สืบค้นงานวิจัย
ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830)
สมศรี งามวงศ์ชน - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830)
ชื่อเรื่อง (EN): Different Dietary Protein Levels on Growth Performance of Basa catfish (Pangasius bocourtir Sauvage, 1880)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมศรี งามวงศ์ชน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการเจริญเติบโตของปลาโมงที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 15, 20, 25, 30, 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ อาหารทุกสูตรมีพลังงานที่ย่อยได้ 300 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม โดยปลาโมงมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 116.52 ± 0.02 กรัม เลี้ยงปลาทดลองในตู้กระจกขนาด 50 x 100 x 47 เซนติเมตร จำนวน 3 ตัวต่อตู้ ให้อาหารปลากินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการทดลองพบว่า ปลาโมงที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 25, 30, 35 และ 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม น้ำหนักเพิ่มต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่ามากกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อนำข้อมูลอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและอัตราแลกเนื้อไปหาความสัมพันธ์กับระดับโปรตีนในอาหารด้วยวิธี quadratic regression พบว่าระดับโปรตีนในอาหารตั้งแต่ 32 - 39 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและอัตราแลกเนื้อสูงที่สุด ส่วนค่าประสิทธิภาพของโปรตีนมีแนวใน้มลดลงเมื่อระดับของโปรตีนในอาหารเพิ่มขึ้น และโปรตีนที่เพิ่มขึ้นในตัวปลาลดลงเมื่อได้รับอาหารที่มีโปรตีนต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้แล้วอาหารที่มีโปรตีนสูงมีการปลดปล่อยสารประกอบไนโตรเนในน้ำที่ใช้เลี้ยงได้มากกว่าอาหารที่มีโปรตีนต่ำ ถึง 2 เท่า ดังนั้นระดับโปรตีนในอาหาร 25 เปอร์เซ็นต์ จึงเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของปลาโมงระยะวัยรุ่น (grow-out) มีประสิทธิภาพโปรตีนและ โปรตีนที่เพิ่มขึ้นในตัวปลาไม่น้อยกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงและยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงน้อยกว่าด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=146
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830)
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
ผลการให้อาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับโปรตีนสูงต่อการเจริญเติบโตปลากดเหลือง ผลของความหนาแน่นที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปลาโมง(Pangasius bocourti Sauvage,1880) ในกระชังในแม่น้ำโขง ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาโมงขนาดเล็ก การศึกษาการเสริมวิตามินซีในอาหารต่อการเจริญเติบโตประสิทธิภาพอาหารและอัตราการรอดของปลาโมง ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง อิทธิพลของอาหารธรรมชาติในบ่อที่มีต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของลูกปลาโมงในการอนุบาลด้วยอาหารเสริมและอาหารสำเร็จรูป ผลของระดับโปรตีนและพลังงานต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองลูกผสม ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่ออัตราการเจริญเติบโตของแพะลูกผสม 50% เพศผู้ อายุ 1-2 ปี ผลของวิธีการให้อาหารผสมเสร็จที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตชองโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของแพะลูกผสมแองโกลนูเบียน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก