สืบค้นงานวิจัย
คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์
เฉลิมชัย วงษ์อารี, มัณฑนา บัวหนอง, สมโภชน์ น้อยจินดา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์
ชื่อเรื่อง (EN): Antioxidant properties of waterlily extracts and their anticancer and anti human pathogen activities
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Keywords
บทคัดย่อ: (ภาษาไทย) งานวิจัยนี้ได้นำสารสกัดจากดอกบัวในกลุ่มอุบลชาติ 4 พันธุ์คือ ฉลองขวัญ (Nymphaea ‘King of Siam’) เรดแฟลร์ (N. ‘Red Flare’) สุธาสิโนบลสีชมพู (N. capensis var zanzibariansis pink) และสุธาสิโนบลสีน้ำเงิน (N. capensis var zanzibariansis blue) มาศึกษาความสามารถต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดจากกลีบดอกบัวทั้ง 4 พันธุ์และจากใบบัวเรดแฟลร์มีปริมาณสารประกอบฟีนอล แอนโทไซยานิน กิจกรรมในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี Ferric Reducing Antioxidant Power (FRAP) และวิธี 2,2-diphenyl -1-picryldrazyl radicals (DPPH) ที่แตกต่างกัน โดยสารสกัดจากกลีบดอกบัวพันธุ์เรดแฟลร์มีปริมาณสารประกอบฟีนอล แอนโทไซยานิน และกิจกรรมในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH มากที่สุด ในขณะที่สารสกัดจากกลีบดอกบัวพันธุ์สุธาสิโนบลสีชมพูให้ผลดีกับวิธี FRAP ซึ่งสารสกัดจากกลีบดอกบัวทั้ง 4 พันธุ์ ที่ความเข้มข้น 500 mg/L และสารสกัดจากใบบัวพันธุ์เรดแฟลร์ที่ความเข้มข้น 1,000 mg/L มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ butylated hydroxytoluene (BHT) ที่ความเข้มข้น 200 mg/L ส่วนสารสกัดจากกลีบดอกบัวพันธุ์เรดแฟลร์ที่ความเข้มข้น 1,500 mg/L มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ 50% ได้ดีที่สุด และเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์สารสกัดจากกลีบดอกบัวทั้ง 4 พันธุ์ ทำโดยวิธี agar dilution พบว่าสารสกัดจากกลีบดอกบัวทั้งหมดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกันได้ 10 สายพันธุ์โดยเฉพาะเชื้อ Acinetobacter, Staphylococus, Streptococcus, และ Bacillus cereus สารสกัดจากกลีบดอกบัวพันธุ์เรดแฟลร์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคนได้มากที่สุด 16 สายพันธุ์ โดยให้ผลดีที่สุดกับเชื้อ Acinetobacter lowffii ATCC 15309, Salmonella dysenteriae DMST 15111 และ Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 โดยมีค่า minimum inhibitory concentration (MIC) เป็น 31 ไมโครกรัมต่อลิตร ถึงแม้ว่าสารสกัดจากกลีบดอกบัวทั้ง 4 พันธุ์ และสารสกัดจากใบบัวพันธุ์เรดแฟลร์ไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งช่องปาก (KB-Oral cavity cancer) ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ แต่สารสกัดจากกลีบดอกบัวพันธุ์เรดแฟลร์มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม (MCF7-breat cancer) และเซลล์มะเร็งปอดได้ (NCI-H187-Small cell lung cancer) ได้ดี
บทคัดย่อ (EN): In present study, petal extracts from 4 varieties of Nymphaea ‘King of Siam’, N. ‘Red Flare’, N. capensis var zanzibariansis pink and N. capensis var zanzibariansis blue were investigated for ability of antioxidant. There were significant differences of phenolic compound contents, anthocyanin contents, and antioxidant activities between waterlily extracts. However, petal extract from N. ‘Red Flare’ contained the highest phenolic and anthocyanin contents including antioxidant activities tested by using 2, 2 diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH). The extract from petal of N. capensis var zanzibariansis pink, on the other hand, was the best for free radical removal when measured by ferric reducing antioxidant power (FRAP) method. Petal extracts of all varieties at 500 mg/L and leave extracts from N. ‘Red Flare’ at 1,000 mg/L were equivalent to 200 mg/L butylated hydroxytoluene (BHT) in term of free radical scavenging. EC50 of petal extract of N. ‘Red Flare’ was at 1,500 mg/L which was the best capability to radical scavenging among all extracts. Antimicrobial activities of petal extracts of all waterlily varieties were determined by agar dilution method. The results demonstrated growth inhibitory effect of all petal extracts on the same 10 bacterials strains, especially Acinetobacter, Staphylococcus, Streptococcus and Bacillus cereus. N. ‘Red Flare’ extract showed high efficiency of inhibitory activity on 16 strains of human-pathogenic bacteria with the most potent against Acinetobacter lowffii ATCC 15309, Salmonella dysenteriae DMST 15111 and Staphylococcus epidermidis ATCC 12228 at the minimium inhibitory concentration (MIC) of 31 ?g/mL. Although all petal extracts and leave extracts of N. ‘Red Flare’ at any concentrations could not inhibit growth cells of oral cavity cancer (KB-Oral cavity cancer) in cells culture media, petal extracts of N. ‘Red Flare’ effectively inhibited growth of lung cancer (MCF7-breast cancer ) and breast cancer (NCI-H187-Small cell lung cancer) cells.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2554
การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญกลุ่มไม่มีขั้วและกลุ่มมีขั้วจากเมล็ดข้าวสีเพื่อเตรียมเป็นสารสกัดมาตรฐานโดยใช้ฤทธิ์ชีวภาพเป็น ตัวชี้นำ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและกิจกรรมการต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคของสารสกัดสาบแร้งสาบกา การศึกษาสารหลั่งจากฟอลลิคูล่าเซลล์สุกรในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งและการใช้ฟอลลิคูล่าเซลล์ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย สารยับยั้งจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระของรา Xylaria และการจำแนกชนิดโดยการใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด การรวบรวมสายพันธุ์เห็ดป่าและศึกษาคุณสมบัติ prebiotic และสารต้านอนุมูลอิสระในเห็ดป่าของป่าสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกในผลเม่า (Antidesma sp.)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก