สืบค้นงานวิจัย
ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร
วรรณเพ็ญ เกตุกล่ำ, สุภัทรา อุไรวรรณ์, คงภพ อำพลศักดิ์, ภูวนัย ชัยศรี, ศิริพร จีนหมิก - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Testing on Growth of the 2nd Back Cross Tilapia Hybrid in Aquaculture Genetics Research Center and Farm
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดลองเลี้ยงเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 1 และปลานิลจิตรลดา 3 ดำเนินการ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2554 ทำการเพาะพันธุ์ปลาที่ใช้ในการทดลองจากพ่อแม่พันธุ์ปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 1 (ปลาลูกผสมระหว่างปลานิลจิตรลดา 3 กับปลาหมอเทศ ? ปลานิลจิตรลดา 3) จำนวน 2 แบบการผสม และจากพ่อแม่พันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 รวม นำพันธุ์ปลาแต่ละแบบการผสมแยกลงเลี้ยงในกระชังขนาด 5 ตารางเมตร แบบการผสมละ 3 ซ้ำ โดยแขวนในบ่อคอนกรีตขนาด 50 ตารางเมตร จำนวน 1 บ่อ เลี้ยงเป็นระยะเวลา 133 วัน ที่ระดับความเค็ม 20 ppt เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 1 ทั้ง 2 แบบการผสม และปลานิลจิตรลดา 3 มีการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก ความยาว อัตราการเพิ่มน้ำหนักต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตรารอดตาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05) ทดลองเลี้ยงเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ปลานิลจิตรลดา 3 และปลาหมอเทศ ดำเนินการในฟาร์มเกษตรกร ณ ตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2555 ทำการเพาะพันธุ์ปลาที่ใช้ในการทดลองจากพ่อแม่พันธุ์ปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 (ปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 1 ? ปลานิลจิตรลดา 3) จำนวน 2 แบบการผสม, ปลานิลจิตรลดา 3 และปลาหมอเทศ รวม 4 แบบการผสม นำพันธุ์ปลาแต่ละแบบการผสมที่มีอายุและขนาดใกล้เคียงกันลงเลี้ยงในกระชังขนาด 2 ตารางเมตร แบบการผสมละ 3 ซ้ำ โดยแขวนในบ่อดินขนาด 800 ตารางเมตรจำนวน 1 บ่อ เลี้ยงเป็นระยะเวลา 174 วัน ที่ระดับความเค็ม 20-35 ppt เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ทั้ง 2 แบบการผสม และปลานิลจิตรลดา 3 มีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนัก ความยาว อัตราการเพิ่มน้ำหนัก๖อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตรารอดตาย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05) แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กับปลาหมอเทศ โดยที่ปลาหมอเทศจะมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่า แต่มีอัตรารอดตายสูงกว่าปลาทั้ง 3 แบบการผสม จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลด้วยการผสมแบบเหนี่ยวนำกับปลาหมอเทศ โดยนำมาผสมกลับกับปลานิลจิตรลดา 3 จำนวน 2 รุ่น ทำให้ได้พันธุ์ปลานิลที่มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากปลานิลจิตรลดา 3 พันธุ์เดิม แต่ไม่ได้มีลักษณะทนต่อการเปลี่ยนแปลงต่อความเค็มเท่ากับปลาหมอเทศ จึงเห็นควรศึกษาหาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลที่มีการเจริญเติบโตดี และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มต่อไป คำสำคัญ: ปลานิล การเจริญเติบโต ปลาลูกผสมกลับ
บทคัดย่อ (EN): A study of the growth comparison among two combinations of the 1st back cross tilapia hybrid (BC-1(J-JM) and BC-1(MJ-J)) and Chitralada 3 tilapia (Oreochromis niloticus) has been carried out in Phetchaburi Aquaculture Genetics Research and Development Center during March to July 2011. This experiment compared the culture performance of three crosses of tilapia with fish grown for 133 days in cages within concrete tank (50 m2) with three replicates cages of each cross held in brackish water (20 ppt). The results show that the mean body weight, average body length, average daily growth rate (ADG), specific growth rate (SGR) and survival rate of the two crosses of 1st backcross tilapia and Chitralada 3 Tilapia were no significance difference between crosses. A study of the growth comparison among two combinations of the 2nd backcross tilapia hybrid (BC-2(J-BC1(J-JM))) and BC-2(BC-1(MJ-J)-J), Chitralada 3 tilapia and Mozambique tilapia (Oreochromis mossambicus) has been carried out in Laem Phak Bia District private farm during March to August 2012. This experiment compared the culture performance of four crosses of tilapia in cages within earthen pond (800 m2) with three replicate was done in brackish water (20-35 ppt). After 174 days of experiment, it showed that the averge of body weight, body length, daily growth rate (ADG), specific growth rate (SGR) and survival rate of the two crosses of 2nd backcross tilapia and Chitralada 3 tilapia were no significance difference between crosses but all of them were significant difference with Mozambique tilapia. The survival rate of Mozambique tilapia was higher than other crosses. The results indicated that the performances of the improved tilapia for two generations of introductory cross with Mozambique tilapia were not superior to Chitralada 3 Tilapia. The implication for development of tilapia for brackish water aquaculture was to be continued. Keyword: Tilapia, backcross, growth
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1) การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลจิตรลดา การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม ผลของการผสมเหนี่ยวนำสายพันธุ์ต่อรูปร่างของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ปลานิลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ผลของการใช้แลคโตบาซิลลัสและมันเทศต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบเลือดของปลานิล การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลแดงสายพันธุ์อุตรดิตถ์ เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก