สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี
วิชัย อมรพันธางค์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิชัย อมรพันธางค์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในโครงการ แปรรูปสินค้าเกษตร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจำนวน 136 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 51.6 ปี ร้อยละ 83.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยมีรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 48,528.3 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 21,967.7 บาท รายได้จากการแปรรูปเฉลี่ย 9,297.4 บาท ร้อยละ 71.3 มีตำแหน่งสมาชิกในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 4.1 ครั้ง ต่อปี และมีระยะเวลาเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 9.1 ปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานโครงการและวัตถุประสงค์โครงการ เห็นด้วยต่อการบริหารจัดการกลุ่ม การสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ เงื่อนไขหลักเกณฑ์โครงการการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อโครงการ และเห็นด้วยต่อการได้รับประโยชน์จากโครงการ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีส่วนร่วมมากในด้านร่วมคิดและแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมปานกลางด้านปฏิบัติตามกิจกรรมโครงการของกลุ่มและด้านปฏิบัติตามกิจกรรมโครงการของกลุ่ม ในสัดส่วนที่เท่ากัน และด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ผลการทดสอบสมมติฐาน สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีรายได้รวมต่างกัน รายได้นอกภาคเกษตรต่างกัน มีรายได้จากการแปรรูปต่างกัน มีจำนวนครั้งที่อบรมต่างกันและมี ความคิดเห็นต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรต่างกันจะมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรแตกต่างกัน ปัญหาอุปสรรค ของสมาชิกด้านร่วมคิดมีปัญหาสมาชิกไม่มีเวลาเข้าร่วมประชุมเนื่องจากประกอบอาชีพหลักของตนเองทำให้ไม่ทราบความก้าวหน้าของกลุ่ม ขาดความต่อเนื่องและส่งผลให้ขาดโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม ด้านการตัดสินใจ สมาชิกเข้าร่วมประชุมน้อย การตัดสินใจอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนร่วม การเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้าร่วมจะให้ความสำคัญของกรรมการมากกว่า ด้านร่วมปฏิบัติตามกิจกรรม จากการที่สมาชิกไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมในโครงการและขาดความเสียสละมาร่วมกิจกรรมไม่ตรงเวลา ด้านร่วมรับผล สมาชิกได้รับประโยชน์น้อยจากกิจกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับการทำกิจกรรมของตนเอง ด้านการประเมินผล การให้ความสำคัญและ การไม่นำผลการประเมินมาปรับปรุงการทำงานกลุ่ม ข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่ม ให้จัดทำแผน การปฏิบัติงานประจำเดือน สร้างแรงจูงใจเพื่อให้สมาชิกได้จัดแบ่งเวลามาทำกิจกรรมได้ตรงตามเวลา เพราะเมื่อมาร่วมกิจกรรมทุกครั้งก็จะทราบความก้าวหน้าของกลุ่ม ให้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงให้เป็นประชาธิปไตยในการเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง โดยมีหนังสือแจ้งเข้าร่วม ให้มอบหมายความรับผิดชอบของแต่ละคนในกลุ่มนอกจากกรรมการและสมาชิกก็ควรมีหน้าที่รับผิดชอบคนละอย่างด้วย กลุ่มเสนอความต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนรวมทั้งส่วนราชการ เอกชนที่เกี่ยวข้อง การปันผลจากจำนวนหุ้นที่ถือและการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่ม ควรนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขให้กลุ่มมีคุณภาพยิ่งขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดชุมพร ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุโขทัย เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐาน ความคิดเห็น และความพึงพอใจ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสมุทรปราการ ความต้องการในการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ความต้องการในการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ความต้องการความรู้ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรม : กรณีศึกษาของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ปี 2547 ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในงานส่งเสริมการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก