สืบค้นงานวิจัย
ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย
อารมณ์ โรจน์สุจิตร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Assessment on Economic Loss of Rubber Production Causing from White Root Disease (Rigidoporus microporus) in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อารมณ์ โรจน์สุจิตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรครากขาวของยางพารา สาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporus พบแพร่ระบาดและทำความเสียหายแก่พื้นที่ปลูกยางทั่วไป สามารถพบต้นยางเป็นโรคได้ตั้งแต่ 1-2 ปีแรกปลูก ทำให้ต้นที่เป็นโรคยืนต้นตายและเป็นแหล่งเชื้อแพร่กระจายแก่ต้นยางข้างเคียงทั้งในแถวและระหว่างแถวต่อไป ทำให้จำนวนต้นยางและผลผลิต/ไร่ลดลง การสำรวจและประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาวในพื้นที่ปลูกยางความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาวในพื้นที่ปลูกยางในปี 2551-2553 แบ่งเป็นศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่างและภาคตะวันออก โดยวิธีการสุ่มเก็บข้อมูลในสวนยางที่พบโรค ด้วยวิธี purposive sampling observation พบว่าพื้นที่ปลูกยางภาคใต้มีการระบาดของโรครากขาวกระจายในทุกพื้นที่ ทำความเสียหายแก่แปลงยางที่เป็นโรคร้อยละ 3.4-3.5 ส่วนในภาคตะวันออกพบน้อยมากทำความเสียหายแก่แปลงยางที่เป็นโรคร้อยละ 0.05-0.8 ใน จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ผลการศึกษาตามภูมิภาคมีดังนี้ 1)ศึกษาสวนยางที่เป็นโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนทั้งหมด 3,340 แปลงพื้นที่ 56,296 ไร่ พบโรครากขาว โรครากน้ำตาล และโรครากแดง เป็นจำนวนสวนยางร้อยละ 94.82, 5.15 และ 0.134 มีพื้นที่เสียหายทั้งหมด 1,960 ไร่ หรือร้อย 3.48 แบ่งเป็นพื้นที่เสียหายจากโรครากขาว 1,929 ไร่หรือร้อยละ 3.43 ของพื้นที่สวนยางที่พบโรค นอกนั้นเป็นโรครากน้ำตาลและรากแดง ร้อยละ 0.054 และ 0.0035 ตามลำดับ โดยพื้นที่สวนยางใน จ. นครศรีธรรมราช มีความเสียหายจากโรครากขาวต่อพื้นที่มากที่สุดร้อยละ 4.45 รองลงมาตามลำดับ คือพื้นที่ จ. กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา ระนอง และ จ. ภูเก็ต มีความเสียหายต่อพื้นที่ร้อยละ 4.15, 3.81, 3.08, 3.02, 1.91 และ 1.56 สวนยางที่พบเป็นโรครากขาวมีอายุเฉลี่ย 13 ปี มีความเสียหายและมีบริเวณที่เป็นโรคเฉลี่ย 0.61 ไร่ และ 2.13 บริเวณต่อแปลง ความเสียหายของต้นยางในแต่ละบริเวณที่เป็นโรค(Y)ในภาพรวมทั้งภูมิภาคจะมากขึ้นตามอายุสวนยาง(X) ดังสมการเลขยกกำลัง Y = 1.493X1.026 (r2 = 0.983) เมื่อวิเคราะห์เป็นพื้นที่ปลูกยางของภาคใต้ตอนบนทั้งหมด จะพบว่าช่วงปี 2551-2553 มีพื้นที่เสียหายจากโรครากขาวประมาณ 31,413 ไร่ หรือคิดความเสียหายต่อพื้นที่ปลูกร้อยละ 0.57 คิดเป็นมูลค่าผลผลิตยางที่สูญเสียประมาณ 848 ล้านบาท หากไม่มีการจัดการโรคในอีก 10 ปีเมื่อถึงเวลาโค่น คาดว่าจะมีพื้นที่เป็นโรคมากขึ้นถึง 113,726 ไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิตสะสม 10 ปีไม่ต่ำกว่า 19,257 ล้านบาท และมูลค่าไม้ยางที่หายไปอีกประมาณ 5,200 ล้านบาท รวมมูลค่าที่สูญหายมากถึง 24,500 ล้านบาท 2)ศึกษาสวนยางเป็นโรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จ. สงขลา สตูล พัทลุง และตรัง จำนวน 392 แปลง เป็นพื้นที่เสียหายจากโรครากขาว รากน้ำตาล และรากแดงคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 3.41, 0.43 และ 0.43 ของพื้นที่สำรวจ โดย จ.พัทลุง พบสวนยางเป็นโรครากขาวรุนแรงมากถึงร้อยละ 8.97 ของพื้นที่สวนยางที่พบโรคราก และ 3)สวนยางเป็นโรคในพื้นที่ปลูกยางภาคตะวันออก 10,998 ไร่ พบโรครากขาวและโรครากน้ำตาล มีพื้นที่เสียหายเนื่องจากโรครากขาวใน จ.ระยอง จันทบุรี และตราด 41, 2.5 และ 1.87 ไร่คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 0.8, 0.05 และ 0.22 ของพื้นที่ที่สำรวจ ตามลำดับ โดย จ. ชลบุรี และฉะเชิงเทราไม่พบโรค หากรวมความเสียหายจากโรครากขาวในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ของประเทศไทยทั้งหมดในปี 2551-2553 คาดว่ามีความเสียหายเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,600 ล้านบาท และภายใน 10 ปีคาดว่าประเทศไทยจะสูญเสียรายได้จากยางพาราไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=948
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจของยางพาราสาเหตุจากโรครากขาว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย
การยางแห่งประเทศไทย
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากโรครากขาวในยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ศักยภาพของแม่ปุ๋ยบางชนิดต่อการยับยั้งและป้องกันการเกิดโรครากขาวของยางพารา สาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporus ในยางปลูกใหม่ กลุ่มวิจัยยางพารา การรวบรวมและศึกษาแหล่งเกิดโรครากขาวของยางพาราในเขตปลูกยางภาคใต้ การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation พืชร่วมยางที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อราโรครากขาวของยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg) วิธีการใช้สารเคมีในการรักษาโรครากขาวของยางพารา การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก