สืบค้นงานวิจัย
การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : ศึกษาเฉพาะกรณีของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก
อุษณีย์ เส็งพานิช - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่อง: การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : ศึกษาเฉพาะกรณีของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): Management of Good Agricultural Practice (GAP) rice seed to raise sustainably self-reliant competitive competency of Thai rice in the world market: The case of famers in Phitsanulok
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุษณีย์ เส็งพานิช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก 2. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) 3. ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยศึกษาจากระดับการยอมรับและความต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐาน GAP: seed ประชากรคือ เกษตรกรชาวนาในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์พิษณุโลก 2 คือ 5,530 บาท/ไร่ และผลผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว 570 กิโลกรัม/ไร่ เฉลี่ยเป็นต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ 9.70 บาท/กิโลกรัม สำหรับราคาเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่างๆ คือสหกรณ์การเกษตร 15 บาทต่อกิโลกรัม ร้านค้าเอกชนคือ 17.8 บาทต่อกิโลกรัม และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวหรือหน่วยงานภาครัฐราคาประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม 2) ปัญหาและอุปสรรคใดในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามข้อกำหนด เกณฑ์ และวิธีการตรวจประเมินระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP: Seed) ในความคิดเห็นของเกษตรกร พบว่าเป็นไม่มีปัญหาและอุปสรรคที่มีความรุนแรงในระดับมากที่สุดและน้อยที่สุด ส่วนมีความรุนแรงอยู่ในระดับมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ การปลูกซ่อมต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งเดียวกัน การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตเองต้องผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร การกำจัดวัชพืชที่ดี ไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนหรือมีน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ ใช้ 3) ความเป็นไปได้ของการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) โดยศึกษาจากระดับการยอมรับและความต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่า เมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้ด้านการเงิน การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้ด้านการจัดการ การยอมรับหรือความต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ในระดับมาก 3 อันดับแรกคือ การจัดการเก็บเมล็ดพันธุ์เป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์อื่นปน การเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่เหมาะสม การจัดการความสะอาดของอุปกรณ์และพาหนะขนย้ายให้ปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายและข้าวพันธุ์อื่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : ศึกษาเฉพาะกรณีของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
30 กันยายน 2554
การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง การพัฒนาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืนของจังหวัดน่าน (ปีที่ 2) การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราแนะนำกับชุดเทคโนโลยีของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว การเปรียบเทียบชุดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราแนะนำกับชุดเทคโนโลยีของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว การลดต้นทุนการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มตลาดข้าวเหนียว กข 6 การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก การพัฒนาเครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์แบบช่องแยกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับวิสาหกิจชุมชน การแข่งขันการลดต้นทุนการผลิตข้าวในนาชลประทานเขตกรุงเทพมหานคร การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีและถ่ายทอดงานวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดสระบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก