สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน
ธงชัย สถาพรวรศักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธงชัย สถาพรวรศักดิ์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน โดยการศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูล เอกสาร รายงาน การวิจัย และสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องในระหว่างปี 2535-2544 และศึกษาจากนักวิชาการเกษตรที่รับผิดชอบงานพืชผักประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด จำนวน 66 คน จาก 66 จังหวัด และข้อมูลการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าของกลุ่มเกษตรกรจำนวน 1,554 กลุ่ม จาก 45 จังหวัด ในระหว่างเดือนตุลาคม 2543 ถึงเดือนกันยายน 2544 โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างแบบชนิดไม่เจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่ามัชฌิมเลขคณิต ผลการศึกษาพบว่า นักวิชาการเกษตรมีอายุรับราชการมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 81.82 โดยสถานที่ทำงานกระจายอยู่ทั่วทุกภาค ส่วนใหญ่มีการปลูกผักพื้นบ้านเชิงการค้าในจังหวัดที่ตนเองรับผิดชอบคิดเป็นร้อยละ 75.75 โดยมีชนิดผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพสามารถผลิตในเชิงการค้าจำนวน 40 ชนิด และมีความคิดเห็นว่าควรมีการส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านเชิงการค้า คิดเป็นร้อยละ 95.45 เหตุผลเนื่องจากคนนิยมบริโภค ตลาดมีความต้องการสูง ปลูกง่าย ราคาดีและรายได้ดี โดยเห็นว่าควรจัดทำแปลงส่งเสริมการผลิตคิดเป็นร้อยละ 56.06 รองลงไปเห็นว่าควรจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ แปลงทดสอบสาธิต การประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้และจัดพิมพ์เอกสารวิชาการ สำหรับปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าภายในจังหวัดที่ตนเองรับผิดชอบ ได้แก่ การขาดเทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านที่เกษตรกรที่ผลิตอยู่เดิมแล้ว รองลงไปได้แก่ เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องมีน้อย ขาดบุคลากรที่มีความรู้จริงเกี่ยวกับผักพื้นบ้าน ขาดการส่งเสริมการผลิตและรณรงค์การบริโภคอย่างต่อเนื่อง ตลาดมีจำกัด/แคบ เนื่องจากคนไม่รู้จักบริโภค ผลผลิตน้อยและไม่ต่อเนื่อง ทำให้การทำตลาดยาก และบางชนิดให้ผลตอบแทนช้าทำให้เกษตรกรไม่นิยมปลูก สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการผลิตผักพื้นบ้านเขิงการค้าได้แก่ ของบประมาณเพื่อจัดทำโครงการ รองลงไปได้แก่ การสำรวจวิเคราะห์ผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพเชิงการค้า รณรงค์การบริโภคสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต จัดหาตลาดผักพื้นบ้านและจัดทำแปลงสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักพื้นบ้านเชิงการค้าส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 87.70 มีพื้นที่ปลูกผักพื้นบ้านอยู่ระหว่าง 0-50ไร่ พื้นที่ปลูกผักพื้นบ้านเชิงการค้าเฉลี่ยเท่ากับ 19.97 ไร่ต่อกลุ่มมีจำนวนชนิดผักพื้นบ้านที่จัดเป็นพืชหลักของหมู่บ้าน(กลุ่ม) จำนวน 66 ชนิด ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 63.83 นำผลผลิตไปขายเองในรูปผักสด ไม่มีการแปรรูปผลผลิตและไม่มีการจำหน่ายพันธุ์ ด้านปัญหาอุปสรรคพบว่าปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากตลาดมีค่อนข้างจำกัดรองลงไปได้แก่บางช่วงราคาถูก/ราคาตก ขาดเทคโนโลยีการผลิตขาดข้อมูลในการช่วยตัดสินใจในการผลิต บางชนิดหาซื้อพันธุ์ยาก โรค-แมลง ระบาดในบางช่วง ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงและคนไม่รู้จักบริโภคทำให้ขายยาก สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกผักพื้นบ้านเชิงการค้า เกษตรกรขอให้ช่วยจัดหาตลาดรองรับผลผลิต รองลงไปได้แก่ ขอสนับสนุนปัจจัยการผลิต การประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด ขอการสนับสนุนเอกสารวิชาการ ขอคำแนะนำด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้านเทคโนโลยีการผลิตและด้านการแปรรูป สำหรับแนวทางการพัฒนาผักพื้นบ้านสามารถสรุปได้เป็น 2 แนวทาง คือ 1.การพัฒนาในเชิงอนุรัษ์การพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ต้องมีการดำเนินการใน 2 ด้านคือ 1.1 การอนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ 1.2 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.การพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ การพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจต้องมีการดำเนินการใน 2 ด้านคือ 2.1 ด้านการผลิต 2.2 ด้านการตลาด ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสามารถสรุปได้ 4 ส่วนคือ1.ภาครัฐ รัฐควรมีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทดสอบ และส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการผลิตผักพื้นบ้านทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อการอนุรัษ์และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในพื้นที่ 2. ภาคเกษตรกร เกษตรกรควรมีการถ่ายทอดวิชาความรู้การผลิตผักพื้นบ้าน การขยายพันธุ์ ผักพื้นบ้านพันธุ์ดี หายาก การเก็บรักษา วิธีการบริโภคเผยแพร่แก่คนข้างเคียงและผู้สนใจเพื่อการอนุรัษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบทอดถึงลูกหลาน รวมทั้งให้ความร่วมมือและสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินการจัดทำโครงการผักพื้นบ้านอย่างเต็มความสามารถ 3.ภาคนักวิชาการและนักส่งเสริม นักวิชาการและนักส่งเสริมการเกษตรควรทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบทั้งเทคโนโลยีการผลิต การตลาด การแปรรูป วิธีการปรุงอาหาร และการบริโภค เพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปในรูปแบบต่างๆรวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการตลาด 4.ภาคเอกชน/ภาครัฐ ภาคเอกชนโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องทางด้านพันธุ์พืชควรให้ความสนใจจัดตั้งงบประมาณบางส่วนในการสนับสนุนงานวิจัย หรือเพื่อการศึกษาทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพ การปรับปรุงสายพันธุ์ผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดเพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกรที่เป็นลูกค้าและผู้สนใจโดยทั่วไป ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังได้กล่าวมาแล้วควรเร่งรีบดำเนินการเพื่อการพัฒนาผักพื้นบ้านไทย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: เดือนตุลาคม 2543 ถึงเดือนกันยายน 2544
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2544
สภาพการผลิตและการตลาดขมิ้นชัน สภาพการผลิตและการตลาดผักของเกษตรกรในจังหวัดสตูล ปี 2548 ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ สภาพการผลิตและการตลาดผักของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผักในจังหวัดสงขลา ปี 2548 การศึกษาการผลิต การตลาด ชาอินทรีย์และชาทั่วไป ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตผักพื้นบ้านเพื่อการค้าของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตผักพื้นบ้านเชิงการค้าในภาคใต้ สภาพการผลิตและการตลาดทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก