สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
วีรชัย ศุกลพงศ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีรชัย ศุกลพงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาถึง 1) สภาพภูมิหลังบางประการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการจัดการวัชพืช 3) ความรู้และความต้องการความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิหลังบางประการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกับความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ 5) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการเกษตรและเจ้าพนักงานการเกษตร ฝ่ายป้องกันและกำจัดศัตรูพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด จำนวน 190 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ และค่ามัชฌิมเลขคณิต ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปีมากที่สุด อายุเฉลี่ย 44.7 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร ประสบการณ์ทำงาน 1-10 ปี เคยได้รับความรู้ในการพัฒนาความรู้หรือฝึกอบรมมากที่สุด การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อบทบาทการช่วยเหลือเกษตรกรวิเคราะห์ปัญหาความสูญเสียจากวัชพืช เจ้าหน้าที่ปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการให้คำแนะนำประโยชน์และโทษของวัชพืชมากที่สุด ร้อยละ 51.6 บทบาทการถ่ายทอดความรู้เจ้าหน้าที่ปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง เรื่องการแนะนำให้เกษตรกรเข้าใจวิธีการควบคุมวัชพืชมากทีสุด ร้อยละ 47.4 บทบาทการช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องการใช้สารกำจัดวัชพืช พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่เคยศึกษาปัญหาหรือทำงานร่วมกับเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาการใช้สารกำจัดวัชพืชมากที่สุด ร้อยละ 44.2 บทบาทหน้าที่ด้านอื่น ๆ เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกษตรกรจัดตั้งกลุ่มศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ร้อยละ 40.0 ความรู้ด้านการจัดการวัชพืช เจ้าหน้าที่มีความรู้ทุกด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และต้องการพัฒนาความรู้สารกำจัดวัชพืชสูงที่สุด ร้อยละ 84.7 และต้องการการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศมากที่สุด เรื่องวิธีการควบคุมวัชพืชและศัตรูอื่น ๆ ร้อยละ 55.3 ด้านการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ต้องการสนับสนุนความรู้การจัดการวัชพืชโดยเน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจและกระตุ้นเกษตรกรให้สามารถนำเทคโนโลยีไปปฏิบัติได้จริงมากที่สุด ปัญหาที่เจ้าหน้าที่พบมากที่สุด คือ การขาดงบประมาณ ร้อยละ 76.3 และต้องการให้แก้ไขปัญหาเรื่องเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ข้อเสนอแนะในการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืช เจ้าหน้าที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการพัฒนาความรู้เรื่องการกำหนดมาตราการการผลิตพืชที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างมากที่สุด ร้อยละ 86.8 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าเจ้าหน้าที่มีอายุมากกว่า จะมีความต้องการพัฒนาความรู้เนื้อหาวิธีการน้อยกว่าที่ระดับนัยสำคัญ .01 เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า จะมีความต้องการพัฒนาความรู้เนื้อหาวิชาการน้อยกว่าที่ระดับนัยสำคัญ .05 และด้านการปฏิบัติงาน้อยกว่าที่ระดับนัยสำคัญ .01 เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านการจัดการวัชพืชมากกว่าจะมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านเนื้อหาวิชาการมากกว่าที่ระดับนัยสำคัญ .05 และเจ้าหน้าที่ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันจะมีความต้องการพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ไม่แตกต่างกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การสื่อสารภายในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมและเผยแพร่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2536 ความต้องการในการทำงานวิจัยของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาศักยภาพโรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก