สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของวิธีการสกัดไขมันกระบกในอาหารต่อปริมาณน้ำนม องค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม
ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของวิธีการสกัดไขมันกระบกในอาหารต่อปริมาณน้ำนม องค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Krabok oil extraction methods on milk production, compositions and fatty acids in milk of dairy cows.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพวัลย์ ปัญญาแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการสกัดน้ำมันกระบก 2 วิธีเปรียบเทียบกับการให้กินกระบกสดบด ต่อการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ ปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบของน้ำนมในโคนม โดยทำการศึกษาในโคนมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเซียน จำนวน 15 ตัว ที่ให้น้ำนมระหว่าง 10-15 กิโลกรัมต่อวัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้ระดับสายเลือดของโคนมโฮสไตน์ฟรีเซียน ที่ระดับ มากกว่าหรือเท่ากับ 75 และ น้อยกว่า 75 เปอร์เซนต์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว ใช้เวลาทำการทดลอง 90 วัน ประกอบด้วย 3 กลุ่มทดลอง คือ 1) กระบกสดบด, 2) น้ำมันกระบกสกัดร้อน (เฮกเซน) และ 3) น้ำมันกระบกสกัดเย็น (หมัก) ที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารผสมครบส่วน โคนมทุกตัวได้รับอาหารและน้ำอย่างเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่า โคนมกลุ่มทดลองที่ 3 มีผลเพิ่มอัตราการกินได้ ปริมาณการกินได้ต่อน้ำหนักตัว และปริมาณการกินได้กรัมต่อน้ำหนักตัวเมทาบอลิซึม โภชนะโปรตีน อินทรียวัตถุ เยื่อใย NDF ADF และพลังงานที่ได้ (ME; Mcal/d) ที่โคนมได้รับมีค่าสูงที่สุด นอกจากนี้ ปริมาณน้ำนมเมื่อปรับที่ไขมัน 4 เปอร์เซ็นต์ในโคนมกลุ่มทดลองที่ 3 ยังมีปริมาณน้ำนมสูงที่สุด (14.8 กิโลกรัมต่อวัน) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าของกรดไขมันในน้ำนม luaric acid, (C12:0); myristic acid (C14:0) และ linolenic acid (C18:3 n3) สูงที่สุด แต่พบว่าปริมาณ CLA (linoleic acid (C18:2 c10t12) และ linoleic acid (C18:2 c9t11)) ในน้ำนมโคกลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าสูงที่สุด จากผลทั้งหมดสรุปได้ว่าน้ำมันกระบกที่ได้จากการหมัก (สกัดเย็น) มีผลต่อการเพิ่มการกินได้ โภชนะที่ได้รับและปริมาณน้ำนมในโคนมดีที่สุด เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนของโคนม
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของวิธีการสกัดไขมันกระบกในอาหารต่อปริมาณน้ำนม องค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันในน้ำนมของโคนม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
พันธุกรรมกับอาหารโคนม อิทธิพลของแหล่งไขมันในอาหารผสมครบส่วนต่อองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนม กรดลิโนเลอิก ชนิด คอนจูเกตในน้ำนม และจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนในโคนม ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิต และองค์ประกอบของน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเซียน ไขมันทรานส์ ภัยเงียบในอาหาร ผลของ Lactobacillus fermentum ต่อคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของอาหารผสมครบส่วนหมักที่ระยะการหมักต่างกัน สมบัติต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบทางเคมีจากน้ำสัมควันไม้ ผลการใช้ใบยอผงเป็นสารเสริมในอาหารต่อปริมาณการกินได้ และผลผลิตน้ำนมในโคนม การวิเคราะห์องค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมีของสารสกัดจากเมล็ดเจียที่ปลูกในประเทศไทย ผลของกลีเซอรีนดิบในอาหารต่อองค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำนมแพะสเตอริไลส์ระหว่างการเก็บ ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก