สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาคม จงอริยตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อาคม จงอริยตระกูล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ สภาพ การผลิตและปัญหาในการปลูกนุ่น การใช้ประโยชน์จากนุ่นและความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการใช้ผลิตภัณฑ์จากนุ่น และเปรียบระดับปัญหาในการผลิตนุ่นกับลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกนุ่น 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 385 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากตัวอย่างที่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.3 และเพศหญิง ร้อยละ 39.7 มีอายุเฉลี่ย 50.2 ปี ส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.1 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.6 คน ประมาณ 2/3 ของเกษตรกรเป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำนามีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 25.1 ไร่/ราย มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 31,830.91 บาท/ครัวเรือน/ปี มีรายได้นอกภาคเกษตร เฉลี่ย 20,496.10 บาท/ครัวเรือน/ปี เกษตรกรที่ทำการศึกษาทุกรายได้ใช้เงินทุนของตนเองในการลงทุนปลูกนุ่น เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกนุ่นเพราะคิดว่าจะนำผลผลิตไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่เคยไดรับการอบรมมาก่อน ปลูกนุ่นในพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่/ราย และเคยปลูกนุ่นมาแล้วเป็นเวลาเฉลี่ย ประมาณ 10 ปี โดยใช้นุ่นพันธุ์ทรงฉัตร ร้อยละ 53.8 เกษตรกรร้อยละ 53.8 เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกนุ่นโดยใช้ต้นกล้า และเกษตรกรประมาณ ? มีการปลูกพืชสวนแซมนุ่น และไม่มีการป้องกันกำจัดวัชพืช ประมาณ 1/3 ของเกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มผลผลิตนุ่นได้ผลผลิตปุยนุ่นเฉลี่ย 23.95 กก./ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทำลาย โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกันกำจัด เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตในลักษณะฝักแห้ง นุ่นกะเทาะเปลือก ปุยนุ่น และแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยมีพ่อค้ามารับซื้อในหมูบ้าน และจำหน่ายที่อื่น ๆ เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งเคยได้รับการติดตามให้คำแนะนำเรื่องการปลูกนุ่นจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการปลูกนุ่น มีเพียงปัญหาระดับน้อย 7 ประเด็นเท่านั้น ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วม โรคแมลงศัตรูระบาด ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ราคาผลผลิตต่ำ ขาดความรู้เรื่องการปลูก ขาดเงินทุนในการปลูกนุ่น และปัญหาเรื่องวัชพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการแปรรูปผลผลิตนุ่นเป็นผลิตภัณฑ์ มากกว่า 2 ชนิดรองลงมาคือ ที่นอนและหมอน เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากปุยนุ่นเพียงอย่างเดียว และส่วนอื่นๆ บ้างเล็กน้อย เกษตรกรมีความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนุ่นมีอายุการใช้งานได้เฉลี่ย 7 ปี เกษตรกรส่วนมากยังเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปุยนุ่นช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้มากกว่า และมีคุณภาพดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ แต่เกษตรกรประมาณ 2/3 เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปุยนุ่นดูแลรักษายากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ เกษตรกรประมาณร้อยละ 50 มีความคิดเห็นว่าจะไม่ขยายพื้นที่ปลูกในปีต่อไป ส่วนที่เหลือจะขยายพื้นที่ปลูกในปีต่อไป และบางส่วนจะลดพื้นที่ปลูกลง นอกจากนี้เกษตรกรร้อยละ 53.5 คิดว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปุยนุ่น เมื่อใช้ไปเฉลี่ย 5.3 ปี จะเกิดไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ จากการศึกษาเปรียบเทียบระดับปัญหาด้านต่าง ๆในการปลูกนุ่น พบว่าเกษตรกรที่มีอายุน้อยกว่า 46 ปี และมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีระดับปัญหาในด้านต่างๆ สูงกว่าเกษตรกรที่มีอายุ 46-55 ปี เกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกนุ่น น้อยกว่า 6 ปี และ 6-10 ปี มีแนวโน้มที่จะมีระดับปัญหาในด้านต่าง ๆ สูงกว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกนุ่นมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เกษตรที่มีขนาดพื้นที่ปลูกน้อยกว่า 0.6 ไร่ และมากกว่า 1 ไร่ขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีระดับปัญหาในด้านต่าง ๆ สูงกว่าเกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่ปลูกนุ่น 0.6-1 ไร่ และเกษตรกรที่ไม่เคยได้รับการติดตามงานจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีระดับปัญหาในด้านต่าง ๆในการปลูกนุ่นสูงกว่าเกษตรกรที่เคยได้รับการติดตามงาน ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกนุ่นพันธุ์ทรงฉัตรทดแทนพันธุ์เดิม มีการกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยคอกเพิ่มผลผลิต ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่อง การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาว และเรื่องอันตรายจากไรฝุ่น เกษตรกรควรมีการรวบรวมผลผลิตจำหน่าย ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนุ่น ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆของนุ่น รณรงค์ส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนุ่นเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหากมีโอกาสควรเน้นส่งเสริมและให้ความรู้ในการปลูกนุ่นแก่เกษตรกรที่มีอายุน้อยกว่า 46 ปี เกษตรกรที่เคยปลุกนุ่นมาแล้วน้อยกว่า 6 ปี และเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกนุ่นน้อยกว่า 0.6 ไร่ เนื่องจากเกษตรทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นค่อนข้างมีปัญหาในการปลูกนุ่นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก