สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์
ภาสวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processingof Products from Hemp Subproject 8: Research and Development on Hemp House
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภาสวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยละพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ เพื่อศึกษาส่วนผสมและคุณสมบัติของคอนกรีตผสมแกนต้นเฮมพ์ที่เหลือจากการลอกเปลือก และทดสอบระยะเวลาบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม ที่ทำให้คอนกรีตทนแรงอัดได้สูงสุด อีกทั้งยังได้ศึกษาการใช้ต้นเฮมพ์ทดแทน และเสริมแรงในผนังคอนกรีต รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาคาน ฝ้าเพดาน ผนัง และแผ่นปูพื้นที่มีส่วนผสมของเฮมพ์เพื่อสร้างต้นแบบบ้านที่ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ในการก่อสร้าง โดยเป็นการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทั้งส่วนของแกนและลำต้นเฮมพ์เป็นวัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติดีเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ผลิตวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ จากผลการดำเนินงานในส่วนของการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของแกนต้นเฮมพ์ที่ผ่านการลอกเปลือกและบดย่อย พบว่าปริมาณการเติมแกนเฮมพ์ลงไปส่งผลต่อค่าสมบัติทางกายภาพและทางกลมีค่าสูงที่สุดที่ปริมาณการเติม 0.1wt% ที่ระยะการบ่มที่ 28 วัน สามารถให้ค่าความต้านทานแรงอัด, ค่ากำลังแรงดึงแยก และค่ามอดุลัสของยังที่สูงที่สุดที่ 39.92, 3.92 และ 11.58 MPa ตามลำดับ และเมื่อทำการตรวจสอบค่าหน่วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างลำต้นเฮมพ์ที่มีเปลือกกับคอนกรีต ซึ่งจะให้ค่าสูงกว่าลำต้นเฮมพ์ที่ไม่มีเปลือก ทั้งในส่วนโคนและส่วนลำต้น เนื่องจากในส่วนที่มีเปลือกจะเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างผิวลำต้นเฮมพ์และคอนกรีตให้มีค่าแรงยึดเหนี่ยวที่สูงขึ้น อีกทั้งเมื่อทดสอบการดึงของแกนต้นเฮมพ์พบว่าแกนต้นเฮมพ์มีค่าแรงดึงสูงสุดที่ 1.5-2.5 kg/cm2 และสามารถนำส่วนแกนและลำต้นเฮมพ์มาทำเป็นฝ้าเพดาน ผนังและแผ่นปูพื้นทดแทนการใช้ไม้ หรือแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง (MDF) ได้ ซึ่งสามารถลดปัญหาการบวมน้ำเมื่อได้รับความชื้น และสามารถเพิ่มความสามารถในการป้องกันการลามไฟได้ รวมทั้งออกแบบและก่อสร้างบ้านต้นแบบที่ใช้เฮมพ์ในวัสดุก่อสร้างได้ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 35 ตร.ม.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์: โครงการย่อยที่ 6 การวิจัยและทดสอบยืนยันสายพันธุ์ด้วยวิธีชีวโมเลกุลของเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก