สืบค้นงานวิจัย
การใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงเป็นอาหารสัตว์
รัชนีวรรณ วรจินดา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงเป็นอาหารสัตว์
ชื่อเรื่อง (EN): The Utilization of Protein Enrichment Cassava as Animal Feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชนีวรรณ วรจินดา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การผลิตมันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงทำด้วยการหมักแบบอาหารแข็ง ใช้เชื้อรา Aspergillus oryzea และยีสต์ Candida utilis ที่อยู่ในรูปลูกแป้ง หมักเป็นเวลา 30 วันทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีน 27.41% ไขมัน 0.73% แร่ธาตุ 9.91% แคลเซียม 0.26% ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ 0.11% ในการทดสอบการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารโคเนื้อนั้นได้ทำการทดลองใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารข้นในระดับ 0 25 50 75 และ 100% ใช้โคเนื้อพันธุ์อเมริกันบราห์มัน น้ำหนักตัวเฉลี่ย 189.35 ? 36.11กิโลกรัม จำนวน 20 ตัวสุ่มลงในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก มี 5 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 4 ซ้ำ มีระยะเวลาการทดลอง 45 วัน วัดสมรรถภาพการผลิต การย่อยได้ของโภชนะ และคุณสมบัติบางประการของเลือด สรุปได้ว่าสามารถใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงทดแทนกากถั่วเหลืองได้ 100% การทดสอบการใช้เป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารสุกรรุ่นวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก โดยบล็อกเพศสุกร มี 5 ทรีทเมนต์ ๆ ละ 8 ซ้ำ ใช้สุกรรุ่นลูกผสมสามสายเลือดน้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม ทั้งหมดจำนวน 80 ตัว สุ่มให้ได้รับสูตรอาหาร 5 สูตรที่มีมันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงอยู่ในระดับ 0 5 10 15 และ 20% เลี้ยงสุกรทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับมันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงระดับ 5% มีการย่อยได้โภชนะสูงสุด (วัตถุแห้ง โปรตีน และพลังงานย่อยได้ 84.68, 88.44, และ 88.99% ตามลำดับ) แต่เนื่องจากการใช้มันสำปะหลังหมักสูงถึง 20% ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการย่อยได้ ดังนั้นแสดงว่าสามารถใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงในสูตรอาหารในระดับ 20 % จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์มันสำปะหลังโปรตีนสูง ไปยังนักศึกษาและเกษตรกร จำนวน 70 คน ปรากฏว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดี (4.70)
บทคัดย่อ (EN): Aspergillus oryzae and Candida utilis were brought about to increase protein content of cassava root meal through solid substrate fermentation and the fermented product contained 27.41% protein, 0.73% ether extract, 9.91% ash, 0.26% calcium, 0.11% and available phosphorus, 7.3%. Twenty American Brahman at an average body weight of 189.35 ? 36.11 kg were randomly allotted to a randomized complete block design containing 5 treatments with 4 replications each. Fungal-yeast fermented cassava root meal (FYFCRM) was replaced to soybean meal in beef concentrate at 5 levels; 0, 25, 50, 75 and 100%. Based on performance, nutrient digestibility and some blood characteristics from 45 days of feeding trial, FYFCRM was capable to completely replace soybean meal. Five levels of FYECRM (0, 5, 10, 15 and 20% of diets) were used to test the feeding value in growing pigs. There were 5 treatments and 8 replications each using 40 crossbred growing pigs at an average body weight of 30 kg. After 6 week feeding, the 5% use showed highest nutrient digestibility (DM, CP, and energy digestibility were84.68, 88.44, and 88.99% respectively), but the 20% level did not cause any detrimental effect as compare to control so that FYFCRM could be included at 20%. The technology of FYFCRM production and utilization were transferred to 70 of Animal Production Technology students and farmers. The overall satisfaction was good (4.70).
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้มันสำปะหลังหมักโปรตีนสูงเป็นอาหารสัตว์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้กากมันสำปะหลังร่วมกับส่าเหล้าเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสุกร การใช้กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักยีสต์ เพื่อเป็นอาหารในโครีดนม มาตรฐานพืชอาหารสัตว์หมักของกองอาหารสัตว์ การศึกษาจลนพลศาสตร์การหมักเอทานอลจากมันสำปะหลัง การผลิตอาหารสัตว์จากมันสำปะหลังและของเหลือทิ้งทางการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพอาหารหยาบหมักจากชานอ้อยและกากมันสำปะหลังด้วยเอนไซม์และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดยวิธีการหมักอาหารแบบแข็ง คุณลักษณะของแป้งและสตาร์ชจากมันสำปะหลัง ที่ผ่านการหมักโดยใช้แลคติคแอซิดแบคทีเรีย และการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร กรณีศึกษา : การใช้หัวมันสำปะหลังหมักสดทดแทนมันเส้นในสูตรอาหารข้น สำหรับโครีดนมของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม การขยายขนาดการผลิตหัวอาหารสัตว์ที่มีปริมาณเอนไซม์สูง โดยการหมักแบบอาหารแข็งด้วยรา Aspergillus oryzae โดยใช้ถังหมักแบบหมุนขนาด 200 และ 600 ลิตร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก