สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทำข้าวโพดหมัก (Corn silage)
ชัยณรงค์ บุหงาวงษ์, จุฬานีย์ น่วมจิตร์, ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์ และ นวนน จันทประสาร - องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทำข้าวโพดหมัก (Corn silage)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัยณรงค์ บุหงาวงษ์, จุฬานีย์ น่วมจิตร์, ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์ และ นวนน จันทประสาร
หน่วยงานสังกัดผู้แต่ง:
tarr.volume: 2559
tarr.number: 1
tarr.page: 8-14
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 4 รหัสพันธุ์ ได้แก่ WS401, WS402, WS407 และ WS 418 โดยทำการสำรวจแปลงปลูก เตรียมดิน และปลูกปอเทืองเพื่อเพิ่มสารอาหารและแร่ธาตุในดิน ปลูกข้าวโพดด้วยเครื่องจักที่มีระยะระหว่างแถวปลูก 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้นโดยประมาณ 18- 20 เซนติเมตร การดูแลรักษาจะไถเฉพาะบริเวณรอบๆ แปลง ไม่มีการกำจัดวัชพืชและไม่ใส่ปุ๋ยตลอดการทดลอง จากการทดลอง พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดในแต่ละช่วงของทุกรหัสพันธุ์มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งข้าวโพดรหัส WS 402 มีความสูงในทุกๆ ช่วงที่สุด ด้านผลผลิต ข้าวโพดรหัส WS 401 มีน้ำหนักของผลผลิตต่อต้น ฝักรวมเปลือก ฝักและเปลือกมากที่สุด ส่วน WS 418 มีน้ำหนักของลำต้นและใบข้าวโพดรหัสมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนะ รหัส WS 402 มีค่าเปอร์เซ็นต์เยื่อใย (%CF, NDF, ADF และ ADL) สูงที่สุด รหัส WS 401 มีค่าเปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง (%DM) เปอร์เซ็นต์ไขมัน (%EE) และเปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรตละลายน้ำ (%NFE) สูงที่สุด รหัส WS 418 มีค่าเปอร์เซ็นต์โปรตีน (%CP) และเปอร์เซ็นต์เถ้า (%Ash) สูงที่สุด สามารถสรุปได้ว่า ข้าวโพดที่เหมาะจะนำไปใช้เป็นข้าวโพดหมักมากที่สุด คือ รหัส WS 401 เนื่องจากให้ผลผลิตและมีความเหมาะสมมากที่สุด
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
จำนวนหน้า: 6
เผยแพร่โดย: องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ: ข้าวโพด, ผลผลิต
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
เจ้าของลิขสิทธิ์: ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนม
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทำข้าวโพดหมัก (Corn silage)
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
การอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา การถ่ายทอดผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวโพดข้าวเหนียว
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก