สืบค้นงานวิจัย
การผลิตกลาสเซรามิกจากส่วนผสมของเศษแก้ว เปลือกไข่ และ เพอร์ไลต์
นภัสถ์ จันทร์มี - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตกลาสเซรามิกจากส่วนผสมของเศษแก้ว เปลือกไข่ และ เพอร์ไลต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นภัสถ์ จันทร์มี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Napat Chantaramee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้สังเคราะห์สารก่อผลึกจากเปลือกไข่เผาและเพอร์ไลต์ขยายตัวเพื่อนำไปผสมกับเศษแก้วโซดาไลม์ ซินเทอร์ที่อุณหภูมิระหว่าง 850 - 1050 องศาเซลเซียส ด้วยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสต่อนาที เป็นเวลา 30 - 180 นาที ผลจากการตรวจสอบเฟสด้วยเทคนิคเอ็กซเรย์ดิฟแฟรกชันร่วมกับผลการวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานทางวิทยาบริเวณพื้นผิวของตัวอย่างด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบอนุภาคลักษณะคล้ายแท่งเข็มกระจายทั่วทั้งบริเวณผิวหน้าและบริเวณด้านในของตัวอย่าง สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบ ด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานของรังสีเอ็กซ์ซึ่งระบุว่าอนุภาคดังกล่าวนั้นเป็นผลึกโวลลาสโทไนต์ ทั้งนี้ยังพบผลึกคริสโทแบไลต์และควอตซ์ปะปนในเนื้อแก้ว และจากการทดสอบความทนทานต่อสารเคมี พบว่าตัวอย่างดังกล่าวนั้นสามารถทนสภาพที่เป็นกรดได้ดีกว่าสภาพที่เป็นเบส โดยตัวอย่างกลาสเซรามิกที่แช่ในสารละลายกรดซัลฟูริก ความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยปริมาตร มีการสูญเสียน้ำหนักเพียงร้อยละ 0.04 - 0.16 ขณะที่ตัวอย่างกลาสเซรามิกที่แช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก มีการสูญเสียน้ำหนักร้อยละ 0.28 - 0.50
บทคัดย่อ (EN): Feasibility of producing glass-ceramics from cullet, eggshell and perlite was investigated. In this study, a nucleating agent was synthesized from calcined eggshell and expanded perlite prior to blend with soda-lime waste glass, and then sintered at temperatures ranging from 850 to 1050 ?C at a heating rate of 10 oC/min for 30 - 180 minutes. The crystallization behavior of glass-ceramics was investigated by means of X-ray diffraction analysis and surface morphology, and the chemical compositions were evaluated by scanning electron microscopy and energy dispersive X-ray spectroscopy. The results showed that crystalline phase embedded in the glassy phase were needle-like crystal of wollastonite, cristobalite, and quartz. According to the chemical resistance test, the obtained glass-ceramics showed acceptable corrosion resistance particularly in acidic environment. The weight loss for glass-ceramics immersed in 1 wt% of sodium hydroxide solution was 0.28 - 0.50 wt%, while the weight loss due to 1 vol% of sulfuric acid solution was 0.04 - 0.16 wt%.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-012
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-60-012.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตกลาสเซรามิกจากส่วนผสมของเศษแก้ว เปลือกไข่ และ เพอร์ไลต์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
การสังเคราะห์แคลเซียมออกไซด์พื้นที่ผิวสูงจากเศษเปลือกไข่อุตสาหกรรม การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณสมบัติทางด้านเคมีชีวภาพของเยื่อเปลือกไข่เป็ด เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพแบบใหม่ ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่ ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่ ผลการเสริมไข่น้ำในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและสีไข่แดงของเป็ดไข่ ผลของการเสริมกากข้าวโพดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่และคุณภาพไข่ ผลของการเสริมเมลามีนหรือยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์หรือส่วนผสมของทั้งสองชนิดต่อสมรรถนะการผลิตในไก่ไข่ อิทธิพลของสารสกัดจากใบบัวต่อการผลิตของไก่ไข่ คุณภาพไข่ และโคเลสเตอรอลในไข่แดง ผลการเสริมไลซีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่ ผลการเสริมเมทไธโอนีนต่อสมรรถนะการผลิตไข่ของนกกระทาญี่ปุ่นช่วงให้ไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก