สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้สารสกัดจากต้นขะจาวและหางไหลต่อการควบคุมเห็บในโคและขี้เรื้อนในสุนัข
เจริญ แสงดี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้สารสกัดจากต้นขะจาวและหางไหลต่อการควบคุมเห็บในโคและขี้เรื้อนในสุนัข
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Extract from Indian Elm (Holoptelea integrifolia Planch.) and Derris Elliptica (Derris elliptica(Roxb.) Benth) to Control Cattle Tick (Boophilus microplus) and Mange mite (Sarcoptes scabie, var canis)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เจริญ แสงดี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรรณดี แสงดี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยได้ดำเนินการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์หันตราและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ระหว่างเดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนเมษายน2556 โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการใช้สารสกัดจากขะจาวและหางไหลด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชนิดต่างๆ ต่อเห็บโคในห้องปฏิบัติการ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดในสภาพจริงโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือการใช้สารสกัดรักษาไรขี้เรื้อนในสุนัข 15 ตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และการใช้สารสกัดกำจัดเห็บโคในโคนม 15 ตัว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองที่ 1 พบว่า เอธานอล, เมธานอล, น้ำกลั่น และแอซีโตน เป็นตัวทำละลายที่ให้ปริมาณสารสกัดสูงกว่าการใช้ตัวทำละลายชนิดอื่นๆ แต่ในเปลือกขะจาวการใช้เมธานอลเป็นตัวทำละลายให้ปริมาณสารสกัดสูงกว่าการใช้เอธานอล ส่วนรากหางไหลพบว่าการใช้เอธานอลเป็นตัวทำละลายให้ปริมาณสารสกัดสูงกว่าการใช้เมธานอล ผลการทดลองที่ 2 พบว่าการใช้สารสกัดจากเปลือกขะจาวด้วยเมธานอลความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ และสารสกัดจากรากหางไหลด้วยเอธานอล 10 เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) ผลการทดลองที่ 3 ผลการทดสอบในสุนัขพบว่าการใช้สารสกัดจากรากหางไหลสดเข้มข้นมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้สารสกัดจากเปลือกขะจาวสดเข้มข้น และสารสกัดจากรากหางไหลด้วยเอธานอล 10เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ผลการทดสอบในเห็บโคพบว่าการใช้สารสกัดจากขะจาวสดเข้มข้น และสารสกัดจากรากหางไหลสดเข้มข้นมีผลทำให้อัตราการตายของเห็บโคแตกต่างกันกับการใช้ยาพ่นรักษาเห็บโคทางการค้า (ไซเพอร์เมธริน) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)แต่การใช้สารสกัดจากเปลือกขะจาวด้วยเมธานอลเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์และสารสกัดจากรากหางไหลด้วยเอธานอลเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ให้ประสิทธิภาพต่ากว่าการใช้ยาพ่นรักษาเห็บโคทางการค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)
บทคัดย่อ (EN): This research was conducted at Rajamangala University of TechnologySuvarnabhumi, Huntra and Rajamangala University of Technology Lanna, Lampang duringMarch 2012 though April 2013.The objectives were to study on application of Holopteleaintegrifolia (HI) and Derris elliptica (DE) extracts as optimal solvents, to study on efficiencyof various extracts against cattle ticks (Boophilus microplus)in the laboratory, and to studyon efficacy of the extracts in vivo. Two experiments were tried out: utilization of stem barkextracts of HI, and root extracts of DE, treated mange mite (Demodex canis) in 15 caninesfor 8 weeks, and to get rid of cattle ticks in 15 dairy cattle for 4 weeks. The results ofexperiment 1 showed that ethanol, methanol, distilled water, and acetone were bettersolvents than other solvents; methanol was better solvents than ethanol for HI while for DEethanol was better solvent than methanol. The results of experiment 2 were found thatutilization of 20 percent stem bark of methanolic extracts of Holoptelea integrifolia(SBMHI) and 10 percent roots of ethanolic extracts of Derris eliptica (REDE) were notsignificant statistical difference (p>0.05). The results of experiment 3 revealed thatutilization of roots of aqueous extracts of Derris eliptica (RADE) for mange mite treatmentwas better than stem bark of aqueous extracts of Holoptelea integrifolia (SBAHI) and 10percent REDE significant statistical difference (p<0.05). Furthermore, the results ofexperiment 3 revealed that SBAHI and RADE were not significant statistical differencewith commercial drug (cypermethrin) (p >0.05) but 20 percent SBMHI and 10 percentREDE were less effective than commercial drug significant statistical difference (p< 0.05)
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้สารสกัดจากต้นขะจาวและหางไหลต่อการควบคุมเห็บในโคและขี้เรื้อนในสุนัข
เจริญ แสงดี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
30 กันยายน 2555
การใช้วุ้นว่านหางจระเข้รักษาแผลฉีกขาดและโรคผิวหนังชนิดขี้เรื้อนเปียกในสุนัข: กรณีศึกษา ผลของการเสริมสารสกัดจากเปลือกทับทิมในน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อต่อคุณภาพของอสุจิโคแช่แข็ง ผลของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรต่อการยับยั้นการเจริญของเชื้อ Pythium insidiosum (คปก. ต่อยอด) การวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากว่านอึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระยะ ๔ ผลของสารสกัดจากเมล็ดและใบสบู่ดำในการควบคุมพยาธิภายนอกและพยาธิภายในของแพะ การศึกษาวิธีการควบคุมการติดผลและพัฒนาคุณภาพของผลลำไย การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบกฤษณาเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เสถียรภาพและควบคุมของระบบพลวัตแบบผสม(ไฮบริดจ์) และเป็นกลาง ผลของสารสกัดจากรากกระพังโหมต่อการเกิดเจลซูริมิจากปลาชะโด ผลของการใช้สาร pendimethalin ร่วมกับสารสกัดด้วยน้ำจากหญ้าโขย่งสำหรับการควบคุมวัชพืช ในข้าวโพดหวาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก