สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉด ที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน
ชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉด ที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency of Antagonistic Rhizobacteria from Neptunia natans and Their Secondary Metabolites Against Soil-borne Plant Pathogenic Fungi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanakarn Ratanasakchaicharn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Pilunthana Thapanapongworakul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉดที่มีศักยภาพยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน ได้แก่ Sclerotium rolfsii, Rhizoctonia solani, Pythium sp. และ Fusarium oxysporum สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของผักสลัด เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี dual culture และผลการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชโดยสารระเหย (volatiles) ด้วยวิธี sealed plate พบว่า เชื้อแบคทีเรีย จำนวน 10 ไอโซเลท คือ R1016, R1029, R1033, R1036, J3002, Rr4007, Rr4053, Rr4058, Rr4082 และ Rr4084 สามารถยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคทางดินทั้ง 4 ชนิดได้ และผลของสารระเหยของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 10 ไอโซเลท ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรค พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราได้ทุกชนิด ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเชื้อรา S. rolfsii และ Pythium sp. สูงสุดอยู่ในช่วง 75-100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ เชื้อรา R. solani มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดอยู่ในช่วง 53-57 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อรา F. oxysporum มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งได้สูงสุด 12 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลของสารระเหยที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียบางไอโซเลท ทำให้เส้นใยมีลักษณะผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อปริมาณการเจริญของเส้นใยบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) พบ 5 ไอโซเลท ได้แก่ R1033, Rr4053, Rr4058, Rr4082 และ Rr4084 สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา S. rolfsii ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนำเส้นใยย้ายไปวางบนอาหาร PDA เชื้อไม่สามารถเจริญได้ อีกทั้งเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บางไอโซเลทสามารถสร้างสารทุติยภูมิได้ กล่าวได้ว่า สารระเหยและสารทุติยภูมิมีบทบาทสำคัญในการควบคุมโรคโดยชีววิธี การศึกษานี้เป็นแนวทางการใช้สารระเหยที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าและส่งเสริมการเจริญของพืช
บทคัดย่อ (EN): This study aims to select potential rhizobacteria from Neptunia natans to inhibit mycelial growth of soil-borne pathogens such as Sclerotium rolfsii, Rhizoctonia solani, Pythium sp. and Fusarium oxysporum which cause root and stem rot disease in lettuce. Using dual culture and volatilization by sealed plate method, the results showed that four soil-borne phytopathogenic fungi were significantly inhibited by ten isolates of rhizobacteria, R1016, R1029, R1033, R1036, J3002, Rr4007, Rr4053, Rr4058, Rr4082 and Rr4084 (P<0.05). These isolates exhibited high percentage of mycelial growth inhibition at 75-100% for S. rolfsii and Pythium sp., 53-57% for R. solani, and 12% for F. oxysporum. Moreover, the volatiles produced by the rhizobacteria induced qualitative morphological abnormalities, such as lysis and degradation of fungal structures and quantitative effects of fungal growth on potato dextrose agar (PDA). The result suggested that antagonistic rhizobacteria had antifungal activities against a wide spectrum of soil-borne fungal pathogens. Five rhizobacteria isolates, R1033, Rr4053, Rr4058, Rr4082 and Rr4084, completely inhibited mycelial growth of S. rolfsii. When mycelial plugs were transferred to fresh PDA agar plates, the pathogen could not grow, and some rhizobacteria can also produce secondary metabolites, suggesting their potential role in biological control. This study contributes to understanding the use of antifungal volatiles in suppression of root and stem rot disease and promote growth of plant.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/174809/125130
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉด ที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การเจริญของเชื้อ Macrophomina phaseolina ในส่วนต่าง ๆ ของพืชภายหลังการติดเชื้อของราก ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก