สืบค้นงานวิจัย
ปริมาณกาบาและกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องงอกพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดมหาสารคาม 5 สายพันธุ์
สำราญ พิมราช - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: ปริมาณกาบาและกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องงอกพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดมหาสารคาม 5 สายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): GABAcontent and Antiradical activity of five Local Germinated Brown Rice in Maha Sarakham Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำราญ พิมราช
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของสารแกมมา-อะมิโนบิวทา ริกแอชิด (gamma aminobutyric acid; GABA) และเพื่อศึกษากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของ ข้าวกล้องงอกพันธุ์พื้นเมือง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าแดง ข้าวเจ้าเหลือง ข้าวเจ้าดอ ข้าวเจ้าสัมพันธ์ แดง และข้าวเจ้าโสมมาลี โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) จำนวน 3 ซ้ำ นำข้าวกล้องงอกทั้ง 5 สายพันธุ์ มาวิเคราะห์สารกาบาหรือแกมมา-อะมิ โนบิวทาริกแอซิด ด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ทดสอบหา กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องงอก 5 สายพันธุ์ด้วยวิธี DPPH Radical Scavenging Capacity Assay และ ABTS Radical Scavenging Capacity Assay และหาปริมาณสารประกอบ ฟินอลิกทั้งหมด (total phenolic compound) โดยใช้สารละลาย Folin-Ciocalteu จากการศึกษา พบว่า ปริมาณสารกาบา กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระที่วัดด้วยวิธี DPPH และ ABTS และปริมาณ สารประกอบฟินอลิกทั้งหมดในข้าวกล้องงอกที่ทำจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง 5 สายพันธุ์ มีความแตกต่าง กันในทางสถิติ โดยพบว่า ข้าวเจ้าแดงมีปริมาณสารกาบามากที่สุด เท่ากับ 59.17 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม รองลงมาคือ ข้าวเจ้าสัมพันธ์แดง ข้าวเจ้าโสมมาลี ข้าวเจ้าตอ และข้าวเจ้าเหลือง ตามลำดับ (50.12, 48.70, 38.45 และ 27.12 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) สำหรับกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระที่วัด ด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบมากในข้าวเจ้าสัมพันธ์แดง ข้าวเจ้าโสมมาลี และข้าวเจ้าแดง ตามลำดับ ส่วนข้าวเจ้าดอ และข้าวเจ้าเหลืองมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าข้าวเจ้าพันธุ์อื่นๆ เช่นเดียวกัน กับปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด พบมากที่สุดในข้าวเจ้าสัมพันธ์แดง รองลงมาคือ ข้าวเจ้าแดง ข้าวเจ้าโสมมาลี และข้าวเจ้าดอ ตามลำดับ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าข้าวกล้องงอกที่ทำจากข้าว พื้นเมืองต่างสายพันธุ์กันมีปริมาณสารกาบา กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบ ฟินอลิกทั้งหมดแตกต่างกัน คำสำคัญ: ข้าวกล้องงอก ข้าวพันธุ์พื้นเมือง กบา กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบฟีนอลิก
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to analyze germinated brown rice for gamma aminobutyric acid (GABA) and to investigate radical scavenging capacity (RSC) in germinated brown rice of five local rice varieties i.e. Kaw Chao Deang, Kaw Chao Lueng, Kaw Chao Dore, Kaw Chao Sumpun Deang and Kaw Chao Sommalee. The rice varieties were assigned in a completely randomized design with three replications. The germinated brown rice samples of these varieties were analyzed for GABA content using high performance liquid chromatography (HPLC) method. Radical scavenging capacity was analyzed using DPPH radical scavenging capacity assay and ABTS radical scavenging capacity assay, and total phenolic content was analyzed using Folin-Ciocalteu method. Five local rice varieties were significantly different (Ps0.01) for GABA content, RSC determined by DPPH, RSC determined by ABTS and total phenolic content. Kaw Chao Deang had the highest GABA content (59.17 mg/100 g) followed by Kaw Chao Sumpun Deang, Kaw Chao Sommalee, Kaw Chao Dore and Kaw Chao Lueng, respectively (50.12, 48.70, 38.45 and 27.12 mg/100 g). For RSC values determined by DPPH and ABTS, Chao Sumpun Deang, Kaw Chao Sommalee and Kaw Chao Deang, respectively, had high values for these parameters, whereas Kaw Chao Dore and Kaw Chao Lueng had low values for these parameters. Kaw Chao Sumpun Deang had the highest total phenolic content followed by Kaw Chao Deang, Kaw Chao Sommalee and Kaw Chao Dore, respectively. The results indicated that germinated brown rice from different rice local varieties were different for GABA content, antioxidant activity and total phenolic content. Keywords: germinated brown rice, local rice varieties, GABA content, antioxidant activity, phenolic content
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปริมาณกาบาและกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องงอกพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดมหาสารคาม 5 สายพันธุ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2555
ข้าวกล้องงอกเพิ่ม กาบา บทบาทของสารสกัดจากข้าวกล้องงอกต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารแกมมาอะมิโนบิวเทอริกเอซิดในข้าวกล้องงอก การศึกษาสารประกอบฟีนอลิคและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของข้าวพันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดปทุมธานี การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การใช้เทคนิคสเปกโตรสโคปีอินฟราเรดย่านใกล้ในการวิเคราะห์แอนโธไซยานินส์และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องและข้าวกล้องงอก บทบาทของสารสกัดจากข้าวกล้องงอกต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก