สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในกระชังในเขื่อลำนางรองด้วยอาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระดับ
ทิพย์สุดา ต่างประโคน - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในกระชังในเขื่อลำนางรองด้วยอาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระดับ
ชื่อเรื่อง (EN): Cage Culture of All -Male Tilapia in Lam-Nang-Rong Reservoir with Three Different Protein Levels Diets
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิพย์สุดา ต่างประโคน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): All-Male Tilapia Cage culture Protein Level
บทคัดย่อ: การทดลองเลี้ยงปลานิลเพศผู้ที่ได้รับการแปลงเพศโดยการใช้ฮอร์โมน ในกระชังด้วยอาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระดับ ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ปลานิลเพศผู้ขนาดน้ำหนัก เริ่มต้น 120.29 - 128.41 กรัม และความยาวเริ่มด้น 18.15 - 18.85 เซนติเมตร เลี้ยงในกระชังขนาด 2.30x2.75 x 2.50 เมตร (กระชังจมน้ำ 2.00 เมตร) ด้วยอัตราปล่อย 40 ตัว / ลูกบาศก์เมตร (510 ตัว/ กระชัง) จำนวน 9 กระชัง ให้ปลากินอาหารทดลอง 3 สูตร คือ สูตรที่ 1 เป็นอาหารที่เตรียมขึ้นเองโปรตีน 18.31% สูตรที่ 2 ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีน 20.60 % และสูตรที่ 3 เป็นอาหารที่เตรียมขึ้นเองโปรตีน 26.69 % ตามลำดับ ให้ปลากินอาหารจนอิ่ม เช้าเย็นวันละ 2 ครั้ง ทดลองเลี้ยงเป็นเวลา 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลาทดลองที่กินอาหารสูตรที่เตรียมขึ้นเองโปรตีน 26.69 % และ 18.31 % มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย ความยาวสุดท้ายเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (343.34 ±23.08, 322.89 + 64.06 กรัม และ 26.07 ± 0.94, 25.67 ± 0.60 เซนติเมตร) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับปลาที่กินอาหารโปรตีน 20.60 % (n = 0.05) (233.10 ± 30.14 กรัม และ 23.05 ± 0.20 เซนติเมตร) สำหรับน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ย พบว่าปลาที่กินอาหาร โปรตีน 26.69 % แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปลาที่กินอาหารโปรตีน 20.60 % ( n= 0.05) โดยมีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยเท่ากับ 223.05 ± 15.37 และ 107.49 ± 44.22 กรัม อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยเท่ากับ 1.17 ± 0.13 ละ 0.69± 0.27 % / วัน ตามลำดับ แต่ปลาที่กินอาหารโปรตีนทั้ง 2 ระดับมีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ย ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับปลาที่กินอาหารโปรตีน 18.31 % ที่มีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยเท่ากับ 194.43 ± 66.73 กรัม โสะอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยเท่ากับ 1.01 ±0.23 % /วัน ตามลำดับ สำหรับอัตราแลกเนื้อเฉลี่ยของปลาทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารโปรตีนทั้ง 3 ระดับ พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ (n = 0.05) เท่ากับ 3.43 ± 0.34, 3.98 ± 9.90 และ 2.35 ± 0.12 ตามลำดับ แต่มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีอัตราการรอตตายเฉลี่ยเท่ากับ 90.10 ± 4.83. 92.5 ±12.88 และ 87.25 ± 6.65 % ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประกอบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมดของแต่ละชุดการทดลอง พบว่าใช้ต้นทุนการผลิตเท่ากับ 4,018.96, 5,206.17 และ 3 ,554.90 บาท / กระชัง และมีจุดคุ้มทุนของราคาขายเท่ากับ 30 .54, 50,99 และ 23.27 บาท / กิโลกรัม ตามลำดับ จากผลการทดลองครั้งนี้ สรุปได้ว่า ชุดการทดลองที่เตรียมอาหารขึ้นเองที่มีระดับโปรตีน 26 69 % มีความเหมาะสมมากที่สุดในการเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในกระชังเมื่อพิจารณาทั้งในด้านอัตราการเจริญเติบโต และต้นทุนการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=197
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในกระชังในเขื่อลำนางรองด้วยอาหารที่มีโปรตีนต่างกัน 3 ระดับ
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2543
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาอีกงวัยรุ่น ผลของระดับโปรตีนและความถี่ในการให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแปลงเพศขนาดกลาง เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์ ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่ออัตราการเจริญเติบโตของแพะลูกผสม 50% เพศผู้ อายุ 1-2 ปี ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของแพะพื้นเมืองเพศผู้อายุ 1-2 ปี ระดับพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสังกะวาดเหลืองที่เลี้ยงในกระชัง ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารสำหรับปลากระดี่นาง ผลการให้อาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับโปรตีนสูงต่อการเจริญเติบโตปลากดเหลือง ผลของระดับโปรตีนในอาหาร ต่ออัตราการเจริญเติบโตสำหรับแพะพื้นเมือง เพศผู้ระยะ 3 เดือน – 1 ปี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก