สืบค้นงานวิจัย
ผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ากินนีโคโลเนียว ภายใต้สภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จักรี เทศอาเส็น - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ากินนีโคโลเนียว ภายใต้สภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Yield and Chemical Composition of Panicum maximum TD58, Panicum maximum cv. Mombaza and Panicum maximum cv. Coloniao Under the Shade of Oil Palm Plantation (state age 3-5 year) in Surat Thani Provine.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรี เทศอาเส็น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chakri Ted-arsen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลผลิต และส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ากินนีโคโลเนียว ภายใต้สภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2553 - ธันวาคม 2554 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) มี 6 ซ้ำโดยเก็บข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวน (ANOVA) ผลการศึกษาทดลอง พบว่า หญ้ากินนีมอมบาซามีผลผลิตน้ำหนักแห้ง ความสูงของลำต้น และจำนวนแขนงต่อกอ สูงกว่าหญ้ากินนีสีม่วง และหญ้ากินนีโคโลเนียว (ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 1,590.77, 800.42, 600.0 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี, ความสูงลำต้น 1 20.58, 91.93, 84.22 เซนติเมตร, และจำนวนแขนงต่อกอ 38.38, 29.13, 16.54 แขนงต่อกอ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อสิ้นสุดการเก็บข้อมูล พบว่า หญ้ากินนีมอมบาซา มีเปอร์เซ็นต์การตาย 2.29 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าหญ้ากินนีสีม่วง และหญ้ากินนีโคโลเนียว ที่มีค่า 35.60 และ 42.29 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (,<0.05) ส่วนองค์ประกอบทางเคมี พบว่า หญ้ากินนีมอมบาซามีค่าโปรตีนหยาบ (CP) ต่ำที่สุด คือ 8.43 เปอร์เซ็นต์ และค่า NDF, ADF สูงที่สุด คือ 73.19 และ 44.68 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างจากหญ้ากินนีสีม่วง และหญ้ากินนิโคโลเนียวมีค่าโปรตีนหยาบ 10.14 และ 9.98 เปอร์เซ็นต์ ค่า NDF เท่ากับ 71.32 และ 69.70 เปอร์เซ็นต์ และค่า ADF เท่ากับ 42.31 และ 42.60 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปว่า หญ้ากินนีมอมบาซา เป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีความเหมาะสมสำหรับนำมาปลูกในสภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันมากกว่าหญ้ากินนีสีม่วง และหญ้ากินนีโคโลเนียว
บทคัดย่อ (EN): The experiment was conducted to study yield and chemical composition of Panicum maximum TD58, Panicum maximum cv. Mombaza and Panicum maximum cv. Coloniao Under the Shade of Oil Palm Plantation (state age 3-5 year) in Surat Thani Province. Data Collected from October 2010 – December 2011. Designed in Randomized Complete Block in 6 Replication. All data were statistical analyzed and expressed as average and variance (ANOVA) The results indicated that total dry matter yield, the height and tiller’s number of Mombaza were significantly different from TD58 and Coloniao ( 1,590.77, 800.42, 600.0 Kg./rai/year, 120.58, 91.93, 84.22 cm., 38.38, 29.13, 16.54 tiller, respectively) At finish of data collecting Mombaza was die 2.29 percent significantly different from TD58 and Coloniao (35.60 and 42.29 percent) Crude protein (%CP) of Mombaza was lowest significantly different from TD58 and Coloniao (8.43, 10.4 and 9.8 percent) but %NDF and %ADF of Mombaza was highest significantly different from TD58 and Coloniao (%NDF 71.32 and 69.70 percent and %ADF 42.31 and 42.60 percent, respectively) It is concluded that Mombaza could be satisfactorily for grow under the shade of oil palm plantation more than TD58 and Coloniao
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง หญ้ากินนีมอมบาซา และหญ้ากินนีโคโลเนียว ภายใต้สภาพร่มเงาสวนปาล์มน้ำมันอายุ 3-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กรมปศุสัตว์
2557
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 อิทธิพลของระยะปลูกและอายุการตัดต่อผลผลิตหญ้ากินนีสีม่วงภายใต้ร่มเงาสวนปาล์มน้ำมัน คุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วง การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีอูมากุ กินนีสีม่วง กินนีมอมบาซา การศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันในหญ้ารูซึ่ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าแพงโกล่า และ หญ้าเนเปียร์ ความผันแปรในหญ้ากินนีสีม่วงกับการปรับปรุงพันธุ์(1)ความผันแปรของลักษณะที่เป็นองค์ประกอบผลผลิตเมล็ดหญ้ากินนีสีม่วง การศึกษาต้นทุนและผลผลิตของการปลูกหญ้ากินนีสีม่วงภายใต้การจัดการแบบประณีต การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 ผลของวิธีการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วงที่ผลิตโดยเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก