สืบค้นงานวิจัย
การทดลองเปรียบเทียบผลจับหมึกสายจากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุต่างกัน
วรรณไล ภู่แย้ม - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: การทดลองเปรียบเทียบผลจับหมึกสายจากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Comparative Experiment of Octopus Catch from Different Materials of Octopus Pot
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรรณไล ภู่แย้ม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wannalai Pooyam
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: การทดลองเปรียบเทียบผลจับหมึกสายจากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุต่างกัน 3 ชนิด คือ เปลือก หอยจุกพราหมณ์ พลาสติกรูปร่างคล้ายเปลือกหอย และกระบอกพีวีซี ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม ปี 2559 และระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน ปี 2559 บริเวณอ่าวเพ ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่าหมึกสายที่จับได้จากเครื่องมือลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุ 3 ชนิด มีเพียงชนิดเดียว คือ หมึกสายขาว (Amphioctopus aegina) โดยลอบหมึกสายที่ใช้เปลือกหอยจุกพราหมณ์ทำการประมง มีอัตรา การจับหมึกสายเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 0.10 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก รองลงมาคือ ลอบหมึกสายที่ทำจากพลาสติก รูปร่างคล้ายเปลือกหอย และลอบหมึกสายที่ทำจากกระบอกพีวีซี มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 0.09 และ 0.07 กิโลกรัม/ลอบ 10 ลูก ตามลำดับ โดยที่อัตราการจับหมึกสายขาวที่จับได้จากลอบที่ทำจากวัสดุ 3 ชนิด ไม่มี ความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ซึ่งหมึกสายขาวที่จับได้จากลอบเปลือกหอยจุกพราหมณ์ มีขนาดเฉลี่ย 4.48±1.54 เซนติเมตร เป็นหมึกสายขาวเพศผู้ และเพศเมียขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 5.01±1.01 และ 4.15±1.71 เซนติเมตร ส่วนหมึกสายขาวที่จับได้จากลอบพลาสติกรูปร่างคล้ายเปลือยหอยมีขนาดเฉลี่ย 5.08±1.66 เซนติเมตร เป็นหมึกสายขาวเพศผู้ และเพศเมียขนาดเฉลี่ย 5.66±1.14 และ 4.63±1.85 เซนติเมตร และ หมึกสายขาวที่จับได้จากลอบกระบอกพีวีซี มีขนาดเฉลี่ย 4.65±1.38 เซนติเมตร เป็นหมึกสายขาวเพศผู้ และ เพศเมียขนาดเฉลี่ย 5.42±1.13 และ 4.24±1.33 เซนติเมตร และเมื่อเปรียบเทียบขนาดความยาวเฉลี่ยของ หมึกสายขาวที่จับได้จากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุ 3 ชนิด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ซึ่งหมึกสายขาวที่จับได้จากลอบพลาสติกรูปร่างคล้ายเปลือยหอยมีขนาดความยาวมากกว่าหมึกสายขาวที่จับได้ จากลอบเปลือกหอยจุกพราหมณ์ (P<0.05) โดยหมึกสายขาวเพศผู้ที่จับได้จากลอบหมึกสายในทุกชนิดของวัสดุ ที่ทำลอบมีขนาดความยาวลำตัวเฉลี่ยมากกว่าหมึกสายเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05)
บทคัดย่อ (EN): Comparative Experiment on the catch of octopus from different octopus pots was conducted at Phe Bay, Phe Sub-dritrict, Muang District, Rayong Province in 23-26 August and 13-15 September 2016. Volute shells, shell-shaped plastics and PVC tubes were used for octopus pots in this experiment. The results showed that only white octopus, Amphioctopus aegina, was caught by all of those pots. The volute-shell pot showed the highest catch rate, 0.10 kg/10 pots, followed by shell-shaped plastic pot, 0.09 kg/10 pots, and PVC-tube pot, 0.07 kg/10 pots. There were no significant differences (p>0.05) of catch rates among the three types of the pots. The average length of white octopus caught by volute-shell pots was 4.48±1.54 cm, those of the males and females were 5.01±1.01 cm and 4.15±1.71 cm, respectively. The average length of white octopus caught by shell-shaped plastic pots was 5.08±1.66 cm, those of the males and females were 5.66±1.14 cm and 4.63±1.85 cm, respectively. The average length of white octopus caught by PVC-tube pots was 4.65±1.38 cm, those of the males and females were 5.42±1.13 cm and 4.24±1.33 cm, respectively. It was found that the white octopus caught by shell-shaped plastic pots were significantly longer than those caught by volute-shell pots (P<0.05). The male white octopus caught by all types of the pots were found longer than females significantly (P<0.05).
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 61-3-0205-61091
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://www.fisheries.go.th/marine/research/files/th/82562.pdf
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดระยอง
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: วันที่ 23-26 สิงหาคม ปี 2559 และระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน ปี 2559
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-26T09:13:19Z No. of bitstreams: 1 8-2562 การทดลองเปรียบเทียบผลจับหมึกสายจากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุต่างกัน วรรณไล.pdf: 671974 bytes, checksum: c3ee69a18282e37d937f73cd8d5f3c12 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดลองเปรียบเทียบผลจับหมึกสายจากลอบหมึกสายที่ทำจากวัสดุต่างกัน
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย การทำประมงลอบหมึกทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะการทำประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก การเปรียบเทียบผลผลิตหม่อนสายพันธุ์ต่างประเทศ การเปรียบเทียบขนาดของฮอร์โมน FSH ที่มีผลต่อการเพิ่มการตกไข่ จำนวนและคุณภาพตัวอ่อนในโคพื้นเมืองสายภาคอีสานและสายภาคกลาง เปรียบเทียบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ระหว่างตำบลหลักและกลุ่มตำบลบริวารในจังหวัดระยอง สารหนูกับหมึกแห้ง สารปรอทในหมึกแห้ง ความคิดเห็นของเจ้าของสวนยางสงเคราะห์ที่มีต่อหลักการปฏิบัติการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในจังหวัดระยอง
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก