สืบค้นงานวิจัย
ระดับความสูงของพื้นที่ ที่มีผลต่อผลผลิต และคุณภาพของกระชายดำจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและหัวพันธุ์ลำดับต่างๆ
วิไลพร ธรรมวงษ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ระดับความสูงของพื้นที่ ที่มีผลต่อผลผลิต และคุณภาพของกระชายดำจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและหัวพันธุ์ลำดับต่างๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Elevation on Yield and Quality of Krachai-Dum (Kaempferia parviflora Wall. Ex Bak) from Tissue Culture and Various Rhizomes Orders
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิไลพร ธรรมวงษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vilaiporn Tummawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุมนา นีระ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sumana Neera
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของการปลูกกระชายดำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เบอร์ 502 และหัวพันธุ์ ลำลับต่างๆ ที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของกระชายดำที่ระดับความสูง 204 (หมวดไม้ผล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น) และ 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล (สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรมเขื่อนจุพากรณ์ จังหวัดชัยภูมิ) พบว่าที่ระดับความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ปลูกจากตันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและลำดับหัวพันธุ์ต่าง ๆ คือ หัวแม่ หัวลำดับที่ 1, 2 และ 3 ให้น้ำหนักแห้งหัว 195.32. 321.43. 161.87. 32.87 และ 4.09 กก./ไร่ สูงกว่าที่ระดับความสูง 204 เมตรจากระดับน้ำทะเล 189.74. 295.90. 132.23. 20.04 และ 3.61 กก./ไร่ โดยหัวแม่ให้ผลผลิตสูงสุด และต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูงกว่าหัวลำดับที่ 1 และ 2 การปลูกโดยใช้หัวลำดับ 3 ให้น้ำหนักแห้งหัวต่อไร่ ต่ำสุด จากการวิเคราะห์คุณภาพของกระชายดำ ได้แก่ ปริมาณสาร lavonoid และน้ำมันหอมระเหย พบว่า ที่ระดับความสูง 204 จากระดับน้ำทะเล มีเปอร์เซ็นต์สาร lavonoid 16.56. 13.85. 11.95. 10.163 และ 10.163 จากการปลูกจากตันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, หัวแม่ หัวลำดับที่ 1. 2 และ 3 ตามลำดับ สูงกว่าที่ระดับความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล 9.09, 8.82. 6.62. 6.27 และ 6.60 และที่ระดับความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล เปอร์เซ็นต์น้ำมันหอมระเหย 0.048. 0.049. 0.050. 0.053 และ 0.053 สูงกว่าที่ระดับความสูง 204 เมตรจากระดับน้ำทะเล 0.030. 0.031. 0.034. 0.036 และ 0.036 และพบว่าการปลูกโดยใช้ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและหัวพันธุ์ลำดับต่างๆ ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำมันหอมระเหยแต่ทำให้ปริมาณสาร flavonoid แตกต่างทางสถิต
บทคัดย่อ (EN): Influence of plant materials grown of Krachai-Dam (Kaempferia parviflora Wall. Ex Bak) from no. 502 tissue culture plantlet and various rhizome orders on yield and quality were carried out. They were located at Pomology section, Faculty of Agriculture. Khon Kaen University, Khon Kaen province (204 m. elevation above sea level.) and Chulabhorn Dam Experimental and Training Station, Faculty of Agriculture. Khon Kaen University, Chaiyaphum province (800 m. elevation above sea level) respec-tively. At 800 meters , the rhizome dry weight yield of plant grown by both plantlet from tissue culture and all orders of rhizome plant material in term of main. primary, secondary and tertiary rhizome were given rhizome dry weight 195.32. 321.43. 161.87. 32.87 and 4.09 kg/rai higher than 189.74, 295.90,132.23, 20.04 and 3.61 kg/rai at 204 meters respectively. At the both locations, plant from main rhizome was significant given highest rhizome dry weight yield. followed by plant from tissue culture plantlet which was higher than plant from primary and secondary rhizomes. the plant from tertiary rhizome was lowest yield. The quality in term of flavonoid and volatile oil contents. the percentage of flavonoid at 204 meters was shown 16.56. 13.85. 11.98. 10.163 and 10.163 in plant from tissue culture. main, primary, secondary and tertiary rhizomes much higher than 9.09. 8.82. 6.62. 6.27. and 6.60 at 800 meters. Volatile oil content in the same plant orders as flavonoid were shown in inverse result. the percentage at 800 meters was 0.048. 0.049. 0.050. 0.053 and 0.053 higher than 0.030. 0.031. 0.034. 0.036 and 0.036 at 402 meters respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=112-1171.pdf&id=1519&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับความสูงของพื้นที่ ที่มีผลต่อผลผลิต และคุณภาพของกระชายดำจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและหัวพันธุ์ลำดับต่างๆ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การปรับปรุงพันธุ์แตงโมไม่มีเมล็ดโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนยอด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ดินสกุล Habenaria และ Pecteilis ที่สำรวจพบในพื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 3 – 4  ปี ระบบการขยายพันธุ์แคลล่าลิลี่เพื่อกการผลิตหัวพันธุ์ ผลของระยะเวลางดน้ำก่อนการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพของกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. Ex Baker) ผลของ BAP และ IAA ที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยหอมทอง การพัฒนาการผลิตและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทย: กรณีศึกษากระชายดำ การให้แคลเซียมคลอไรด์เป็นสิ่งกระตุ้นต่อผลผลิตและคุณภาพของกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 5 – 6 ปี ในสภาพดินทรายชายฝั่งทะเลและในสภาพดินร่วนปนเหนียว อิทธิพลของพันธุ์และเส้นกลางใบต่อการสร้างแคลลัสในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใบกาแฟอราบีก้า (Coffea arabica L.)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก