สืบค้นงานวิจัย
การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กำพล ลอยชื่น - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Fisheries and Economic loss of aquatic animal from Puse Seine with fish aggregation fisheries in Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กำพล ลอยชื่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kumpon Loychuen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประมงอวนล้อมซั้งและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือประมงอวนล้อมซั้งที่นำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าในเขตจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ช่วงเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่าเรืออวนล้อมซั้งส่วนใหญ่มีขนาดความยาวเรือ 16-25 เมตร อวนที่ใช้ความยาวอวน 700-1,800 เมตร ขนาดตาอวน 2.50 เซนติเมตร เรืออวนล้อมซั้ง 1 ลำ มีเรือปั่นไฟ 2-4 ลำ แหล่งทำการประมงที่สำคัญตั้งแต่ระยะห่างฝั่ง 8 ไมล์ทะเลไปจนถึง 30 ไมล์ทะเล โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และ เกาะรอก เป็นต้น ที่ระดับน้ำทะเลลึก 20-80 เมตร เรืออวนล้อมซั้งมีวันออกทำการประมง 1-2 วันต่อเที่ยว เดือนหนึ่งออกทำการประมงประมาณ 20 เที่ยว มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยทั้งปี 2,496.96 กิโลกรัมต่อวัน และองค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ประกอบด้วยปลาลัง มากที่สุดร้อยละ 20.03 รองลงมาเป็นปลาทูแขกครีบหูยาว ปลาทูแขกครีบหูสั้น ปลาหลังเขียว ปลาโอลาย ปลาแข้งไก่ ปลาสีกุนบั้ง ปลาสีกุนตาโต ปลาโอแกลบ และปลาโอหลอด ร้อยละ 18.37 7.84 6.81 5.99 5.85 4.70 3.49 3.38 และ 1.86 ตามลำดับ ซึ่งขนาดสัตว์น้ำที่จับได้มีขนาดความยาวตลอดตัวในช่วงที่ต่ำกว่าขนาดความยาวเริ่มสืบพันธุ์เกือบทุกชนิด เมื่อวิเคราะห์ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของการนำสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สำคัญ และจับได้มากมาใช้ก่อนวัยอันควร (ก่อนขนาดความยาวเริ่มสืบพันธุ์) รวมทั้ง 10 ชนิด มีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 45,945.86 บาทต่อวันต่อลำ คำสำคัญ : การประมงอวนล้อมซั้ง ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทะเลอันดามัน
บทคัดย่อ (EN): Purse seine with fish aggregating devices fisheries and economic loss of aquatic animal in the Andaman Sea Coast of Thailand was collected data from fishing vessel, which catch landed at fishing port in Phang-nga, Phuket, Krabi, Trang and Satun provinces during Januraly to December 2014. The results showed the length of fishing vessel was 16 to 25 meters, with a net length of 700-1,800 meters, mesh size 2.50 centimeter and 1 fishing vessel with 2-4 light luring boat. The fishing grounds were off shore from 8 to more than 30 nortical mile from shoreline, especially around Surin Island, Similan Island and Rok Island at depth of sea water range 20 to 80 meters. Fishing efforts were 1-2 days per trip per boat and average fishing day operate 20 days per month. The average catch per unit effort was 2,496.96 kg per day. The catch composition comprised of mainly Rastrelliger kanagurta 20.03 %, followed by Decapterus maruadsi, D. macrosoma, Sardinella gibbosa, Euthynnus affinis, Megalaspis cordyla, Atule mate, Selar crumenophthalmus , Auxis thazard and Auxis rochei were 18.37 7.84 6.81 5.99 5.85 4.70 3.49 3.38 and 1.86 %, respectively. All total length of economically fish was found smaller than size at first mature. For in term of economic loss of 10 species were loss average economic value as 45,945.86 bath per day per boat. Key words : Puse Seine with Fish Aggregation Device fisheries, Economic loss, the Andaman Sea Coast of Thailand
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/62560.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: กเครื่องมือประมงอวนล้อมซั้งที่นําสัตว์น้ํามาขึ้นท่าในเขตจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ตรังและสตูล
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2557
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของทรัพยากรสัตว์น้ำจากการทำการประมงอวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร ในเขตน่านน้ำประชิดไทย-มาเลเซีย กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทัศนคติของชาวประมงต่อมาตรการควบคุมการประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามัน ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน การทำการประมง และเศรษฐกิจสังคมของชาวประมงในทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน สภาวะการทำการประมงและผลจับสัตว์น้ำในแม่น้ำชี การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเล ซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบการที่จังหวัดระยอง : รายงานผลการวิจัย ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ต้นทุน และผลตอบแทนจากการทำประมงกุ้งทะเลบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก