สืบค้นงานวิจัย
การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม
วิจิตรา ทองแก้ว - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): Use of High Level Soybean Hulls in Dairy Cow Diet
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิจิตรา ทองแก้ว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vijittra Thongkaew
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ใช้โคนมลูกผสมสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียน จำนวน 12 ตัว ที่อยู่ในช่วงระยะให้นมเดียวกัน และมีปริมาณน้ำนมที่ใกล้เคียงกัน สุ่มเข้าทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 ตัว ให้โคทั้ง 2 กลุ่มได้รับอาหารหยาบเต็มที่ และได้รับอาหารข้นโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำนม 2 กิโลกรัม แต่อาหารข้นของกลุ่มที่ 1 ไม่มีเปลือกเมล็ดถั่วเหลือง ในขณะที่กลุ่ม 2 มีเปลือกเมล็ดถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์ ให้อาหารข้นวันละ 2 มื้อ ในช่วงเวลารีดนมตอนเช้าและตอนเย็น ใช้เวลาทดลองนาน 56 วัน ผลปรากฎว่า โคกลุ่มที่ 1 และ 2 กินอาหารทั้งหมดคิดเป็นวัตถุแห้งเท่ากับ 12.54 และ 13.37 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ (P>0.05) ปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำนม โปรตีน แลคโตส และของแข็งทั้งหมดไม่รวมไขมันนม มีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่โคกลุ่มที่ 2 มีปริมาณไขมันนม (4.16 เทียบกับ 3.44 เปอร์เซ็นต์) และปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำนม (13.22 เทียบกับ 12.26 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (P<0.05) ต้นทุนค่าอาหารในการผลิตน้ำนมดิบต่อ 1 กิโลกรัมปรับที่ 4 เปอร์เซ็นต์ไขมันนม ลดลงเมื่อใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองเป็นส่วนผสมในสูตรอาหารข้น (5.30 เทียบกับ 6.92 บาทต่อกิโลกรัม, P>0.05) และกำไรจากการขายนม 1 กิโลกรัม ปรับที่ 4 เปอร์เซ็นต์ไขมันนม ของกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 (8.45 เทียบกับ 6.94 บาทต่อกิโลกรัม, P<0.05)
บทคัดย่อ (EN): Twelve crossbred Holstein Friesian lactating cows were arranged according to lactating period and average milk yield into 2 treatments. All cows were fed fresh grass ad libitum and fed concentrate (16% CP) at the rate of one kilogram per two kilograms of milk yield. The composition of concentrate feed in group 1 contained no soybean hulls while that of group 2 had this ingredient at 60% of the ration. Feed were fed two times daily at the morning and afternoon milking. The feeding trial lasted 56 days. The result showed that total dry matter intake of both groups were 11.54 and 13.37 kilogram per head per day, respectively (P>0.05). 4% FCM yield, milk protein content, as well as the contents of milk lactose and solid non-fat were not significantly affected by the diets (P>0.05). In contrast, soybean hulls inclusion increased milk fat content (4.16 vs 3.44 %, P<0.05) and milk total solid content as compared to the control (13.22 vs 12.26 %, P<0.05). The feed cost per unit of milk yield (4% FCM) was lower (5.30 vs 6.92 Baht per kilogram, P>0.05) while profit from 1 kilogram of milk yield (4%FCM) was higher when fed with ration containing soybean hulls (8.45 vs 6.94 Baht, P<0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246556/168642
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
พันธุกรรมกับอาหารโคนม การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลการใข้มันเส้นและถั่วเหลืองทั้งเมล็ดเป็นอาหารสุกรขุน การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก