สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราและสารปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของพืชวงศ์พริก มะเขือเทศและแตง
รัติกาล ยุทธศิลป์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราและสารปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของพืชวงศ์พริก มะเขือเทศและแตง
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of Fungicides and Antibiotics to Inhibit the Growth of Economic Phytopathogenic Fungi and Bacteria in Solanaceous and Cucurbitaceouse Crop
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัติกาล ยุทธศิลป์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rattikan Yutthasin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Petcharat Thummabenjapone
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบสารกำจัดเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อคอลเลตโตตริกัม (Colletotrichum sp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก เชื้อฟิวซาเรี่ยม (Fusarium sp.) สาเหตุโรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยมของเมล่อน และเชื้อโฟมา คิวเคอบิตารัม (Phoma cucu-bitarum) สาเหตุโรคต้นแตกยางไหลของเมลอน โดยวิธี Poison Food Technique พบว่า กลุ่มสารที่มีฤทธิ์สัมผัส ได้แก่ แมนโคเซบและแคปแทน ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคที่สำคัญทั้งสามชนิดได้ดีที่สุด รองลงมาคือ คอบเปอร์ไฮดรอกไซด์ ส่วนสารบอร์โดมิกซ์เจอร์มีประสิทธิภาพต่ำสุดโดยควบคุมเชื้อราคอลเลตโตตริคัมได้ดีกว่าควบคุมเชื้อราโฟมา คิวเคอร์บิตารัม แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราฟิวซาเรี่ยมได้ สำหรับสารกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม คือ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม และไธโอฟาเนต-เมทธิลสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราคอลเลตโตตริคัมและฟิวซาเรี่ยมได้แต่ไม่ยับยั้งเชื้อราโฟมา คิวเคอร์บิตารัม จากเหตุการณ์นี้อาจบ่งชี้ถึงการพัฒนาของเชื้อ โฟมา คิวเคอร์บิตารัม สายพันธุ์ด้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราในกลุ่มสารดูดซึมดังกล่าว ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคที่เรียใช้วิธี filter-paper disc พบว่าเชื้อแบคที่เรียสำคัญที่คัดเลือกมาทดสอบทั้งสามชนิด คือ แซนโทโมมแนส แคมเพสทรีส พาโทวาร์ เวสิคาทอเรีย (Xanthomonas campestris pv. vesicatoria) สาเหตุโรคใบจุดแบคทีเรียของมะเขือเทศ, เชื้ออะซิโดโวแรกซ์ อะวีเน ซับสปีชีส์ ซิทรูไล (Acidovorax avenae subsp. citrull.) สาเหตุโรคผลเน่าของแตงโม และ เชื้อราลสโตเนีย โซลานาซิเอรัม (Rasronia solanacearun) สาเหตุโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ ถูกยับยั้งได้โดยสารไธแรมเพียงอย่างเดียว ส่วนคอบเปอร์ออกซีคลอไรค์ และบอร์โดมิกซ์เจอร์ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้งสามชนิดได้ สารปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซินซัลเฟตผสมกับอ๊อกซี่เตรตระไซคลิน ไฮโดรคลอไรด์ ในรูปแบบของสารเคมีเกษตรยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้งสามชนิดนี้ได้อย่างชัดเจน
บทคัดย่อ (EN): Efficacy of fungicides for inhibition the mycelium growth of economic pathogenic fungi, including Colletotrichum sp. causal agent of anthracnose in chili pepper, Fusarium sp. causal agent of fusarium wilt of melon and Phoma cucurbitarum causal agent of gummy stem blight of watermelon were investigated by Poison Food Technique. Results showed that the contact fungicides,e.g. mancozeb and captan were the most effective fungicides to inhibit mycelium growth of all three phytopathogenic fungi. The second rank for effective contact fungicide was copper hydroxide. Bordeaux mixture moderately inhibited the growth of Colletotrichum sp. and Phoma cucurbitarum mycelium but had not effective against Fusarium sp. For systemic fungicides, benomyl, carbendazim and thiophanate-methyl showed strong inhibition against Colletotrichum sp. and Fusarium sp. but not effective to Phoma cucurbitarum. This evidence may be indicating the development of resistant pathogenic strain of Phoma cucurbitarum to these systemic fungicides. The effective of fungicides and antibiotics against phytopathogenic bacteria was evaluated by filter-paper disc method. The growth of selected economic important bacteria, Xanthomonas campestris pv. vesicatoria, causal agent of tomato bacterial spot; Acidovorax avenae subsp. citrulli causal agent of bacterial fruit blotch in watermelon and Ralstonia solanacearum causal agent of bacterial wilt in tomato were inhibited by fungicide thiram only. The copper hydroxide and bordeaux mixture were not effective for these bacteria. The antibiotics streptomycin sulfate plus oxytetracyclin hydrochloride in agri-chemical product were highly inhibited the growth of all these three selected bacteria.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag.kku.ac.th/academic/lib/work/pdf/AG51--24.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราและสารปฏิชีวนะในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของพืชวงศ์พริก มะเขือเทศและแตง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี สรุปชุดโครงการวิจัย การเฝ้าระวังการดื้อสารต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียและการศึกษากลไกทางเภสัชเพื่อกำหนดการใช้สารต้านจุลชีพในสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ปีงบประมาณ 2546 - 2548 ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล การพัฒนาสูตรสำเร็จเชื้อราควบคุมเพลี้ยอ่อนศัตรูพริก อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการพึ่งพาเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก การพัฒนาเพื่อใช้กากของสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชทางชีวภาพ ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารจากพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก