สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาพฤติกรรมฝนในประเทศไทย
วราวุธ ขันติยานันท์ - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาพฤติกรรมฝนในประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราวุธ ขันติยานันท์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง "การศึกษาพฤติกรรมฝนในประเทศไทย กรณีศึกษา : ภาคใต้ตอนบนและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของการเกิดฝนในประเทศไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลจากผลการตรวจอากาศชั้นบนและผลการตรวจกลุ่มฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ และข้อมูลทางสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการ ตัดสินใจวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ ประสบภัยแล้ง ในการศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลผลการตรวจอากาศชั้นบนและข้อมูลเรดาร์ตรวจกลุ่มฝนจากพื้นที่ศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 จัดทำเป็น ฐานข้อมูลและตรวจสอบคุณภาพแบะความถูกต้องของข้อมูล จากนั้นทำการวิเคราะห์โดยคำนวณผ่านโปรแกรม Sounde2 หรือโปรแกรม GPCM ผลการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างง่ายของตัวแปรทั้งหมดรวม 64 ตัวแปร พบว่า มีค่าความสัมพันธ์ไม่สูงมาก โดยกลุ่มตัวแปรที่มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ 0.5 แต่น้อยกว่า 0.7 อยู่ในกลุ่มตัวแปร ความชื้น และภาคใต้ตอนบนมีจำนวนคู่ของความสัมพันธ์มากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เรดาร์พบว่าการเกิด Fist Echo ส่วนใหญ่พบในช่วงเช้าระหว่าง 07:00-09:00 น่. และมีจำนวนครั้งในการเกิดค่อนข้างสูง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ส่วนจำนวนกลุ่มฝน ความแรงของฝนและความยาวนานของการตกของ ฝน มีค่าอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกันในสองพื้นที่ศึกษา สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลตรวจอากาศชั้นบนซึ่งมี 4 กลุ่มหลักๆ พบว่า 1) ข้อมูลกลุ่มอุณหภูมิ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ทั้งอุณหภูมิผิวพื้นและอุณหภูมิในการเกิดเมฆ แต่อุณหภูมิ ที่ระดับฐานเมฆของภาคใต้ตอนบนจะมีค่าต่ำกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2-3 C 2) ข้อมูลกลุ่มความชื้น ของพื้นที่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีค่าความชื้นสูงกว่าภาคใต้ตอนบนเล็กน้อย และพบว่าในระดับความสูงตั้งแต่ 20,000 ฟุต ขึ้นไป จะมีความชื้นต่ำมาก และต่ำกว่า 10% เป็นบางวันในช่วงต้นปีถึงเดือนพฤษภาคม 3) ข้อมูลกลุ่มทิศทางและความเร็ว ลม โดยส่วนใหญ่ทั้งสองพื้นที่ศึกษามีทิศทางลมค่อนข้างแน่ทิศตามฤดูกาลในระดับความสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต และ 4) ข้อมูลกลุ่มดัชนีการทรงตัวของบรรยากาศและค่าการพยากรณ์ ดัชนีการยกตัวของอากาศในภาคใต้มีค่าเป็นบวกค่อนข้าง สูงมาก แสดงถึงความมีเสถียรภาพของบรรยากาศ สำหรับดัชนีของโอกาสการเกิดฝนฟ้าคะนอง ได้แก่ KI และ Sw พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคำดัชนีดังกล่าวสูงกว่าภาคใต้ตอนบน และมีโอกาสการเกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรงได้มากกว่า โดยพบว่าจำนวนดวามถี่ของการมีค่ KI ที่สูงมากกว่า 35 ได้เกือบทุกเดือน ส่วนค่า Swใ ในพื้นที่ศึกษาทั้งสองมีคำไม่สูงมาก ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบ และเกณต์ดารตัดสินใจวางแผนการปฏิบัติการฝน หลวงเพื่อให้เกิดประโยช ให้ได้ผลของการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด สามารถบรรลุจุดประสงค์ของการปฏิบัติการทำฝนช่วยเหลือ พื้นที่แห้งแล้งให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://164.115.23.116:8060/Frontend/download?DocumentID=28&fileIndex=0&originalFileName=07%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาพฤติกรรมฝนในประเทศไทย
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2555
เอกสารแนบ 1
การศึกษาสภาพตลาดนัดโค กระบือ ในประเทศไทย การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัสAvian Influenza A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย เกษตรอินทรีย์และมาตรฐานการส่งออกของประเทศไทย การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย ความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการประกันภัยพืชผลในประเทศไทย การศึกษาสถานการณ์การผลิตยางแผ่นของประเทศไทย ปี 2530 KM ในประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต หญ้าพืชอาหารสัตว์สำหรับประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์เพื่อการส่งออกไม้ยางพาราของประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก