สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร
พุทธชาด ลีปายะคุณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พุทธชาด ลีปายะคุณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิตเส้นไหมพื้นบ้าน คุณภาพของเส้นไหมพื้นบ้าน และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการผลิตเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตไหมพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 98 ราย ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ และขอนแก่น ทำการสัมภาษณ์และเก็บตัวอย่างเส้นไหมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 94.89 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.61 ปี ร้อยละ 77.55 จบการศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบอาชีพการเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม มีพื้นที่เกษตรถือครองเฉลี่ย 20.38 ไร่ โดยร้อยละ 63.27 ไม่มีแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกหม่อนเฉลี่ย 1.14 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.86 ปลูกหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ในเรื่องการปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงหม่อน เกษตรกร ร้อยละ 98.98 มีการใส่ปุ๋ยในแปลงหม่อน โดยส่วนใหญ่ใส่อัตราต่ำกว่าคำแนะนำ เกษตรกร ร้อยละ 95.92 มีการตัดแต่งกิ่งหม่อน โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 82.98 ทำการตัดต่ำเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 98.98 มีการกำจัดวัชพืช ส่วนการให้น้ำและการคลุมดิน เกษตรกร ร้อยละ 87.76 และ 66.33 ตามลำดับไม่มีการดำเนินการ เกษตรกร ร้อยละ 85.71 พบโรคในแปลงหม่อน โดยผู้ที่พบโรคส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.71 พบ โรครากเน่า เกษตรกร ร้อยละ 91.84 พบแมลงศัตรูหม่อน โดยผู้ที่พบแมลงศัตรูหม่อนร้อยละ 72.22 พบ หนอนเจาะลำต้น ในเรื่องการเลี้ยงไหมเกษตรกร ร้อยละ 54.08 ไม่มีห้องเลี้ยงไหม พันธุ์ไหมที่เลี้ยง ร้อยละ 45.92 คือ พันธุ์นางน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.80 จะต่อพันธุ์ไหมเอง เกษตรกร ร้อยละ 88.78 พบการเกิดโรคของหนอนไหมที่เลี้ยง โดยผู้ที่พบโรคของหนอนไหม ร้อยละ 93.10 พบโรคเต้อ วิธีการปฏิบัติของเกษตรกรที่พบหนอนไหมเป็นโรค เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 82.76 เก็บทำลายไม่ถูกวิธี เกษตรกส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.90 พบการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูไหม โดยทุกรายที่พบจะพบแมลงวันลายเข้าทำลาย สำหรับการสาวไหม เกษตรกร ร้อยละ 80.62 จะทำการคัดเลือกรังไหมก่อนทำการสาว ร้อยละ 87.76 จะสาวด้วยพวงสาวแบบพื้นบ้านโดยวิธีสาวมือสาวไหมลงในกระบุงหรือตะกร้า และร้อยละ 64.29 จะใช้น้ำฝนในการสาวไหม เกษตรกรมีการพันเกลียวเส้นไหมขณะทำการสาว ระยะความยาวของเกลียวเฉลี่ย 6.47 เซนติเมตร เกษตรกรผลิตเส้นไหมเฉลี่ย 5.34 กิโลกรัมต่อปี ส่วนคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านชนิดไหมหนึ่งที่เกษตรกรผลิตมีขนาดเส้นไหมเฉลี่ย 268.47 ดีเนียร์ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของขนาดเส้นไหมเฉลี่ย 33.20 ดีเนียร์ มีขนาดเส้นรอบวงไจไหมเฉลี่ย 164.40 เซนติเมตร น้ำหนักไจไหมเฉลี่ย 127.75 กรัม และความสม่ำเสมอของเส้นไหมอยู่ในระดับดี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี การทดสอบคุณภาพเส้นไหมที่สาวได้ การทดสอบคุณภาพรังไหมของเกษตรกรในด้านการสาวไหม การทดสอบคุณภาพรังไหมของเกษตรกรในด้านการ สาวไหม สภาพการเลี้ยงไหมของเกษตรกรในอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย การสำรวจขนาดของรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมยืน การสำรวจขนาดของรังไหมที่ใช้ในการผลิตเส้นไหมพุ่ง การทดสอบคุณภาพรังไหมของเกษตรกรในปี 2526 ในด้านการสาวไหม เปรียบเทียบคุณภาพเส้นไหมที่ได้จากเครื่องสาวไหมพื้นบ้านและเครื่องสาวไหม ปรับปรุงชนิดเข้าเหล่ง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก