สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กุลดิลก แก้วประพาส - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กุลดิลก แก้วประพาส
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ความจำเป็นในการเพิ่มรายได้แก่ เกษตรกรนอกเหนือไปจากการปลูกพืชหลักอันได้แก่ ข้าวและพืชไร่ชนิดต่างๆ เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งมีลู่ทางและสถานการณ์ทางด้านกี่ตลาดจำกัด จึงเร่งรัดและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราในพื้นที่เหมาะสม การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเพื่อการศึกษาสภาพการปลูก การปฏิบัติและการดูแลรักษา เพื่อศึกษาแหล่งสินเชื่อและสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการปลูกยางพาราของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา จากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิ่งอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ปื 2533 จำนวน 46 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต การทดสอบค่าไคสแควร์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีอายุ ระหว่าง 20-69 ปี อายุเฉลี่ย 45 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้น ป.4 จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คนต่อครอบครัว ที่ดินถือครองเฉลี่ย 54 ไร่ โดยส่วนมากไม่ระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกษตรกรทั้งหมดแฃปลูกยางพารา 7-15 ไร่ สภาพการปลูกยางพาราของเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกบนพื้นที่ลาดเท สภาพดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่มีการเตรียมพื้นที่โดยการไถพรวน 1 ครั้ง ใช้ระยะปลูกยาง 2.5x7 เมตร มีการขุดหลุมปลูกโดยการใช้แรงคน ก่อนปลูกมีการตากดิน 7-15 วัน มีการแยกดินบน-ล่างไว้จากกัน การปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้นก้นหลุม โดยส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตตามอัตราแนะนำ ลักษณะต้นพันธุ์ยางมากกว่าครึ่งหนึ่งมีขนาด 1 ฉัตร ฉัตรยอดแก่สมบูรณืความยาวกิ่งพันธุ์ตาอยุ่ระหว่าง 10-20 ซม.พันธุ์ยางที่ได้รับคือพันธุ์ อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน วิธีการปฏิบัติในการปลูกยาง เกษตรกรกว่าร้อยละ 90 ตัดก้นยางชถุงประมาณ 1 นิ้ว ก่อนปลูกร้อยละ 76 วางต้นยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ก้นถุงแนบชิดกับก้นหลุม ร้อยละ 96 มีการกรีดถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุง ขณะที่ถุงพลาสติกอยู่ในหลุมปลูก เมื่อปลูกแล้วเกษตรกรร้อยละ 89 มีการปักไม้ผูกกับต้นยางไว้ ส่วนใหญ่มีการคลุมโคนต้นยาง โดยร้อยละ 72 คลุมโคนต้นยางห่างจากต้นยาง 1 ฝ่ามือ และร้อยละ 70 เมื่อฝนตกดินในหลุมยุบมีการกลบดินให้เต็มหลุมอยุ่เสมอ การปลูกซ่อมยางพารา มีเกษตรกรร้อยละ 37 ที่ปลูกซ่อมยางพาราทดแทนในฤดู การรับต้นพันธุ์ยางชำถุง เกษตรกรได้รับตามจำนวนพื้นที่ปลูก จำนวนต้นพันธุ์ยางที่ตายก่อนปลุกเฉลี่ยร้อยละ 12.39 ร้อยละ 90 มีการปลูกพืชแซมยาง โดยร้อยละ 43 ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ปลูกพืชแซมยางระหว่าง 6-15 ไร่ เกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยพืชแซมยาง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรทั้งหมดได้รับการอบรมหลักสูตรการปลูกสร้างสวนยางพาราก่อนปลูก มีเกษตรกรบางส่วนได้รับความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ ในภายหลัง เกษตรกรมีทัศนคติไปในทางบวกต่อการใส่ปุ๋ยเคมีหลังการปลูกยางไปแล้ว 1 เดือน และใส่ปุ๋ยเคมีในช่วงก่อนหมดฝน แหล่งเงินทุน เกษตรกรร้อยละ 28 กู้จาก ธ.ก.ส. ร้อยละ 17 กู้จากพ่อค้าในท้องถิ่น ร้อยละ 13 กู้จากสหกรณ์การเกษตร อัตราดอกเบี้ยที่กู้จากสถาบันสินเชื่อของรัฐอยู่ระหว่างร้อยละ 12-12.5 ส่วนเงินกู้จากพ่อค้าท้องถิ่นเสียอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 40 บาทต่อปี การทดสอบสมมติฐาน ไม่พบความแตกต่างเกี่ยวกับการปฏิบัติในการปลูกยางพาราของเกษตรกรกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในเรื่อง อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว และที่ดินถือครอง แต่พบความแตกต่างในเรื่องเพศ และพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในอัตราการตายของยางพาราหลังปลูกกับวิธีการปฏิบัติในการปลูกยางพาราของเกษตรกรที่มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน และพบว่ามีความแตกต่างในอัตราการตายของยางพาราทั้งหมดกับช่วงระยะเวลาการปลูกยางพารา ผู้วิจัยศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของเกษตรกรในการปลูกยางพารา และมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ปัญหาการถือครองที่ดิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าสงวนมีพื้นที่ถือครองโดยเฉลี่ยในอัตราสูง โอกาสการเปลี่ยนมือในที่ดินถือครองเป็นไปได้มาก ควรมีการทำความเข้าใจในข้อตกลงการปลูกยางของเกษตรกรที่ได้ทำกับทางราชการไว้ และควรมีการติดตาม ควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด 2.ปัญหาการเตรียมพื้นที่การปลูกยางพาราของเกษตรกร 3.ปัญหาการปลูกยางในช่วงระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม มีข้อเสนอแนะให้ปลูกยางพาราเป็นพืชแรกก่อนที่เกษตรกรจะปลูกพืชไร่ประจำปี ซึ่งจำเป็นต้องปรับแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติของเกษตรกรและควบคุมเร่งรัดการส่งพันธุ์ยางในพื้นที่ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 4.ขนาดต้นพันธุ์ยางส่วนใหญ่ค่อนข้างเล็ก ควรได้รับต้นพันธุ์ยางที่ได้ขนาดและแข็งแรง 5.การปลูกพืชแซมยางบางชนิดไม่เหมาะสม ควรประชาสัมพันธ์ แนะนำ ให้ความรู้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับชนิดพืชแซมยาง และวิธีการปลูกพืชแซมยาง 6.การปลูกและปฏิบัติดูแลรักษา ควรมีการศึกษาทดสอบควบคู่ไปกับการส่งเสริม โดยเฉพาะการศึกษาทดสอบในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา 7.การฝึกอบรมเกษตรกรมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ เช่น ความพร้อมของเกษตรกร ระยะเวลาการฝึกอบรม เป็นต้อน ควรที่จะให้ความรู้แก่เกษตรกรต่อไปอย่างต่อเนื่องโดย 7.1การประชาสัมพันธ์ ติดตามให้ความรู้ แนะนำเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ 7.2การอบรมเพิ่มเติมในขั้นตอนวิธีการปฏิบัติที่สำคัญ 7.3ผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น 8.แหล่งเงินทุน เกษตรกรมีแนวโนวใช้แหล่งเงินกู้นอกระบบอัตรที่สูง จึงควรเร่งรัดในการสนับสนุนด้ารสินเชื่อแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยมีเงื่อนไข หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่รัดกุม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2534
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2534
สภาพการปลูกยางพารา ของเกษตรกร อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการใช้เทคโนโลยีในการปลูกยางพาราของเกษตรกรเจ้าของสวนสงเคราะห์ในจังหวัดระยอง การเพิ่มศักยภาพการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพารา การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรจังหวัดหนองคายที่เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการปลูกยางพาราเพื่อกระจายรายได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ในการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระบบการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2539

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก