สืบค้นงานวิจัย
การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รักชนก ทุยเวียง, ลาวัณย์ ปั้นประสม, รักชนก ทุยเวียง, ลาวัณย์ ปั้นประสม - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับ การเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวของครัวเรือนเกษตรแบบผสมผสาน เปรียบเทียบกับต้นทุนและผลตอบแทนของครัวเรือนที่ปลูกข้าวเชิงเดี่ยวในพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยการสัมภาษณ์ข้อมูลของปี 2557 จากเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับปลานิลและปลูกข้าวที่สำคัญ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และขอนแก่น โดยเลือกเกษตรกรตัวอย่างที่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน 47 ราย และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเชิงเดี่ยวในบริเวณเดียวกัน 11 ราย จากการศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 20,207.28 บาทต่อไร่ต่อรุ่น ได้ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไม 282.75 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น ราคาที่เกษตรกรขายได้ 146.82 บาทต่อกิโลกรัม และผลผลิตปลานิล 1,360.86 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น ราคาที่เกษตรกรขายได้ 40.32 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้รวม 96,383.23 บาทต่อไร่ต่อรุ่น และกำไรสุทธิ 76,175.95 บาทต่อไร่ต่อรุ่น การเลี้ยงกุ้งขาว แวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิล เกษตรกรเพาะเลี้ยงได้เพียง 1 รุ่นต่อปี เนื่องจากขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ จากการศึกษาการปลูกข้าวของครัวเรือนเกษตรแบบผสมผสานพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 4,659.38 บาทต่อไร่ ผลผลิต 355.84 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 16.18 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้ 5,757.49 บาทต่อไร่ และกำไรสุทธิ 1,098.11 บาทต่อไร่ จากการศึกษาครัวเรือนผู้ปลูกข้าวเชิงเดี่ยวพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 4,641.28 บาทต่อไร่ ผลผลิต 315.28 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 16.55 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีรายได้ 5,217.88 บาทต่อไร่ และกำไรสุทธิ 576.60 บาทต่อไร่ การเพาะปลูกข้าวของครัวเรือนเกษตรแบบผสมผสานและครัวเรือนเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นการปลูกข้าวแบบนาหว่านแห้ง อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ผลผลิตข้าวต่ำ หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง สำหรับครัวเรือนเกษตรแบบผสมผสานสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงภายหลังการจับสัตว์น้ำแล้วถ่ายเทไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวในแปลงนาได้ จึงทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่สูงกว่าครัวเรือนที่ปลูกข้าวเชิงเดี่ยว และการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวที่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ไม่เกิดผลกระทบต่อการปลูกพืชและสภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบแต่ประการใด ข้อเสนอแนะรัฐบาลควรปรับปรุงแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เกษตรกรสามารถใช้น้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะปลูกพืชได้ตลอดปี เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตร และควรมีการพัฒนาปรับปรุงลูกพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไมและปลานิลให้แข็งแรงสมบูรณ์ ต้านทานต่อการเกิดโรคระบาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรอย่างเพียงพอ ตลอดจนควรแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง กรณีเกษตรกรทำการเลี้ยงแล้วเกิดปัญหาโรคระบาดหรือผลผลิตตกต่ำ ควรหาสาเหตุและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับการเลี้ยงปลานิลและการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
30 กันยายน 2558
การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน อัตราการหายใจ ผลผลิตขั้นต้น คุณภาพน้ำและดินในบ่อเลี้ยงกุ้งขาว (Penaeus vannamei Boone, 1931) แบบพัฒนา การเสริมแร่ธาตุตามอัตราส่วนในน้ำที่เลี้ยงกุ้ง ต่อการเจริญเติบโต การรอดตาย อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ของการลอกคราบ และสรีระเคมีของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) วิธีที่เหมาะสมในการลำเลียงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ให้มีชีวิตแบบแห้งที่อุณหภูมิต่ำ การสร้าง infectious clones ของไวรัส Infectious myonecrosis virus (IMNV) และการผลิตไวรัส IMNV ของกุ้ง ในเซลล์แมลงเพาะเลี้ยงโดยใช้ Baculovirus vector เป็นตัวช่วย การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแร่ธาตุบางชนิดในพลาสมาของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei) ในสภาวะช็อก แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ผลของการเสริมธาตุทองแดงในรูปคีเลตในอาหาร ต่อการเจริญเติบโต การรอดตาย อัตราการแลกเนื้อ สรีระเคมี กิจกรรมเอนไซม์ทริปซิน และประสิทธิภาพการย่อยอาหารของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก