สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วรรณวาท แก้วคำแสน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณวาท แก้วคำแสน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ศึกษาสภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวและศึกษาปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่ปลูกมะขามเปรี้ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี อำนาจเจริญ และร้อยเอ็ด จำนวนเกษตรกร 400 ราย และพ่อค้าจำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS/PC+ เพื่อหาค่าร้อยละ (PERCENTAGE) และค่ามัชฌิมเลขคณิต (ATITHEMATIC MEAN) ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบชั้น ป. 4 มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน มีแรงงานในการเกษตร 1-2 คน มีอายุเฉลี่ย 52 ปี มีที่ดินทำการเกษตรเฉลี่ยครอบครัวละ 30.25 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของกลุ่มสหกรณ์การเกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เกษตรกรร้อยละ 64.5 ได้รับข่าวสารวิชาการจาก โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเพื่อนบ้าน ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 93.7 ไม่เคยได้รับการรอบรมเรื่องการปลูกมะขาม และมีรายได้เฉลี่ยทั้งหมดต่อปีเท่ากับ 38,956.74 บาท การปลูกมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรพบว่า ร้อยละ 95.8 ปลูกตามบริเวณบ้าน ร้อยละ 4.0 ปลูกตามหัวไร่ปลายนา และร้อยละ 0.2 ปลูกเป็นพื้นที่ไร่ ตามลำดับ ซึ่งการปลูกมะขามตามบริเวณบ้านพบว่า เกษตรกรปลูกจำนวนรายละ 1-5 ต้น มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ให้ผลผลิตตั้งแต่ 50 กิโลกรัมต่อต้นขึ้นไป ส่วนมะขามที่เกษตรกรปลูกตามหัวไร่ปลายนาเกษตรกรปลูกรายละ 1- 5 ต้น เช่นกัน ส่วนพันธุ์ที่เกษตรกรปลูก ร้อยละ 83.75 ไม่ทราบพันธุ์ ในปี 2542 เกษตรกรร้อยละ 16.3 ที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกเกิน 5 ต้น และปลูกเป็นพื้นที่ไร่ จำนวน 1-2 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกได้แก่ มะขามกระดานฝักใหญ่ โดยนำพันธุ์มาจากร้านค้าจำหน่ายกิ่งพันธุ์ การเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรร้อยละ 46.0 นำผลผลิตมาแกะเปลือกอย่างเดียวแล้วขายให้พ่อค้าทันที การบรรจุหีบห่อเกษตรกรร้อยละ 61.3 บรรจุในกระสอบปุ๋ย และมีพ่อค้าต่างถิ่นมารับซื้อ ส่วนราคาผลผลิต พ่อค้าท้องถิ่นให้ราคาในช่วง 10-15 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 13.20 บาทต่อกิโลกรัม การตลาดมะขามเปรี้ยวในระดับพ่อค้าท้องถิ่น จากการสัมภาษณ์และการสำรวจพ่อค้ารับซื้อ พบว่าร้อยละ 44.0 รับซื้อผลผลิตมะขามเปรี้ยวที่แกะเปลือกออกอย่างเดียวส่วนใหญ่ซื้อในราคา 10 บาทต่อกิโลกรัม และร้อยละ 26.0 รับซื้อผลผลิตที่แกะเปลือกแยกเมล็ดและรกออก ส่วนใหญ่รับซื้อราคา 10-15 บาทต่อกิโลกรัม พ่อค้ามีการคัดเลือกคุณภาพมะขามเปียกโดยดูจากเนื้อมะขามไม่เปียกน้ำเป็นหลัก ระยะเวลาที่รับซื้อในเดือน มกราคม ถึงกุมภาพันธุ์ เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาในเดือนกุมภาพันธุ์ ถึงมีนาคม ปริมาณที่รับซื้อต่อปีร้อยละ 48.0 พ่อค้ารับซื้อจำนวน 5-10 ตันต่อรายต่อปี หลังจากรับซื้อผลผลิตจากาเกษตรกรแล้วร้อยละ 64.00 พ่อค้าที่รวบรวมภายในจังหวัดจะส่งขายต่อให้พ่อค้าต่างจังหวัดทันทีโดยบรรจุถุงพาสติกขนาดน้ำหนัก 10-20 กิโลกรัม ส่วนปัญหาอุปสรรคในการผลิตและการตลาดในระดับเกษตรพบว่าร้อยละ 57.6 ได้ผลผลิตต่ำ ร้อยละ 28.7 ไม่มีแหล่งพันธุ์ดีเพื่อปลูก ส่วนปัญหาด้านการตลาด 52.7 และร้อยละ 47.3 ราคาผลผลิตต่ำ และถูกพ่อค้ากดราคาตามลำดับ ส่วนปัญหาในระดับพ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อผลผลิต พบว่าร้อยละ 56.0 มะขามเปียกน้ำ ร้อยละ 28.0 ผลผลิตขาดแคลน และร้อยละ 16.0 ไม่มีห้องเย็นเก็บรักษาผลผลิตตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2542
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตการตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และการป้องกันกำจัดศัตรูมะม่วงแก้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาระบบการผลิตและการตลาดไก่งวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก