สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ
นางเพ็ญศรี บุญเรือง - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางเพ็ญศรี บุญเรือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pensri Boonruang
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร กุ้งกุลาดำ เป็นสัตว์น้ำที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงและจัดเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง แต่พบว่าการปฏิบัติหลังการจับกุ้งกุลาดำยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง กุ้งมีการเสื่อมคุณภาพ เก็บรักษาได้ไม่นาน การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ก็ยังไม่หลากหลาย รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือยังน้อย จึงได้จัดทำชุดโครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ ดำเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2544-2548 ขึ้น โดยภายใต้ชุดโครงการฯมีโครงการย่อยทั้งหมด 3 เรื่อง สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. การพัฒนาวิธีการเก็บรักษากุ้งกุลาดำแช่เย็น พบว่า กุ้งที่เก็บที่อุณหภูมิห้อง มีปริมาณ TVB-N, K-value และ Indole เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากเก็บไว้ 18 ชั่วโมง และมีปริมาณ TVC, Psychrotrophic และ Enterobacteriaceae เพิ่มขึ้น สำหรับการประเมินทางประสาทสัมผัสของกุ้งดิบยอมรับที่อายุการเก็บไม่เกิน 18 ชั่วโมง และกุ้งสุกยอมรับที่อายุการเก็บไม่เกิน 16 ชั่วโมง สำหรับกุ้งกุลาดำที่เก็บแช่เย็นในน้ำแข็งทุกแบบ พบว่าค่า K-value มีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดการเก็บ ส่วนการประเมินทางประสาทสัมผัสของกุ้งดิบแบบเก็บแช่เย็นในน้ำแข็งทันที ยอมรับที่อายุการเก็บไม่เกิน 4 วัน แบบเก็บแช่เย็นในน้ำแข็งผสมน้ำยอมรับได้ ไม่เกิน 6 วัน และแบบชะลอไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 4 และ 6 ชั่วโมงก่อนเก็บในน้ำแข็ง ยอมรับได้ไม่เกิน 2 วัน สำหรับการประเมินทางประสาทสัมผัสของกุ้งสุกในการแช่เย็นทั้ง 4 แบบ ยอมรับที่อายุการเก็บไม่เกิน 4 วัน 2. การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการบรรจุผลิตภัณฑ์จากกุ้งกุลาดำ ได้พัฒนาเทคนิคการบรรจุผลิตภัณฑ์จากกุ้งกุลาดำเพื่อหารูปแบบและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคจากกุ้งกุลาดำ พบว่า ข้าวผัดพริกขิงกุ้งบรรจุในกล่องกระดาษแช่เยือกแข็ง มีลักษณะเป็นที่พอใจของผู้ทดสอบและมีคุณภาพดี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 7 เดือน น้ำพริกเผากุ้ง พบว่า ผู้ทดสอบให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 รูปแบบ ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 8 สัปดาห์ โดยผู้ทดสอบให้การยอมรับตัวอย่างที่บรรจุในขวดแก้วมากที่สุด ส่วนข้าวเกรียบกุ้งคงคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้นาน 12 สัปดาห์ และพบว่าข้าวเกรียบกุ้งที่บรรจุในถุงเปลวอลูมิเนียม ได้รับการยอมรับมากที่สุด 3. การสกัดแอสตาแซนทินจากเปลือกกุ้ง พบว่า การใช้ Iso-propanol ในอัตราส่วน 2:1 (Iso-propanol : เปลือกกุ้ง) โดยน้ำหนัก ในการสกัดแอสตาแซนทินจากเปลือกกุ้ง ทำให้ได้ปริมาณแอสตาแซนทินสูงสุด เท่ากับ 1.3 กรัม/เปลือกกุ้ง 1 กิโลกรัม
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 45-0700-45075
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 45-0700-45075
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: กรุงเทพมหานคร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2545-2548
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2545
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ
กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
2548
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งก้ามกราม การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับปลาดุก การพัฒนาเทคนิคไบโอเซนเซอร์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยไวรัส WSSV, YHV, TSV, HPV, MBV, IHHNV ในกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ กรรมวิธีทางอณูชีววิทยาเพื่อการกระตุ้นการพัฒนารังไข่และวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำเลี้ยง ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ การศึกษาคุณสมบัติของไข่ปฏิสนธิและตัวอ่อนกุ้งกุลาดำที่มีโครโมโซม 3 ชุด (3n/ triploid eggs and embryos) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสร้างเครื่องมือแยกไข่กุ้ง 3n การฟื้นฟูดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก