สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Production Technology for QualityZingiber cassumunar Roxb
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตไพล เพื่อวิจัยและพัฒนาให้ได้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตและการเก็บเกี่ยวไพล ให้มีปริมาณและคุณภาพวัตถุดิบที่จะนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ในการศึกษาประเมินพันธุ์ไพลที่ให้ผลผลิตและสารสำคัญสูง พบว่าพันธุ์หยวก ให้ผลผลิตน้ำหนักสดสูงที่สุด คือ 10,616 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาได้แก่ พันธุ์ปลุกเสก และพันธุ์พื้นเมือง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 8,530 และ 7,363 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำมันหอมระเหย พบว่าพันธุ์หยวกมีน้ำมันหอมระเหยสูงที่สุด คือ 0.97 % รองลงมาได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ปลุกเสก มี 0.88 % และ 0.79 % ตามลำดับ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แง่งหรือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นใต้ดินเป็นท่อนพันธุ์ในการปลูก แบ่งหัวพันธุ์ให้มีน้ำหนัก 150 กรัม มีตา 3-5 ตา แล้วชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราก่อนปลูก ระยะปลูก 25x75 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 15x15x15 เซนติเมตร ดินผสมปุ๋ยคอกอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ปลูกแล้วกลบดินปิดให้หนา 2-3 เซนติเมตร คลุมด้วยทะลายปาล์มหรือใบหญ้าแห้ง ช่วยป้องกันกำจัดวัชพืช และลดการคายน้ำในดิน การให้น้ำเมื่อค่าการระเหยจากถาดวัดการระเหยสะสมครบ 40 มิลลิเมตร ให้จำนวนหน่อต่อกอดีที่สุด 8.3 หน่อ ไพลที่ปลูกภายใต้โรงเรือนพรางแสงทุกชนิดมีจำนวนใบต่อต้น และความสูงมากกว่าไพลที่ปลูกกลางแจ้ง ไพลที่ปลูกในโรงเรือนพรางแสงสีดำ 50 % สีดำ 70 % มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงที่สุด 0.73 % ส่วนไพลที่ปลูกในโรงเรือนพรางแสงสีดำ 50 % มีปริมาณน้ำมันหอยระเหยต่ำที่สุด 0.61 % การศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ในอัตราที่เหมาะสม คือ 12-6-6 (N-P2O5-K2O) ให้ผลิตผลิตสูงสุดและสูงกว่าไม่ใส่ปุ๋ย 38% แล้วจะมีผลในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพน้ำมัน โดยเฉพาะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ terpiene – 4 -0l และ DMPB (1-(3,4-dimethoxyphenyl)buta -2-4-diene) ซึ่งมีความสำคัญในด้านเภสัชกรรม การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย N:P:K ในอัตราส่วน 12:6:6 กก./ไร่ จะให้ผลผลิตสูงสุด และให้เปอร์เซนต์น้ำมันสูงสุด 1.25 % ควรให้ในระยะที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้น ไม่ควรให้ระยะที่ไพลลงหัว ปีแรก กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง ปีที่สอง กำจัดวัชพืช 1 ครั้ง เนื่องจากไพลจะคลุมพื้นที่ระหว่างต้นและแถวจนเต็ม ปีที่สาม ไม่ต้องกำจัดวัชพืช และปล่อยให้แห้งตายไปพร้อมกับต้นไพลที่ฟุบ การศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืช พบว่า oxyfluorfen และ pendimethlin ที่พ่นเมื่อไพลอายุ 1 เดือนมีพิษต่อไพลมากกว่าพ่นทันทีหลังปลูก และสารกำจัดวัชพืช imazethapyr สามารถควบคุมวัชพืชวงศ์หญ้าได้ดี เมื่อพ่นทันทีหลังปลูก การศึกษาทางด้านศัตรูพืช โรคเหี่ยวหรือโรคหัวเน่า Ralstonia solanacearum ใบมีอาการเหลืองซีดทั้งต้นจนตาย เชื้อราเส้นใยจะเจริญแทรกเข้าไปในเหง้าของไพล และย่อยสลายเหง้าไพลทำให้เกิดอาการเน่าแห้ง ในสภาพความชื้นสูงอาจจะพบดอกเห็ดอยู่บริเวณเหง้าไพลหรือโคนต้น แมลงศัตรูพืชที่พบระบาด ได้แก่ แมลงวันแมงมุมและแมลงวันลาย (Solder fly) ทำลายส่วนเหง้า ตัวหนอนจะชอนไชเข้าไปยังส่วนเหง้าและกัดกินภายในทำให้เกิดการเน่าเสีย ต้นและใบจะมีสีเหลืองซีดตาย เพลี้ยหอยเกล็ด (Scale insect)เข้าทำลายส่วนเหง้า เจาะดูดกินน้ำเลี้ยงที่เหง้าไพล หนอนเจาะลำต้นไพล (Stem borer) เข้าทำลายส่วนลำต้น ตัวหนอนเจาะกัดกินภายในลำต้นจากโคนต้นไปปลายยอดและเข้าดักแด้ออกเป็นผีเสื้อการเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวเมื่อไพลมีอายุ 2 ปีขึ้นไป ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ลำต้นบนดินตาย ห้ามเก็บเหง้าไพลขณะที่เริ่มแตกหน่อใหม่เพราะจะทำให้ได้น้ำมันไพลที่มีปริมาณและคุณภาพต่ำ เก็บหัวไพลที่ตัดราก และผึ่งลมให้แห้งแล้ว เก็บบรรจุกระสอบพร้อมที่จะนำไปสกัดน้ำมัน โดยเครื่องกลั่นไอน้ำ การอบที่อุณหภูมิ 50 oC สำหรับ 8 ชั่วโมงแรก แล้วลดอุณหภูมิลงเป็น 40-45 oC หมั่นกลับบ่อย ๆ จนแห้ง การวิจัยปริมาณผลผลิตเหง้า และน้ำมันหอมระเหยของไพลพันธุ์ต่าง ๆ เมื่ออายุเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน ในไพลเหลือง ไพลชมพู ไพลขาว ไพลปลุกเสก และ ไพลดำ (ม่วง) มีผลผลิตเฉลี่ย 3,201.8 2,845.8 4,062.3 1,170.7 และ 2,477.7 กก./ไร่ และปริมาณน้ำมันหอมระเหย 0.69 0.25 0.28 0.68 0.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สีของน้ำมันมีสี เหลืองทอง เหลืองอ่อนออกขาว เหลืองอ่อน เหลืองอ่อนออกขาว และเหลืองทองตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Production technology of plai. For research and development, process technology and harvesting plais. The quantity and quality of materials to be used commercially. In the evaluation of plai varieties that yield and is substantially higher. Found that the pepper varieties. The highest yield of fresh weight was 10,616 kg / Rai. The second was. Species chanted. And cultivars. Average yield of 8,530 and 7,363 kg/rai, respectively, essential oil. Pepper varieties showed that essential oils have the highest, followed by 0.97%. Native species and chanted with 0.88% and 0.79% respectively, propagation by seed. Stem, or rhizome, which is part of the rhizome is a piece of cultivated varieties. Division head weighs 150 grams for breeding eye 3-5 pieces moistened eyes, and then anti-fungal species with chemicals before planting dig a hole spacing of 25x75 cm size 15x15x15 cm soil mixed with manure rate of 1-2 tons/rai cultivated land, and then close the landfill. to 2-3 cm thick, covered with dry grass or palm fruit bunch. Prevents weed control. Dehydration and reduction in soil The water evaporating from the tray on the measurement of volatile Collect 40 mm in the number of shoots per plant most plais grown 8.3 times a house under the dimmed light of all kinds of leaves per plant. And taller than plais grown outdoors. Plais grown in the greenhouse lights dimmed, black 50% black, 70% had the highest essential oil content of 0.73%, plais grown in the greenhouse lights dimmed, black 50% of volatile oil shells lowest 0.61%. Effects of nitrogen phosphorus potassium fertilizers at affordable rates, is 12-6-6 (N-P2O5-K2O) to produce maximum production and no fertilizer was higher than 38% will result in increased yield and oil quality. Especially to increase the percentage of terpiene - 4 -0l and DMPB (1 - (3,4-dimethoxyphenyl) buta-2-4-diene), which is important in the pharmaceutical, fertilizer and manure N: P: K ratio of 12:6:6 kg/rai to yield. The highest percentages of oil and 1.25% should be in phase with the growth of stems. Do not let the plais into the head-term weed control first 2 times for the second year weed control first time since the plais and cover the area between the rows to fill the third year without herbicides. And let it dry, dead trees with fall plais. Efficacy and toxicity of oxyfluorfen herbicide was sprayed on plais and pendimethlin the age of 1 month is more toxic plai spray immediately after planting. Imazethapyr, and herbicide to control weeds, grass family well. Immediately after planting. Study of pest Head rot or wilt disease Ralstonia solanacearum leaf symptoms start to pale as death. Fungal growth fibers are inserted into the roots of plais. And degradation of plai stalks causing dry rot. In high humidity conditions may be found in the mushroom stem roots or plais. Insect pests such as flies, spiders and the outbreak was fly pattern (Solder fly) destroy the rhizomes. China worm will penetrate into the stalks and eat the cause spoilage. Stems and leaves are pale yellow dead Aphid shell scale (Scale insect) to destroy the rhizomes. Suction cup of the roots penetrate cultured plais. Stem borer, plais (Stem borer) damage to the trunk. The borer eat the plant from stem to tip and from pupa to a butterfly. Harvest to harvest plais at the age of 2 years during February to April during which the trunk on the ground dead. Do not store the roots start sprouting plais, while new oil because it makes the plais that are low quality and quantity. Radish roots keep the cut. And dry air to dry. Sack collection will be available for oil extraction. By steam distillation. Annealing at 50 oC for 8 hours and then cooled down to 40-45 oC back often and keep dry. Rhizome yield research. And essential oils of plai varieties at different harvesting plais, yellow plais, plais, pink, black and white plais, chanted and plais (purple), average yield 3,201.8 2,845.8 4,062.3 1,170.7 and 2,477.7 kg /rai and essential oil 0.69. 0.25 0.28 0.68 0.43 percent, respectively, the color of the oil is golden yellow and the white, yellow, yellow and white issue. Gold and yellow, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
การวิจัยการผลิต ไพลแบบบูรณาการ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลอย่างยั่งยืน การวิจัยวิธีการเขตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของไพล การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตพริกไทยที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามหวานอย่างมีคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก