สืบค้นงานวิจัย
การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
บุญยืน ดำสุทธิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญยืน ดำสุทธิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ วิธีการผลิตลำไย ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดู รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ประชากรศึกษา จำนวน 116 ราย เป็นเกษตรกรในพื้นที่อำเภอน้ำยืน และกิ่งอำเภอน้ำขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร นั้น เป็นเพศชายร้อยละ 93.10 มีอายุเฉลี่ย 52.3 ปี จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 86.20 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.08 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.44 มีรายได้สุทธิจากการทำสวนลำไยเฉลี่ย 121,163.79 บาท/ปี มีขนาดพื้นที่ถือรองทางการเกษตรเฉลี่ย 24.19 ไร่ มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 8.62 ไร่ มีพื้นที่ปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว เฉลี่ย 6.87 ไร่ และมีประสบการณ์ในการทำสวนลำไยเฉลี่ย 7.62 ปี วิธีการผลิตของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีการปฏิบัติในสวนลำไยในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยตามระยะการแตกใบออกดอกและติดผล (ร้อยละ 75.90) ด้านการเลือกพันธุ์ลำไยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและตลาดต้องการ (ร้อยละ 69.00) ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีตามขนาดและอายุของต้น (ร้อยละ 62.10) และด้านการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งฉีกขาด และกิ่งเป็นโรคทันทีหลังการเก็บเกี่ยว (ร้อยละ 50.90) ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ ด้านการตัดแต่งช่อดอกและผลให้มีปริมาณเหมาะสมยิ่งขึ้น (ร้อยละ 49.20) สำหรับด้านแหล่งความรู้ที่ช่วยในการตัดสินใจผลิตลำไยนอกฤดูนั้นส่วนใหญ่ได้มาจากผู้จำหน่ายสารเคมีร้อยละ 58.60 ส่วนสารเคมีที่ใช้ในการเร่งการออกดอกนั้น ร้อยละ 81.90 ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต และแหล่งที่มาของสารเคมีเร่งการออกดอกของลำไยส่วนใหญ่มาจากแหล่งอื่น ๆ (ผู้ค้าสารเคมีจากจังหวัดจันทบุรี) ร้อยละ 73.30 สำหรับวิธีการใช้สารเร่งการออกดอกร้อยละ 69.00 ใช้วิธีผสมทรายหว่านรอบชายพ่มร้อยละ 69.00 ส่วนความต้องการเทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรมีความต้องการมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านวิทยากรหลังการเก็บเกี่ยว (ร้อยละ 57.82) และ ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการเรื่องการผลิตลำไยนอกฤดู (ร้อยละ 48.30) มีความต้องการมาก 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตลำไย (ร้อยละ 60.30) ด้านการเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการออกดอก (ร้อยละ 52.60) และด้านข่าวสารข้อมูลการผลิตและการตลาด (ร้อยละ 50.90) มีความต้องการปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการเตรียมสภาพต้นให้พร้อมเพื่อการติดผล (ร้อยละ 50.90) ปัญหาหรือข้อจำกัดในการตัดสินใจผลิตและข้อเสนอแนะของเกษตรกรด้านการผลิตเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการนั้น พบว่าเกษตรกรมีปัญหาในระดับมากที่สุด 1 ประเด็น คือ ขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจกำหนดการผลิต (ร้อยละ 47.40) มีปัญหาในระดับมาก 2 ประเด็น คือ ขาดความรู้ในด้านการ ป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูลำไย (ร้อยละ 53.40) ขาดเทคโนโลยีการผลิตและปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม (ร้อยละ 51.70) มีปัญหาในระดับน้อย 1 ประเด็น คือ การขาดความรู้เกี่ยวกับสภาพดินและการจัดการที่เหมาะสม (ร้อยละ 43.20) และไม่มีปัญหา 1 ประเด็น คือ การขาดแคลนน้ำและโครงสร้างพื้นฐานด้านการชลประทาน (ร้อยละ 87.10) ส่วนข้อเสนอแนะของเกษตรกรเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการ พบว่า เกษตรกรเห็นควรเปิดหลักสูตรอบรมให้ความรู้ในเรื่องการผลิตลำไยนอกฤดู ร้อยละ 74.13 และร้อยละ 45.68 เห็นควรให้มีการประกันราคาผลผลิตลำไยและเห็นควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะสารเคมีที่ใช้ในการเร่งดอก ร้อยละ 32.75 ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมและถ่ายทอดให้ความรู้ด้านการผลิตลำไยนอกฤดูแก่เกษตรกรผู้ปลูกลำไยของจังหวัดอุบลราชธานีให้มีความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อทำการผลิต ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการถ่ายทอดความรู้ และกิจกรรมฝึกอบรมรวมทั้งประโยชน์ในด้านการตลาดอีกด้วย และควรให้เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรได้กระตุ้นให้เกษตรกรเข้าใจและทำการผลิตลำไยที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/149097
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุบลราชธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การใช้เทคโนโลยีการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดตาก การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การทดสอบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารและการจัดการทรงพุ่มในระดับแปลงเกษตรกรเพื่อประสิทธิภาพการผลิตลำไยนอกฤดู โครงการวิจัยการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดู การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพการผลิตปอแก้วของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก