สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด
รัตนา ม่วงรัตน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting Anthocyanins Extracted from Dried Kernels of Purple Waxy Corn Using Subcritical Water Extraction Technique and Antioxidant Activity of Extract
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนา ม่วงรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rattana Muangrat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการสกัดสารแอนโธไซยานินทั้งหมดจากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติพบว่าปัจจัยในการสกัดได้แก่ อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำ (1:2, 1:3, 1:5, 1:6 และ 1:9) อุณหภูมิในการสกัด (65, 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส) และเวลาในการสกัด (15, 30, 45 และ 60 นาที) มีผลต่อความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เมื่ออัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเปลี่ยนจาก 1:2 เป็น 1:3 และอุณหภูมิการสกัดเพิ่มจาก 65 เป็น 100 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จะมีค่าสูงขึ้นและสูงกว่าที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:5, 1:6 1:9 ตามลำดับ และสูงกว่าเมื่ออุณหภูมิการสกัดเท่ากับ 120 องศาเซลเซียส สำหรับเวลาในการสกัด 15, 30 และ 45 นาที ความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดเหล่านี้มีค่าสูงกว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้ที่เวลาสกัด 60 นาที งานวิจัยนี้พบว่าความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 374.70  6.96 มิลลิกรัมสมมูลย์ของไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ต่อลิตร เมื่อสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และเวลาในการสกัด 15 นาที นอกจากนี้สภาวะความเป็นกรดด่าง และเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อความคงตัวของสารแอนโธไซยานินทั้งหมดที่สกัดได้ เมื่อสภาวะความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่ำ) และเวลาในการเก็บรักษาสั้น สารแอนโธไซยานินจะมีความคงตัวมากกว่าที่สภาวะความเป็นกรดต่ำ (ค่า pH สูง) และเวลาในการเก็บรักษานาน โดยความเข้มข้นของสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่สภาวะการสกัดที่อัตราส่วนน้ำหนักเมล็ดแห้งของข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงต่อน้ำเท่ากับ 1:3 อุณหภูมิและเวลาในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และ 15 นาที ตามลำดับ ที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระดีพีพีเอซ ที่ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าประมาณ 10.9 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรของสารสกัด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำกว่าสารละลายมาตรฐานกรดแอสคอร์บิกประมาณ 7.27 เท่า
บทคัดย่อ (EN): Total monomeric anthocyanins extraction from dried kernels of purple waxy corn using subcritical water extraction technique was investigated. The results showed that extraction factors were weight ratios of the dried kernel of purple waxy corn to water (1:2, 1:3, 1:5, 1:6 and 1:9), extraction temperatures (65, 80, 100 and 120 ºC) and extraction times (15, 30, 45 and 60 min) which had affected the total monomeric anthocyanin concentration. The total monomeric anthocyanin concentration increased when the weight ratio of the dried kernel of purple waxy corn to water changed from 1:2 to 1:3 and extraction temperature increased from 65 to 100 ºC. The concentration of the total monomeric anthocyanins obtained was higher than that obtained when the weight ratios of the dried kernel of purple waxy corn to water were 1:5, 1:6 and 1:9, respectively at the extraction temperature of 120 ºC. For the extraction times of 15, 30 and 45 min, there were no significant differences (P<0.05) between the concentrations of the total monomeric anthocyanins in the extracts. These concentrations were higher than the concentration obtained at the extraction time of 60 min. This research found that the high average concentration of the total monomeric anthocyanins was approximately 374.70  6.96 milligrams of cyanidin-3-glucoside equivalents per liter of extract which obtained under the following extraction condition: the weight ratio of the dried kernel of purple waxy corn to water 1:3, the extraction temperature of 100 ºC and the extraction time of 15 min. Furthermore acidic condition (indicated with pH level) and time of storage. on the extract product had affected on anthocyanin stability. The total monomeric anthocyanin concentration at lower pH level and shorter storage time was more stable than that at higher pH level and longer storage time. In the addition, the concentration of dried kernel extract obtained from the extraction condition (the weight ratio of the dried kernel of purple waxy corn to water 1:3, the extraction temperature of 100 ºC
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246068/168218
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้จากเมล็ดแห้งข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงด้วยเทคนิคการสกัดด้วยน้ำที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญกลุ่มไม่มีขั้วและกลุ่มมีขั้วจากเมล็ดข้าวสีเพื่อเตรียมเป็นสารสกัดมาตรฐานโดยใช้ฤทธิ์ชีวภาพเป็น ตัวชี้นำ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก