สืบค้นงานวิจัย
การสร้างเครื่องต้นแบบและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณยางในน้ำยางด้วยพลาสติก
วิสุทธิ์ ศุกลรัตน์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การสร้างเครื่องต้นแบบและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณยางในน้ำยางด้วยพลาสติก
ชื่อเรื่อง (EN): Prototype and Development of Plastic Latexometer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิสุทธิ์ ศุกลรัตน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พรรษา อดุลยธรรม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เมโทรแล็คเป็นเครื่องมือใช้วัดปริมาณยางในน้ำยางที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการซื้อขายน้ำยางสดเนื่องจากปฏิบัติง่าย ทราบผลทันทีและเสียค่าใช้จ่ายน้อยถึงแม้จะมีความคลาดเคลื่อนที่ cv = 11.7% เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ เมโทรแล็คใช้หลักการวัดความหนาแน่นของน้ำยางที่อยู่ในช่วง 0.97 - 0.98 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร คือถ้ามีเนื้อยางมากความหนาแน่นจะน้อยลงเมโทรแล็คจะจมลงมากค่าที่อ่านได้จะมาก เมโทรแล็คทำด้วยแก้ว แตกหักง่าย ราคาแพง นำเข้าจากต่างประเทศ โดยทั่วไปผู้ซื้อจะเป็นผู้วัด จึงเกิดความขัดแย้งกับผู้ขาย ผลที่อ่านต้องคำนวณเป็นปริมาณในน้ำยาง จากการทดลองสร้างเครื่องวัดด้วยวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แก้วพบว่าพลาสติกที่สร้างเป็นกระเปาะถ่วงน้ำหนักให้ตั้งตรงตอบสนองต่อความหนาแน่นเช่นเดียวกันเมื่อวัดโดยการผสมน้ำยางกับน้ำ 1 : 2 สามารถทำให้ก้านวัดเล็กลงจาก 5 เป็น 4 มิลลิเมตร จึงมีช่วงลอยและจมยาวขึ้นอ่านได้ง่ายขึ้น มีค่าสหสัมพันธ์ เท่ากับเมโทรเล็ค r2 = 0.87 มีค่าปรับเครื่องความเบี่ยงเบนมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ (รับได้ที่ +/- 1.1) สามารถใช้เป็นแบบได้ เมื่อสร้างเครื่องวัดปริมาณยางในน้ำยางด้วยวิธีฉีดพลาสติก (injection molding) และทดสอบด้วยไอโซโพรพรอบพานอล (isopropanol) เช่นเดียวกับเมโทรแล็ค มีค่าสหสัมพันธ์กับเมโทรแล็ค r2 = 0.99 นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดหน่วยวัดเป็นร้อยละของยางในน้ำยาง (% drc) ทำให้อ่านได้โดยตรงโดยไม่ต้องคำนวณ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างเครื่องต้นแบบและพัฒนาเครื่องวัดปริมาณยางในน้ำยางด้วยพลาสติก
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การออกแบบและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องผสมปุ๋ยในระดับเกษตรกร การพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยคลื่นไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตยางแท่ง STR20 ระดับอุตสาหกรรม การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการหาปริมาณสบู่ในน้ำยางธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการไทเทรดร่วมกับการวัดการนำไฟฟ้า : ภายใต้แผนงานชุดโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา การประยุกต์เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีเพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของพันธะเชื่อมขวาง ปริมาณสบู่แอมโมเนียมลอเรตและปริมาณเตตระเมทธิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ของน้ำยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง การประยุกต์เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีเพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของพันธะเชื่อมขวาง ปริมาณสบู่แอมโมเนียมลอเรตและปริมาณเตตระเมทธิลไทยูแรมไดซัลไฟด์ของน้ำยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง การผลิตยางธรรมชาติอิพอกไซด์จากน้ำยางสด ความถี่ อัตราและช่วงระยะเวลาการให้น้ำสำหรับอ้อยในเขตชลประทานภาคกลาง การพัฒนายางธรรมชาติให้มีความหนืดมูนนี่ต่ำและคงที่ ปริมาณไนโตรเจน และปริมาณเจลต่ำในระดับอุตสาหกรรม (ระยะที่ 2) การทดสอบประสิทธิภาพรถต้นแบบสำหรับฉีดพ่นสารละลายแบบละอองฝอยในนาข้าว การศึกษาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางพาราในเขตจังหวัดเลย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก