สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): Hybrid catfish and Climbing perch culture in an integrated cage-cum-pond system: economic performance and food safety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thepparath Ungsethaphand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาความหนาแน่นที่เหมาะสมของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอในกระชังแขวนในบ่อดิน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) อัตราการรอดตาย และ ต้นทุนค่าอาหาร โดยการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชัง (1X 3x1.5 ม.) ด้วยความหนาแน่น 20 ตัว/ตร ม. คู่กับการเลี้ยงปลาหมอขนาดเฉลี่ย 10.12 + 0.02 ก. ในกระชัง (2X3 X1.5 ม.) ด้วยความหนาแน่น 20, 30 และ 40 ตัว/ตร ม. แขวนในบ่อดินขนาด 300 ตรม จำนวน 3 บ่อ ใส่ปุ๋ยให้เกิดน้ำเขียว ให้อาหารเม็ดลอยน้ำที่มีระดับโปรตีน 32 เปอร์เซ็นส์ วันละ 2 ครั้ง ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักตัว/วัน) ตรวจสอบการเจริญเติบโต และคุณภาพน้ำทุก 14 วัน ตลอดระยะเวลาของการทดลอง 240 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 20 ตัว/ตร.ม. มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตราการรอดตายสูงกว่า และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำกว่า ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 30 ตัว/ตรม. และ 40 ตัว/ตร ม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (๖<0 05) แต่ความหนาแน่น 30 และ 40 ตัว/ตร ม. ไม่แตกต่างกัน (0>0.05) และพบว่าปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 20 ตัว/ตร.ม. มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า และอัตราส่วนผลตอบแทนงินลงทุนสูงกว่า ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 30 และ40 ตัว/ตร ม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (๒<0.05) ในส่วนของปลาดุกบิ๊กอุยที่เลี้ยงในรอบที่ 1 รอบที่ 2 (ระยะเวลารอบละ 120 วัน มีน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเดิบโตต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อัตราการรอดดาย ต้นทุนในการผลิต และอัตราส่วนผลตอบแทนเงินลงทุน ไม่แตกต่างกัน (0>0 05)
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-54-068.2/55-054.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 200,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/Thepparath_Ungsethaphand_2556/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในกระชังร่วมกับปลาหมอเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความปลอดภัยด้านอาหาร ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยร่วมกับปลานิลในบ่อพลาสติกแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค เปรียบเทียบปริมาณสารกลิ่นสาบโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย(Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus )ที่เลี้ยงในระบบชีววิถีทั้งที่ใช้และไม่ใช้ปลานิล( Oreochromisniloticus )เลี้ยงร่วมเพื่อมาตรฐานอาหารปลอดภัย การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) ผลของน้ำมันรำข้าวและใยอาหารจากเปลือกถั่วเหลืองต่อคุณภาพของไส้กรอกปลาดุกบิ๊กอุย ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการพัฒนาการเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์ ผลของเกลือ (NaCl) ในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของปลาหมอ (Anabas testudineus Bloch, 1792) การสร้างมูลค่าเพิ่มจากดอกอัญชัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก