สืบค้นงานวิจัย
สัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัยเพศผู้ไส้เดือนฝอยรากปม สาเหตุโรคแง่งหูดของขิงโดยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่งกราด
มนตรี เอี่ยมวิมังสา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัยเพศผู้ไส้เดือนฝอยรากปม สาเหตุโรคแง่งหูดของขิงโดยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่งกราด
ชื่อเรื่อง (EN): Morphology of Root – Knot Nematode Mature Males Causing Rhizome – Wart of Ginger by Scanning Electron Microscopy
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนตรี เอี่ยมวิมังสา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Montree Lemwimangsa
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Meloidogyne javanica
บทคัดย่อ: โรครากปมและแง่งหูด (root-knot and rhizome-wart diseases) ของขิง (ginger, Zingiber officinale Rosc.) เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) เมื่อนำส่วนที่เป็นหูดมาแคะออก จะพบตัวของไส้เดือนฝอยในระยะการเจริญเติบโตหลายวัยอาศัยอยู่หลายวัย (stage) มีตัวเต็มวัยเพศผู้ฝังตัวอยู่มากกว่าพืชชนิดอื่น การจำแนกชนิดของตัวเต็มวัยเพศผู้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ชนิดแสดงส่องผ่านโดยการวัดขนาดอวัยวะภายในลำตัว เช่น ส่วนโครงหัว ลักษณะหลอดดูดอาหาร อวัยวะเพศ พบว่าเป็น M. javanica ทำการศึกษาอวัยวะที่ผิวนอกลำตัว (cuticle) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ (cuticle) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscope, SEM) กับตัวเต็มวัยเพศผู้ ซึ่งได้จากการแคะตุ่มหูด แง่งขิงที่เป็นโรครากปมและแง่งหูดจากแหล่งปลูก อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย โดยมีขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การดองไส้เดือนฝอย การดึงน้ำออก การทำให้แห้ง การติดตัวอย่าง การฉาบผิวตัวอย่างตลอดจนการถ่ายภาพด้วย SEM ที่ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง และศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538 พบว่าส่วนหัวบริเวณริมฝีปากส่วนกลาง มีลักษณะเหมือนหมวก คลุมเกือบเต็มหัว ไม่มีริมฝีปากด้านข้าง ทำให้เห็นช่องเปิด มีหลอดดูดอาหารปลายแหลม โผล่ออกมาตรงช่องปากใกล้กับอวัยวะรับความรู้สึก (labial sensila) บริเวณแถบข้างลำตัว (lateral field) เกิดตรงปล้องวงแหวนที่ 11 มองเห็นเป็น 4 เส้น เพราะมีรอยเว้า 4 ร่องกับสันนูน 3 สันอยู่ตรงกลาง โดยทั้งสองข้างจะไปรวมกันที่ปลายหาง มองเห็นช่องขับถ่ายรวม (cloaca) มีอวัยวะเพศผู้ทั้งสองชิ้นโผล่ออกมา ไม่พบช่องขับถ่ายของเสีย (pore) และอวัยวะรับความรู้สึกสารเคมีในทุกตัวอย่าง
บทคัดย่อ (EN): Several stages of root – knot nematodes were collected from rhizome-wart disease of ginger (Zingiber officinale Rosc.). The morphological character of males were identified to be Meloidogyne javanica by the shape of the head, cephalic organ, stylet length and shape of basal knobs and the distance of the dorsal gland orifice from the base of knobs with the transparency light microscopy (TLM). The scanning electron microscopy (SEM) could distinct the male skin or cuticle showing shape of the head, annulation and the number of incisures and the ridge in the lateral field. One hundred males of Meloidogyne spp. From the area of root-knot nematodes infestation ginger soils in Chiang Rai province were collected and studied with SEM. The observations and identification were specified on head structure, body with lateral field and tail to be M. javanica. The steps of fixation, dehydration, drying, mounting, coating and SEM observation were clearly in the process. Photos were illustrated high, wide head cap with stoma and labial sensila, shape and proportion of labial disc and median lips, and protruding sharp tip stylet. The lateral field that begins as a ridge originates at 11th body annule from the head region and fuse completely around the tail tip. The excretory pore and phasmids are not visible. The cloacal opening showed two spicules.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัยเพศผู้ไส้เดือนฝอยรากปม สาเหตุโรคแง่งหูดของขิงโดยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่งกราด
กรมวิชาการเกษตร
2546
เอกสารแนบ 1
การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การคัดเลือกพืชทดสอบเพื่อใช้ประเมินความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในดิน การค้นหาไส้เดือนฝอยตัวห้ำเพื่อใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การใช้สารป้องกันรังสีอาทิตย์เคลือบไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าทำลายแมลงอาศัยหนอนกินรังผึ้ง Galleria mellonella (Linnaeus) การคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของพืชผักบางชนิด ความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยรากปมข้าวกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวสาลี ศักยภาพการใช้พืชปฏิปักษ์และผลิตภัณฑ์จากพืชบางชนิดในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ การทดสอบการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อราต่อกลุ่มไข่ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita Chitwood และกิจกรรมเอนไซม์ย่อยสลาย การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของฝรั่งด้วยสารสกัดจากเชื้อรา เอคโตไมคอร์ไรซาบางชนิด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก