สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก
อำภา ตันติสิระ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำภา ตันติสิระ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: พริกเป็นพืชผักที่สำคัญที่สุดและมีมูลค่าเทียบเท่ากับ ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน สับปะรด มีการปลูกและใช้ประโยชน์รูปแบบต่างๆ อย่างกว้างขวาง ประเทศไทยมีสภาพที่เหมาะสมแก่การปลูกพริกทั่วประเทศแต่ยังต้องนำเข้าถึงปีละ 1,770-5,420 ตัน จึงได้ทำการศึกษาเรื่องการผลิตและการตลาดพริกขึ้น เพื่อให้ทราบข้อมูลในเรื่องดังกล่าวตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาการผลิตและการตลาดพริกต่อไปโดยทำการศึกษาจากเอกสารและบุคคลที่ เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การผลิต มีพื้นที่ปลูกมาก 28 จังหวัด อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 40.5 % และภาคเหนือ 27.5 % พันธุ์ปลูกมีหลายหลายแต่ละพันธุ์ปรวนแปรสูง นิยมปลูกในฤดูฝนถึง 81.06 % แม้ต้นทุนจะต่ำกว่าฤดูแล้ง แต่รายได้ก็ต่ำกว่าฤดูแล้งด้วยถึง 2.59 เท่าในพริกใหญ่และ 2.35 เท่าในพริกเล็ก ปริมาณพริกใหญ่ไม่เพียงพอต้องนำเข้า 1,770-5,420 ตันต่อปี พริกเล็กมีเหลือส่งออกทั้งสดและแห้ง มีกลุ่มผู้ผลิต 560 กลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่มีกิจกรรมด้านพัฒนาอาชีพ การลงทุนเป็นค่าแรงงานถึง 62 % การตลาด เม็ดพริกทั้งสดและแห้งต้องผ่านมือพ่อค้าตั้งแต่ 1-6 ขั้นตอนส่วนใหญ่ 4 ขั้นตอน จึงมีการสูญเสียมาก และราคาแพง ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคา พริกจะแพงมากในเดือนพฤษภาคม-กันยายน มีการส่งออกพริกในรูปเม็ดสด เม็ดแห้งป่น ซอสพริก ในปี 2537 มูลค่าส่งออก 204.8 ล้านบาท นำเข้า 86.4 ล้านบาท เกินดุล 118.4 ล้านบาท การแปรรูป ทำได้ 11 ประเภท คือ พริกแห้ง พริกป่น พริกคั่ว พริกดอง ซอสพริก หรือน้ำจิ้ม น้ำพริก น้ำพริกแกง อาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป พริกแช่แข็ง สีแดงผสมอาหาร สาร capsicin มีมาตรฐานแล้ว 5 ประเภท การแปรรูประดับครัวเรือนยังไม่ถูกสุขลักษณะนัก สมควรได้รับการแก้ไข แนวทางการพัฒนา ในช่วง 10 ปี 1. ด้านเมล็ดพันธุ์ ควรมีการรวบรวมพันธุ์ไว้เป็นแหล่งพันธุกรรม ควรปรับปรุงพันธุ์พริกใหญ่ พริกเล็ก พริกขี้หนูสวน เป็นอันดับต้นๆ 2. ด้านเทคโนโลยีการผลิต เร่งส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเร่งรัดงานวิจัยที่ยังขาดอยู่ 3. ด้านการผลิต ควรส่งเสริมให้กระจายวันปลูกออกไปในฤดูแล้งและขยายพื้นที่ปลูกทางภาคใต้ให้มากขึ้น เพิ่มผลผลิตพริกใหญ่ เพื่อผลผลิตต่อไร่ ปรับปรุงคุณภาพ สนับสนุนให้กลุ่มผู้ปลูกพัฒนาอาชีพของตนเอง ส่งเสริมปลูกแบบครบวงจร 4. ด้านการตลาด ลดขั้นตอนการตลาด ส่งเสริมการส่งออก ศึกษาตลาดสำหรับสินค้าใหม่ 5. ด้านอุตสาหกรรม เร่งศึกษากลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปพริกในระดับต่างๆ สนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพ สนับสนุนการขยายกิจการ ศึกษาการแปรรูปสินค้าใหม่ 6. ข้อมูลข่าวสาร จัดระบบและวิธีการรวบรวมข้อมูลเผยแพร่อย่างมีประสิทธิภาพ 7. ควรมีแผนงานโครงการพัฒนาการผลิต การตลาดพริก และผลิตภัณฑ์ โดยดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ทบวงมหาวิทยาลัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2538
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกสด กรณีศึกษาตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การวิจัยเพื่อสนับสนุนการผลิตพริกในจังหวัดสงขลาเพื่อการส่งออก การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาฟังก์ชั่นการผลิต ศักยภาพ ประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดพริกในจังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน การศึกษาสถานการณ์การผลิตการตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหม่อนไหม โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพริก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก