สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของเกษตรกรตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีษะเกษ
ปัญญา พิจารณ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของเกษตรกรตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีษะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปัญญา พิจารณ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของเกษตรกรตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ สภาพการผลิต และปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการผลิต ของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 ราย ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 84.95 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.20ปี การศึกษา ร้อยละ 87.63 จบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว เฉลี่ย 3.85 คน จำนวนแรงงานในครอบครัว เฉลี่ย 2.05 คน การประกอบอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 100 ทำนา อาชีพนอกภาคเกษตร ร้อยละ 64.52 มีอาชีพรับจ้าง การเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ร้อยละ 76.88 เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 20.19ไร่ต่อครัวเรือน การถือครองพื้นที่ทำนา ร้อยละ 67.20 เป็นของตนเองอย่างเดียว แหล่งเงินทุน ร้อยละ 48.92 ใช้เงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 62,745.97 บาท รายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 31,371.54 บาท รายได้ทั้งหมด เฉลี่ย 84,672.31 บาท เครื่องจักรกลการเกษตร ร้อยละ 96.77 มีรถไถเดินตาม สำหรับสภาพการผลิตข้าว มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 24.54 ไร่ ลักษณะของพื้นที่นา ร้อยละ 56.45 เป็นพื้นที่ดอน โครงสร้างของเนื้อดิน ร้อยละ 97.31 เป็นดินร่วนปนทราย วิธีการทำนา ร้อยละ 53.76 ทำนาหว่านอย่างเดียว และ ร้อยละ 46.24 ทำทั้งนาดำและนาหว่าน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำนา อาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ช่วงเวลาหว่านกล้าในกรณีทำนาดำ อยู่ระหว่างเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม ช่วงเวลาหว่านข้าวในกรณีทำนาหว่าน ร้อยละ 51.61 อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ร้อยละ 100 ใช้พันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยละ 75.27 เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ สำหรับนาดำ ร้อยละ 81.40 ใช้ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ นาหว่าน ร้อยละ 70.97 ใช้ในอัตรา 30กิโลกรัมต่อไร่ การปรับปรุงดินก่อนการปลูกข้าว ร้อยละ 53.76 ไม่เผาตอซังข้าว การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก่อนการเตรียมดิน ร้อยละ 91.40 ไม่มีการใช้สารเคมี จำนวนครั้งในการไถเตรียมดิน ร้อยละ 100 มีการไถเตรียมดิน 1 -2 ครั้ง การใช้ปุ๋ย ร้อยละ 59.68 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 ร้อยละ 72.07 ใช้สูตร 16-16-8 การใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 ร้อยละ 100 ใช้สูตร 46-0-0 อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 ร้อยละ75.68 ใช้อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการใช้ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 ร้อยละ 82.88 ใช้อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 66.13 ใช้น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ การป้องกันกำจัดโรคแมลง ร้อยละ 74.19 ป้องกันกำจัดเมื่อพบการระบาด การพิจารณาเก็บเกี่ยวข้าว ร้อยละ 91.40 เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึงหรือเหลืองกล้วย วิธีการเก็บเกี่ยวข้าว ร้อยละ 66.67 ใช้รถเกี่ยวนวด การตากข้าวเพื่อลดความชื้น ร้อยละ 70.97 ตาก 1-2 วัน การเก็บรักษาข้าวเปลือก ร้อยละ 87.10 เก็บไว้ในยุ้งฉาง การจัดการผลผลิตที่เหลือจากเก็บไว้บริโภคและทำพันธุ์ ร้อยละ 75.27 ทยอยขายเมื่อต้องการใช้เงิน ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเฉลี่ย 2,047.57 บาทต่อไร่ผลผลิต เฉลี่ย 393.38 กิโลกรัมต่อไร่ การจำหน่ายผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 100 จำหน่ายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อในหมู่บ้านราคาข้าวที่เกษตรกรจำหน่ายได้ ร้อยละ 79.03 จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 9 บาท ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกรในจำนวน 10 ด้านพบว่ามีปัญหาน้อยอยู่ 3 ด้าน 3 ประเด็น คือ ด้านสภาพพื้นที่/ดิน มีปัญหาน้อยได้แก่ประเด็น สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว(ค่าเฉลี่ย 1.70) ด้านการระบาดและทำความเสียหายของโรคแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ประเด็น สัตว์ศัตรูข้าว(ค่าเฉลี่ย1.88)และด้านการตลาด ได้แก่ ประเด็นการรับข่าวสารเรื่องราคาข้าว(ค่าเฉลี่ย 2.24) สำหรับด้านและประเด็นที่ไม่มีปัญหาคือ ด้านการดูแลรักษา และการเพิ่มผลผลิต ได้แก่ประเด็น ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการแปลงกล้า(ค่าเฉลี่ย 1.34) และ ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการจัดการน้ำ(ค่าเฉลี่ย1.19) ทีเหลือมีปัญหาในระดับมาก ข้อเสนอแนะของเกษตรกร พบว่า ร้อยละ 60.75 ต้องการให้มีการรับซื้อข้าวที่มีคุณภาพดีในราคาที่สูงกว่าข้าวทั่วไป อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม รองลงมาร้อยละ 50.00 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ควรมีเครื่องมือในการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ข้าว และการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างบริการเกษตรกร ก่อนนำไปจำหน่าย ร้อยละ 46.24 ทางราชการควรแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง ร้อยละ 22.58 รัฐบาลควรจะส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสดให้มากกว่าเดิม ร้อยละ 11.29 ควรจัดหาปุ๋ยเคมีราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกร ร้อยละ 6.45 ต้องการให้ทางราชการอบรมเกษตรกรให้มากกว่าเดิม และร้อยละ 4.84 รัฐบาลควรสนับสนุนโรงสีเพื่อแปรรูปข้าว ให้มากกว่าเดิม พร้อมกับส่งออกไปต่างประเทศให้ได้ปริมาณมาก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2549/50 ของเกษตรกรตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีษะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2551
สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอคอนสวรรค์จังหวัดชัยภูมิ ปี 2549 สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร : กรณีศึกษาการผลิตข้าวนาปีในตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ฤดูกาลผลิตปี 2546/2547 สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2546 สถานการณ์การผลิตและการจัดการผลผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก