สืบค้นงานวิจัย
พยากรณ์พื้นที่ปลูกและผลผลิตยางของประเทศไทย ปี 2536 – 2543
สมพร กฤษณะทรัพย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: พยากรณ์พื้นที่ปลูกและผลผลิตยางของประเทศไทย ปี 2536 – 2543
ชื่อเรื่อง (EN): Forecast on NR Planting Area and Production of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพร กฤษณะทรัพย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญอาจ กฤษณะทรัพย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เป็นการศึกษาการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ ปลูกแทนและผลผลิตยางในช่วง ปี 2536-2543 โดยพิจารณาถึงนโยบายลดอัตราการขยายปลูกใหม่และผลผลิตลง เพื่อแก้ปัญหายางเกินความต้องการตลาดโลกและราคาตกต่ำเกินไป นอกจากนั้นยังได้พิจารณาถึงปัจจัยทางด้านความเจริญภาคอุตสาหกรรม ที่ทำให้ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสูงกว่ารายได้จากการกรีดยาง ส่งผลให้อาชีพการทำสวนยางถดถอยลงเป็นเงาตามตัว ทั้งในด้านการปลูกและผลผลิต ในการพยากรณ์ได้ใช้ข้อมูลผลผลิตรวมทั้งประเทศ ระดับผลผลิตของสวนยางที่ได้รับการบำรุงรักษาต่างกัน อัตราการปลูกแทนและตัวเลขพื้นที่ที่ได้จากการศึกษาดาวเทียมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นเครื่องมือประกอบการพยากรณ์ ผลการพยากรณ์ทำให้ทราบว่าในปี 2536 – 2543 เนื้อที่สวนยางจะเพิ่มขึ้น 350,245 ไร่ เป็น 12.4 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงปีละ 60,000 – 40,000 ไร่ การปลูกแทนในปี 2536 ทำได้ 5.5 ล้านไร่ ( 46 % ) ปี 2543 ปลูกได้ 7 ล้านไร่ ( 57 % ) สำหรับผลผลิตเพิ่มขึ้น 759,000 ตัน เป็น 2.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นปีละหนึ่งแสนตันเศษหรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 โดยตลอด สำหรับผลผลิตต่อไร่โดยเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 160 กก. ในปี 2536 และจะเพิ่มเป็น 219 กก. / ไร่ ในปี 2543 ส่วนผลผลิตยางที่บำรุงรักษาดีอยู่ที่ 225 กก. / ไร่ ในปี 2536 และจะเพิ่มเป็น 240 กก. / ไร่ / ปี ในปี 2543
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พยากรณ์พื้นที่ปลูกและผลผลิตยางของประเทศไทย ปี 2536 – 2543
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ศึกษาต้นทุนการผลิตยางของประเทศไทย ปี 2536 การใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat 5-TM ในการสำรวจพื้นที่ปลูกยางพาราของประเทศ ปี 2538 โครงการกิจกรรมการแปลตีความพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีอายุ ๗ ปี ขึ้นไป ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมบริเวณภาคตะวันออก พยากรณ์พื้นที่และผลผลิตยางปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเพิ่มผลผลิตข้าวตามเขตศักยภาพการให้ผลผลิตของพื้นที่ปลูกข้าวของไทย อิทธิพลของการให้น้ำต่อการตอบสนองทางสรีระวิทยาและการให้ผลผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสถานการณ์การผลิตยางแผ่นของประเทศไทย ปี 2530 การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าว และการพยากรณ์ผลผลิตข้าวประเทศไทย อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก