are higher than those of farmer’s plot. The pesticide use was decreased 76.04% and 22.20% in orchid and pummelo, respectively. The use of low volume application in longan and the use of antagonistic microorganism (Bacillus subtilis) in ginger could reduce the pesticide use as well as the use of pesticide in tangerine.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
บทบรรณาธิการ เรื่อง ข้อสังเกตบางประการของการบริหารศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) การบริหารศัตรูพืชเพื่อสนับสนุนโครงการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร โครงการบริหารการทดสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างวัสดุ (ด้านวิศวกรรม) โครงการบริหารการทดสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างวัสดุ (ด้านวิศวกรรม) การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด รูปแบบการบริหารไรกระเทียมแบบผสมผสาน โครงการวิจัยการเฝ้าระวังศัตรูพืช คุณลักษณะและความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดภาคตะวันตก โครงการพัฒนาระบบบริหารงานศึกษาวิเคราะห์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก