สืบค้นงานวิจัย
งาขาวสายพันธุ์กลายไม่ไวต่อช่วงแสง
สมใจ โควสุรัตน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: งาขาวสายพันธุ์กลายไม่ไวต่อช่วงแสง
ชื่อเรื่อง (EN): Photoperiod Insensitive Mutant White-seeded Sesame Line
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมใจ โควสุรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somjai Kowsurat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): photoperiod insensitive
บทคัดย่อ: ปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อให้ได้พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง และมีกลิ่นหอมเมื่อคั่วสุก โดยการฉายรังสีแกมมางาขาวพันธุ์พื้นเมืองเลยที่ 400 Gy เมื่อปี พ.ศ. 2543 ปลูกเมล็ด M1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี คัดเลือกต้นที่ออกดอกเร็วเมื่อ เปรียบเทียบกับงาขาวพื้นเมืองเลย ต้นฤดูฝนปีปลูก 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผลการทดลองพบว่าพันธุ์สายพันธุ์กลายมีอายุดอกบาน 50% และอายุเก็บเกี่ยว 45-47 และ 130 วันหลังงอก (DAE) ตามลำดับ คัดเลือกได้ 44 ต้น (M3) ในขณะที่งาขาวพื้นเมืองเลยอายุดอกบาน 50% และอายุเก็บเกี่ยว 70 และ 152 วันหลังงอก ตามลำดับ ปี 2545 เลื่อนปลูกเป็น 21 มีนาคม พบว่าสายพันธุ์กลายมีอายุดอกบาน 50% และอายุเก็บเกี่ยว 45-55 และ 102-124 วันหลังงอก คัดได้ 65 ต้น (M4) แต่งาขาวพื้นเมืองเลยไม่มีต้นที่ออกดอก ปลายฝนปลูกศึกษาลักษณะทางการเกษตร พบว่าสายพันธุ์กลายมีผลผลิตมากกว่า และขนาดเมล็ดใหญ่กว่าพันธุ์พื้นเมืองเลย และทดสอบรสชาติและกลิ่นหอมของเมล็ดงาคั่วจากการชิม คัดเลือกได้ 20 ต้น (M5) ต่อมาปี พ.ศ. 2546-2547 ประเมินการให้ผลผลิตของสายพันธุ์กลาย เปรียบเทียบกับงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ช่วงต้นและปลายฤดูฝน ผลการทดลองต้นฤดูฝนปี พ.ศ. 2546 และ 2547 สายพันธุ์กลายมีอายุดอกบาน 50% และอายุเก็บเกี่ยวเท่ากับ 54-60 และ 120 วันหลังงอก ตามลำดับ ส่วนพันธุ์อุบลราชธานี 2 ดอกบาน 50% และอายุเกี่ยวเกี่ยว 35 และ 90 วันหลังงอก ตามลำดับ ส่วนการให้ผลผลิต ของสายพันธุ์กลายเท่ากับ 54-86 กก./ไร่ และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 1.75-2.01 ก. และพันธุ์อุบลราชธานี 2 ให้ผลผลิต 90 และ 108 กก./ไร่ น้ำหนัก 1, 000 เมล็ด 3.34 และ 3.30 กรัม ส่วนปลายฤดูฝน ปีพ.ศ. 2546 และ 2547 อายุดอกบาน 50% และอายุเก็บเกี่ยวเท่ากันทุกพันธุ์คือ 32-35 และ 87-90 วันหลังงอก ตามลำดับผลผลิตของสายพันธุ์กลายต่ำกว่า 36-93 กก/ไร่ และ 1,000 เมล็ดหนัก 1.61-2.03 ก. ส่วนพันธุ์อุบลราชธานี 2 ผลผลิต 78 และ 118 กก./ไร่ น้ำหนัก 3.07 และ 3.42 ก./1,000 เมล็ด ดังนั้นจึงคัดเลือกได้งาสายพันธุ์กลาย 3 สายพันธุ์ซึ่งไม่ไวต่อช่วงแสงได้แก่ Lm 3-2-1-1 Lm 14-1-1-3 และ Lm 14-1-1-1 ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์กลายอื่น ๆ และรสชาติดี มีกลิ่นหอมเมื่อคั่วสุก เพื่อปรับปรุงพันธุ์ต่อไป นอกจากนั้นเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของเมล็ด สายพันธุ์กลายมีแนวโน้มปริมาณน้ำมันและโปรตีนสูงกว่างาขาวพื้นเมืองเลย โดยมีปริมาณน้ำมัน 34.6 – 43.9% ปริมาณโปรตีน 25.2 – 25.8% ส่วนงาขาวพื้นเมืองเลย มีน้ำมันโปรตีน 33.4 และ 24.6% ตามลำดับและงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 มีปริมาณน้ำมันและโปรตีนเท่ากับ 37.6 และ 25.5% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Aromatic sesame varietal improvement for photoperiod insensitive was conducted in Ubon Ratchathani Field Crop Research Centre (UBFCRC). Loei seeds (white local variety) were irradiated by Gamma-Ray at 400 Gy in 2000, and 20 M2-plants were selected. Selection of M2-plants comparing to Loei was carried out in early and late rainy season of 2001-2002. Fifty percentage of flowering date and harvesting date of mutant lines were 45-47 and 130 days after emergence (DAE) respectively. Where as those of Loei were 70 and 152 DAE respectively. Forty-four M3-plants were selected in 2001. In 2002, 65 M4-plants were selected. Their flowering and harvesting dates were 45-55 and 120-124 DAE respectively; on the other hand, Loei did not flowered. Mutant lines yielded 17.2-22.7 g/plant and 1,000 seed weight were 1.89-2.08 g Whereas Loei yielded 10.3 g/plant and 1,000 seed weight 1.75 g twenty mutant lines were selected as they had good taste equivalent to Loei. Yield evaluation of 20 mutant lines comparing to Ubon Ratchathani 2 (recommended variety), was conducted in early and late rainy in 2003-2004. In early rainy season, the results showed that flowering and harvesting date of mutant lines were 54-60 and 120-130 DAE, respectively while Ubon Ratchathani 2 was 35-37 and 89-90 DAE respectively. The mutant lines yielded 54-86 kg/rai and 1.75-2.01 g/1,000 seed weight. Whereas Ubon Ratchthani 2 yielded 90 and 108 kg/rai and 3.34 and 3.30 g/1,000 seed weight. However, in late rainy season, flowering and harvesting dates of mutant lines and check were not significant difference (32-35 and 87-90 DAE respectively). The Mutant lines yielded 36-93 kg/rai and 1.61-2.03 g/1,000 seed weight. Ubon Ratchathani 2 yielded 78 and 118 kg/rai and 3.07 and 3.42 g/1,000 seed weight. Yield and seed size of mutant lines were lower than Ubon Ratchathani 2. Therefore, 3 mutant lines, Lm 3-2-1-1 Lm 14-1-1-3 and Lm 14-1-1-1, photoperiod insensitive and has as good taste (aromatic) as Loei were selected for further breeding improvement. The mutant lines had higher oil content (34.6-43.9%) and protein (25.2-25.8%) than Loei (33.4 and 24.6%) and Ubon Ratchathani 2 (37.6 and 25.5%)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
งาขาวสายพันธุ์กลายไม่ไวต่อช่วงแสง
กรมวิชาการเกษตร
2552
เอกสารแนบ 1
การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์ การศึกษาสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการกลายพันธุ์โดยใช้ลำไอออนพลังงานต่ำ การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายที่ได้จากเทคนิคลำไอออนพลังงานต่ำที่ให้ผลผลิตสูงสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายที่ได้จากเทคนิคลำไอออนพลังงานต่ำ ที่ให้ผลผลิตสูงสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายที่ได้จากเทคนิคลำไอออนพลังงานต่ำที่ให้ผลผลิตสูงสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย แผนงานโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง "ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1" โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อสุขภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก