สืบค้นงานวิจัย
กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สกล คุณอุดม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สกล คุณอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประสิทธิ์ ประคองศรี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียบเหนือ 2)บทบาทของเกษตรอำเภอในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร 3)ความเห็นของเกษตรอำเภอต่อลักษณะของกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 146 ราย ซึ่งได้รับการคัดเลือกด้วยวิธีการจัดสรรโควต้าในแต่ละจังหวัดและวิธีการสุ่มแบบง่าย ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.สถานะภาพของเกษตรอำเภอ พบว่า เกษตรอำเภอส่วนใหญ่เป็นชายมีอายุเฉลี่ย 48.1 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย 15.5 ปี อัตราเงินเดือนเฉลี่ย 15,220 บาท และมีกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบเฉลี่ย 4.9 กลุ่ม 2.บทบาทของเกษตรอำเภอที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร พบว่าเกษตรอำเภอส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมวางแผนส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรกับผู้ช่วยเกษตรอำเภอและเกษตรตำบล เกษตรอำเภอได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรและได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรกับคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรเป็นประจำทุกปี 3.ความเห็นของเกษตรอำเภอต่อลักษณะของกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ แยกได้ดังนี้ ความเห็นต่อคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1)คณะกรรมการมีความซื่อสัตย์ 2)มีความเข้าใจในบทบาทและไหน้าที่ของตนเอง และ 3)เข้าใจระเบียบข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกรเป็นอย่างดี ความเห็นต่อสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1)สมาชิกมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและหมู่คณะ 2)ปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด และ 3)เข้าใจในระเบียบข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร ความเห็นต่อการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินของกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1)การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีควรปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด 2)ก่อนมีการใช้เงินควรมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการใช้เงินทุกครั้ง และ 3)กลุ่มควรจะประเมินผลการเงินใช้กู้ของสมาชิกทุกปี ความเห็นต่อการดำเนินงานเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1)กลุ่มควรจัดหาปัจจัยการผลิตมาให้ทันฤดูกาลเพาะปลูก 2)คณะกรรมการควรร่วมมือกับหัวหน้าหน่วยเกษตรกรรมเพื่อวางแผนจัดหาปัจจัยการผลิตมาให้บริการแก่สมาชิก และ 3)กลุ่มควรสำรวจความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตของสมาชิกทุกปี ความเห็นต่อการจัดการต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1)คณะกรรมการควรประสานงานกับหัวหน้าหน่วยเกษตรกรรมและสมาชิกเพื่อก่อให้เกิดการทำงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2)กลุ่มควรวางแผนหรือวางโครงการที่จะจัดทำไว้ล่วงหน้าทุกปี และ 3)คณะกรรมการควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้สมาชิกรวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรชี้แจงหรือให้การอบรมแก่คณะกรรมการในรายละเอียดในข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร (ตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 140-141)ให้เข้าใจก่อนจะเริ่มดำเนินงานต่าง ๆ ในกลุ่ม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรกระตุ้นให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรในระหว่างการประชุมกลุ่มเกษตรกรอย่างเต็มที่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรจัดการอบรมกลุ่มเกษตรกรในแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินของกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่มควรจัดหาปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตมาบริการแก่สมาชิกให้ทันฤดูกาล และในการวางระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของกลุ่มควรให้สมาชิกทุกคนมีส่วนรับทราบ และได้มีโอกาสร่วมกันพิจารณาก่อนที่จะใช้บังคับในกลุ่มต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2536
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สกล คุณอุดม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการให้บริการของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การเลี้ยงปศุสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกรรายย่อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ระบบผลิตยางพารา การยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก