สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ
รัตนา การุญบุญญานันท์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนา การุญบุญญานันท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยที่มีระบบการให้น้ำและปุ๋ยแบบอัตโนมัติและแม่นยำ ศึกษาผลของสารให้สาร Indole-3-butyric acid (IBA) ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยตอ และศึกษาเปรียบเทียบผลของกรรมวิธีการบำรุงตออ้อยต่อการเจริญเติบโตของอ้อยตอ จากการศึกษาและทดสอบเครื่องผ่ากออ้อยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดซึ่งเป็นเครื่องแบบมีใบมีดผ่ากลางตออ้อยและใช้ขาแหวกร่องเพื่อขยายขนาดของร่องให้ท่อปุ๋ยเม็ดและท่อน้ำลงไปในดิน พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียตออ้อยประมาณ 11.0 – 19.4 เปอร์เซ็นต์ มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียหน่ออ้อยเฉลี่ย 36.3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนหน่ออ้อยก่อนผ่า และพบการอุดตันของท่อปุ๋ย แต่พบข้อดีของการผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยคือ สามารถเพิ่มจำนวนหน่ออ้อยและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอ้อยได้จึงได้ทำการพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติต้นแบบ โดยมีส่วนประกอบหลักคือ 1) โครงสร้างหลัก 2) ภาชนะบรรจุปุ๋ยน้ำขนาด 1000 ลิตร 3)ชุดผ่ากออ้อย 4) ชุดปรับระดับความลึก 5) ชุดคราดสปริงปิดกลบร่อง และ 6) ชุดควบคุมระบบการเปิด-ปิดน้ำปุ๋ยอัตโนมัติ มีหลักการทำงานคือ ใช้ปั๊มน้ำเพื่อส่งน้ำปุ๋ยให้ไหลในระบบท่อตลอดเวลา และควบคุมตำแหน่งการให้ปุ๋ยลงสู่ตออ้อยโดยใช้สวิทซ์ไฟฟ้าเป็นตัวควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วไฟฟ้าเพื่อให้น้ำปุ๋ยไหลลงสู่ตออ้อยอย่างแม่นยำหรือไหลกลับสู่ภาชนะบรรจุปุ๋ย จากการทดสอบเปรียบเทียบกรรมวิธีการบำรุงตออ้อยทั้ง 5 รูปแบบ คือ 1) รดปุ๋ยน้ำ (วิธีควบคุม) (M1), 2) เครื่องผ่ากออ้อยที่มีจำหน่ายในท้องตลาด (M2), 3) เครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติแบบแหวกร่อง (M3), 4) เครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติแบบ 2 ขา (M4) และ 5) เครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติแบบขาเดียว (M5) พบว่า ผลผลิตอ้อยทุกกรรมวิธีมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ เครื่องผ่ากออ้อยรูปแบบ M2 ใช้ปุ๋ยสูงที่สุด 15.71 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยด้วยเครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำแบบอัตโนมัติรูปแบบ M3, M4 และ M5 ซึ่งใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำในอัตรา 12.09, 12.65 และ 12.76 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ จึงสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ประมาณ 36 บาทต่อไร่คิดเป็น 20 เปอร์เซนต์(ปุ๋ยเม็ด 3 กิโลกรัมต่อไร่) ราคาเครื่องมือถูกกว่าราคาเครื่องผ่ากออ้อยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการทำงาน 0.9 ไร่ต่อชั่วโมง อัตราการใช้ปุ๋ยน้ำเฉลี่ย 0.92 ลิตรต่อเมตร หรือ 984 ลิตรต่อไร่ (ระยะห่างระหว่างแถวอ้อย 1.5 เมตร) โดยใช้ปุ๋ยเม็ดเฉลี่ย 12.5 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการศึกษาให้สารควบคุมการเจริญเติบโต โดยใช้สาร Indole-3-butyric acid (IBA) ความเข้มข้นของสาร IBA ในระดับความเข้มข้น 0, 200, 400, 600, 800 และ 1,000 ppm ที่ระยะเวลาที่ฉีดพ่นสาร 0 (ชุบท่อนพันธุ์), 3, 5 และ 7 สัปดาห์หลังปลูก พบว่า น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดิน และน้ำหนักแห้งของรากไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ผลจากการจัดอบรมเชิงการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องผ่ากออ้อยและให้ปุ๋ยน้ำอย่างแม่นยำ จำนวน 2 ครั้ง พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจและได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่องควรมีการปรับปรุงในเรื่องของปั๊มให้มีอัตราการไหลที่เพียงพอต่อความต้องการ ให้มีราคาถูกลง และควรมีการปรับใช้กับการป้องกันศัตรูพืช ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตและชาวไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่ขาดน้ำ หรือฝนทิ้งช่วงนาน ๆ
บทคัดย่อ (EN): This research aims to develop a sugarcane ratoon splitter with automated precision watering and fertilization system, to study the effects of Indole-3-butyric acid (IBA) on the growth of ratoon cane and to study the methods of ratoon management and their effects on the growth of ratoon cane. The preliminary study tested on the conventional splitter model, which splitted the ratoon in the middle and have a shovel to expand the groove for adding water and fertilizer, revealed that the damages on the ratoon ranged from 11.0 to 19.4 % and that on the shoot was 36.3% by average, based on the existing shoots before splitting, while the problem of soil occlusion in fertilization tube was also observed. However, the advantages of ratoon splitting and fertilization were the increased number of shoots and the diameter of the cane. A prototype sugarcane splitter with the following components was developed: 1) main structure, 2) 1000-litre liquid fertilizer container, 3) ratoon splitter, 4) depth adjustment 5) spring tines as groove closer and 6) automatic liquid fertilizer flow control system. The operations of this machine were splitting the ratoon, directly injecting liquid fertilizer onto the ratoon and closing by spring tines. By comparing 5 methods of ratoon management, which were, 1) liquid fertilization as the control (M1), 2) the splitter existing in the market (M2), 3) the developed splitter with coulter (M3), 4) the developed splitter with twin injectors (M4) and 5) the developed splitter with single injector (M5), the results showed statistically insignificant difference in yields (p>0.05). M2 splitter consumed highest fertilizer of 15.71 kilograms per rai, comparing with the developed M3, M4 and M5, which consumed 12.09, 12.65 and 12.76 kilograms per rai, respectively, consequently save fertilizer cost by 3 kilograms of fertilizer or 36 Baht per rai, while the price of the machines was about 50 percent lower. Field capacity was 0.9 rai per hour, liquid fertilization rate was 0.92 litres per metre or 984 litres per rai, equivalent to 12.5 kilograms of urea fertilizer per rai, given the row space of 1.5 metres. The study of effects of Indole-3-butyric acid (IBA) on sugar cane growth revealed that the aerial dry mass and the root mass of 0, 200, 400, 600, 800 and 1,000 ppm of IBA-treated group at 0 (immersed), third, fifth and seventh week were insignificantly different. After two technology transfer trainings of the sugarcane ratoon splitter with precision liquid fertilization system, the trainees were interested in the technology and had suggested the improvement on pumping system with the increased flow rate and lower price and to adapt for pest control, which is applicable. The technology was accepted by the maker and the farmers, especially in dry condition or during dry period.
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG60T0168
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-06-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-05-31
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/309459
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
31 พฤษภาคม 2561
เอกสารแนบ 1
อิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการออกดอกติดผลของลิ้นจี่ วิจัยและพัฒนาการปลูกระบบ Aeroporic ผลของปุ๋ยน้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดและอ้อย ผลของสาร Trinexapac-ethyl สารเร่งการสุกแก่ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำตาลของข้าวฟ่างหวาน ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา ผลการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพอ้อย ผลของการเคลือบก้อนพอกด้วยสารป้องกันโรคพืชที่มีผลต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาสูบ ผลของสารสกัดหยาบจากข่าต่อการงอกและการเจริญเติบโต ของพืชปลูกและวัชพืชบางชนิด ผลของต้นตอต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาญี่ปุ่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก