สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่าง Macrophomina Phaseoli และ Mcloi dogyne javanica ต่อโรคโคนเน่าดำของถั่วเขียว
ประเทือง สง่าวงศ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่าง Macrophomina Phaseoli และ Mcloi dogyne javanica ต่อโรคโคนเน่าดำของถั่วเขียว
ชื่อเรื่อง (EN): Interaction of Macrophomina phaseoli and Meloidogyne javanica on chacoal rot disease of mungbean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเทือง สง่าวงศ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Macrophomina Phaseoli และ Meloidogyne javanica ต่อโรคโคนเน่าดำของถั่วเขียวโดยใช้ถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง ทำการทดลองในฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2535 วางแผนการทดลองแบบ Factorial experimental design มี 4 ซ้ำ เปรียบเทียบผลการทดลองการใช้ sclerotia ของเชื้อราเพียงอย่างเดียวผสมลงในดินก่อนปลูกถั่วเขียวในอัตรา 0.5 กรัม/ดิน 1,000 มล./กระถาง และ sclerotia ที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อราบนเมล็ดข้าวฟ่าง เพียงอย่างเดียวใส่ลงพร้อมกับการปลูกในอัตรา 10 กรัม/ดิน 1,000 มล./กระถาง เปรียบเทียบกับการใช้เนมาโทดรากปมในปริมาณ 500, 1,500 และ 3,000 ตัว/ดิน 1,000 มล./กระถางเพียงอย่างเดียว และการใช้ sclerotia ของเชื้อราและเนมาโทดร่วมกันในอัตราดังกล่าวแล้พร้อมกับการปลูกถั่วเขียวจากผลการทดลองพบว่าถั่วเขียวในระยะเริ่มงอก และเป็นต้นกล้า 14 วันหลังจากปลูก จะถูกทำลายเสียหายเนื่องจากเชื้อราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อราและเนมาโทด แต่ในระยะ 21 วันภายหลังจากปลูกพบว่าถั่วเขียวจะแสดงอาการ เป็นโรคแตกต่างกัน เมื่อมีปริมาณเนมาโทดแตกต่างกัน หากมีเชื้อราร่วมอยู่ด้วยถั่วเขียวจะแสดงอาการ เป็นโรคเพิ่มมากขึ้นและการสร้างปมของเนมาโทดในถั่วเขียว 21 และ 45 วันหลังจากปลูกก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อมีปริมาณเนมาโทด 1,600 และ 3,000 ตัวต่อกระถางในการวิเคราะห์ผลผลิต จำนวนฝักต่อต้น และน้ำหนักเมล็ดต่อต้นของถั่วเขียวก็พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อราและเนมาโทดเช่นเดียวกันคือถ้าหากมีเชื้อราอยู่ร่วมกันเนมาโทดแล้ว ถั่วเขียวจะให้ผลผลิตน้อยลงมากกว่าการมีเชื้อราหรือเนมาโทด ในปริมาณต่ำเพียงอย่างเดียว
บทคัดย่อ (EN): Interaction of Macrophomina phaseoli and Meloidogyne javanica on chacoal rot disease of mungbean was studied on Uthong mungbean variety during rainy season (July-October) in 1992. Factorial experimental design with 4 replications was used in the experiment. Several comparisons were made among uninoculated and inoculated mungbean treatments e.g. with sclerotia alone before planting at 0.5 gm./1,000 ml. 50 il/pot, in sorghum medium alone at planting 10 gm./1,000 ml soil/pot, root knot nematode alone at 500, 1,500 and 3,000 larvae/1,000 ml. soil/pot, and sclerotia-nematode combinations at, the above mentioned rates of application. The results found no interaction between fungus and nematode 14 days after planting. However, there were interaction between fungus and nematode at 21 and 45 days after planting. Increasing of dieas infection rate and severe root knot symptom were also found in fungus-nematode inoculated mungbean treatments 21 and 45 days after planting, especially at the rate of 1,500 and 3,000 larvae/pot. The interaction between fungus and nematode was also found on number of pod/plant and seed weight/plant. More yield reduction was found in fungus-nematode combinations than fungus or nematode alone on tested mungbean.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-35-026
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2550/Prateang_Sahawong/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C_%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ระหว่าง Macrophomina Phaseoli และ Mcloi dogyne javanica ต่อโรคโคนเน่าดำของถั่วเขียว
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2537
เอกสารแนบ 1
ตำแหน่งและการถ่ายทอดของเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ เชื้อรา Macrophomina phaseolina ที่ติดมากับเมล็ดถั่วเขียวและถั่วเขียวผิวดำ : ผลต่อความงอกและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เจ้าพ่อทัพ: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้าและชุมชน กึ่งกรุปของการแปลงที่รักษาความสัมพันธ์ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับประสิทธิภาพของความต้านทานการลื่นไถลของผิวทาง การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์กับลักษณะสีขนของไก่พื้นเมืองไทยในจังหวัดพิษณุโลก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของพืชสกุล Curcuma (Zingiberaceae) ด้วยลำดับดีเอ็นเอในนิวเคลียส การเกิดอาการแพนิคกับประวัติการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะกัญชาความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ผลของการใช้น้ำร้อนต่อเชื้อรา Macrophomina phaseolina และความงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นในตนเองของนิสิตพยาบาลที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก