สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว
อารมณ์ โรจน์สุจิตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of Fungicides in Local Planting Area on Control White Root Disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารมณ์ โรจน์สุจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรครากขาวของยางพาราสาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporus เป็นโรคที่สำคัญที่สุด มีแพร่ระบาด ทำความเสียหายแก่สวนยางทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้ของประเทศไทย การใช้สารเคมีในการควบคุมโรครากของยางพารา ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก ปฏิบัติได้ง่าย มีประสิทธิภาพรวดเร็ว และให้ผลดีกว่าวิธีการอื่น ซึ่งพบว่าสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ป้องกันกำจัดโรครากขาวในปัจจุบันมีจำหน่ายในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้น้อยมาก แต่ในพื้นที่ปลูกยางภาคตะวันออกพบว่ามีจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารเคมีที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วในท้องถิ่นภาคใต้ เช่น เบนโนมิล, เมตาแลกซิล, ไอโปรไดโอน, ฟอสฟอริก แอซิด, วาลิดามัยซิน และ อีทาบอกแซม พบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากขาว จึงศึกษาสารเคมีในกลุ่ม Triazole ชนิดที่ไม่อยู่ในคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง คือ triadimefon, microbutanil, triflumizole และกลุ่ม Imidazole คือ prochloraz เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสเลือกใช้สารเคมีหลากหลายชนิดขึ้น จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยวิธี poisoned food technique พบว่า สารเคมีเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากขาวได้ 100% ที่ความเข้มข้น 100-1000 ppm. และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งและกำจัดเชื้อราโรครากน้ำตาลและรากแดงได้ 100% ที่ความเข้มข้นเพียง 10-100 ppm. เท่านั้น และจากการทดสอบสาร triadimefon, prochloraz และ cyproconazole กับต้นยางที่เป็นโรครากขาวในสภาพแปลงปลูกโดยให้สาร 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 6 เดือน พบว่า cyproconazole 500 ppm. triadimefon และ prochloraz 2,000 ppm. มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาต้นยางที่เป็นโรคได้ดีมาก ส่วนสารเคมีชนิดอื่นที่เหลือเช่น microbutanil ควรศึกษาพัฒนาวิธีการใช้ในสภาพแปลงต่อไป เพื่อให้มีชนิดสารเคมีที่หลากหลาย สำหรับแนะนำเกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=949
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารเคมีในท้องถิ่นต่อการป้องกันและควบคุมโรครากขาว
การยางแห่งประเทศไทย
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ประสิทธิภาพและวิธีการใช้สารเคมีบางชนิดต่อการควบคุมโรครากขาวในสวนยาง ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากสีน้ำตาล การศึกษาสารเคมีป้องกันโรครากเน่าของหม่อน การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี การทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคราสนิม ยางพารากับท้องถิ่น การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก