สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้คลอเรลล่าและสไปรูไลน่าในอาหารต่อการเจริญเติบโตและระดับแอนติบอดีของปลาดุกลูกผสม
ณัฐภาส ผู้พัฒน์, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, นุชนรี ทองศรี, คมคาย ลาวัณยวุฒิ, ณัฐภาส ผู้พัฒน์, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, นุชนรี ทองศรี, คมคาย ลาวัณยวุฒิ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้คลอเรลล่าและสไปรูไลน่าในอาหารต่อการเจริญเติบโตและระดับแอนติบอดีของปลาดุกลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Chlorella ellipsoidea and Spirulina platensis in diet on growth performance and antibody levels of hybrid catfish, Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus (Burchell)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลของการใช้คลอเรลล่าและสไปรูไลน่าในอาหารต่อการเจริญเติบโต และระดับแอนติบอดีของปลาดุกลูกผสม นุชนรี ทองศรี๑* คมคาย ลาวัณยวุฒิ๑ วนิดา ปานอุทัย๒ และ จูอะดี พงศ์มณีรัตน์๓ ๑สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด กรมประมง ๒สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๓ราชการบริหารส่วนกลาง กรมประมง บทคัดย่อ การอนุบาลปลาดุกลูกผสมน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวประมาณ 3.40 กรัม โดยใช้ตู้ทดลองที่มีความจุน้ำ 120 ลิตร ระบบน้ำเป็นระบบไหลเวียนแบบปิด และใช้อาหารทดลอง 9 สูตร แต่ละสูตรมี 5 ซ้ำ โดยอาหารสูตรที่ 2-9 มีส่วนผสมของคลอเรลล่าและสไปรูไลน่า 10% แบบแห้ง แบบสด แบบปั่นด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ และปั่นด้วยเครื่อง Dyno-mill ตามลำดับ ซึ่งอาหารทุกสูตรจะมีปริมาณโปรตีน ไขมัน และพลังงานใกล้เคียงกัน ใช้เวลาเลี้ยง 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ปลาดุกลูกผสมทุกชุดการทดลองมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตรารอด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ นั่นแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สาหร่ายทั้งสองชนิดทดแทนปลาป่นได้ทั้งในรูปแบบแห้ง สด และแบบปั่น ในปริมาณร้อยละ 10 คำสำคัญ: คลอเรลล่า สไปรูไลนา ปลาดุกลูกผสม การเจริญเติบโต แอนติบอดี *ผู้รับผิดชอบ: สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำจืด กรมประมง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐ ๒๙๔๐ ๖๑๓๐-๔๕ ต่อ ๔๕๑๒ e-mail : nuchnareet@fisheries.go.th
บทคัดย่อ (EN): Effect of Chlorella and Spirulina in Diet on Growth Performances and Antibody of Hybrid Catfish, Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus Nuchnaree Tongsri1* Komkhai Lawanyawuth1 Wanida Panuthai2 and Juadee Pongmaneerat3 1Inland Feed Research Institute, Department of Fisheries 2CInstitute of Food Research and Product Development 3Central Government, Department of Fisheries Fisheries Nursing experiments of Hybrid Clarias Catfish (Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus) larvae (initial average weight of 3.40 g) were studied by feeding with each type of Chlorella and Spirulina for 8 week as follow : 1) control 2) Dry Chlorella 3) Fresh Chlorella 4) Chlorella blended with mulinex 5) Chlorella blended with Dyno-mill 6) Dry Spirulina 7) Fresh Spirulina 8) Spirulina blended with mulinex and 9) Spirulina blended with Duno-mill. The results showed that all of treatment were not significant (p>0.005) in growth performances (body weight, total length, weight gain and specific growth rate) and survival rates. The study was concluded that dry or fresh or blended Chloreela and Spirulina could be used instead of control diet which high fish meal. Key words: Moina, preservation, growth performances *Corresponding author: Inland Feed Research Institute, Department of Fisheries, Chatujak, Bangkok 10900 Tel. 0 2940 6130-45 ext. 4512 e-mail: nuchnareet@fisheries.go.th
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-07-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้คลอเรลล่าและสไปรูไลน่าในอาหารต่อการเจริญเติบโตและระดับแอนติบอดีของปลาดุกลูกผสม
กรมประมง
31 กรกฎาคม 2557
กรมประมง
ผลของการเสริมน้ำมันตับปลาหมึกในระดับต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของกรดไขมันในปลาดุกลูกผสม ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การเสริมสไปรูไลน่าในอาหารแผ่นและอาหารเม็ดสำหรับอนุบาลลูกปลานิลแปลงเพศ การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830) การเจริญเติบโตของปลานิลที่อนุบาลด้วยอาหารผสมสาหร่ายเกลียวทองในระดับที่ต่างกัน ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ ผลของการใช้มูลสุกรระดับต่าง ๆ ในอาหารต่อการเจริญเติบโตของกระต่าย ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก