สืบค้นงานวิจัย
ระบบอบแห้งแผ่นยางพารา ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีก๊าซหุงต้ม เป็นพลังงานเสริม
พงษ์ศักดิ์ อยู่มั่น - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ระบบอบแห้งแผ่นยางพารา ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีก๊าซหุงต้ม เป็นพลังงานเสริม
ชื่อเรื่อง (EN): Liquid Petroleum Gas (LPG) Assisted Solar Drying System for Natural Rubber Sheets
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงษ์ศักดิ์ อยู่มั่น
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการอบแห้งแผ่นยางพาราด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ของห้องอบแห้งแบบเรือนกระจก และการใช้ก๊าซหุงต้ม โดยใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมอุณหภูมิ ภายในห้องอบแห้ง ซึ่งจะพิจารณาถึงการกระจายความร้อนภายในห้องอบแห้ง การควบคุมอุณหภูมิ ให้คงที่ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำไป ประยุกต์ใช้ในการออกแบบห้องอบแห้งแผ่นยางพาราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการทดลองการอบแห้งแผ่นยางพาราด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยภายในห้องตลอด ช่วงการทดลองเฉลี่ย 50 ํ C โดยอุณหภูมิภายในห้องจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่ารังสีอาทิตย์ มีความชื้น สัมพัทธ์ของอากาศภายในโรงเรือนเฉลี่ย 60 % ใช้ระยะเวลาในการอบแห้ง 3 วัน และการทดลองการ อบแห้งแผ่นยางพาราด้วยก๊าซหุงต้ม เมื่อทำการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องอบแห้งเฉลี่ย 60 ํ C ความชื้น สัมพัทธ์เฉลี่ย 21 % และใช้เวลาในการอบแห้ง 2 วัน จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถุกพัฒนาพบว่า ความร้อนที่ป้อนให้กับห้องอบแห้งโดยใช้ก๊าซหุง ต้ม เมื่อเปรียบเทียบกับการสูญเสียความร้อนที่จุดต่างๆ ของห้องแล้ว สามารถนำความร้อนไปใช้ประ โยชน์ได้ถึง 98.5% และจากการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อมีการลงทุนในการสร้างโรงเรือนอบ แห้งแผ่นยางพาราโดยใช้ก๊าซหุงต้มเป็นพลังงานเสริมแล้ว จะให้ระยะเวลาในการคืนทุน 5 เดือนเท่า นั้น จึงเหมาะสมที่จะลงทุนในโครงการนี้
บทคัดย่อ (EN): This thesis aims to study the efficiency of two rubber sheet drying methods; solar drying and drying by using LPG. The temperature in drying room is fixed and controlled by an electronic circuit to generate heat distribution. The mathematical modeling and economical analysis are also developed to improve the drying efficiency. The experimental result shows that the average temperature in solar drying room is 50 C and varied with solar radiation. The average relative humidity is 60% and it takes 3 days to dry the natural rubber sheet. The temperature in LPG drying room is controlled at 60 C. The average relative humidity is 21% and it takes 2 days to dry the natural rubber sheet. The developed mathematical modeling shows the comparison between the input energy and heat loss to any points in LPG drying room. It has been found that the useful heat is 98.5%. From economical analysis, the pay back period is only 5 months.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระบบอบแห้งแผ่นยางพารา ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีก๊าซหุงต้ม เป็นพลังงานเสริม
การยางแห่งประเทศไทย
2555
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การรีไซเคิลน้ำเสียจากการแปรรูปยางพาราในชุมชนด้วยระบบกลั่นพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบคัดแยกคุณภาพแผ่นยางพาราโดยการประมวลผลภาพ ออกแบบสร้างและทดสอบเครื่องลดความชื้นพลังงานร่วมของก๊าซหุงต้มและพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพริกสด เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความดันต่ำสำหรับผลิตอาหารเพื่อเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ห้องอบและตากแห้งปุ๋ยอินทรีย์พลังงานแสงอาทิตย์จากโพลิเมอร์และโลหะแผ่นเพื่อเกษตรกรสวนยางพารา ยางพารากับท้องถิ่น การใช้ไคโตซานเป็นสารยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพารา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก