สืบค้นงานวิจัย
การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
นุชจรี ทัดเศษ, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว, ศิวดล แจ่มจำรัส, ศิวดล แจ่มจำรัส, สุวิมล พันธ์โต - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): High Quality of Vermicompost Production and Utilization in Organic Plants Production for the Strength and Competitiveness of Organic Plants Farmers in Phetchabun Province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัย การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความสามารถในการแข่งขัน ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบชนิดของวัสดุรองพื้นต่างๆ ที่มีต่อคุณภาพของแร่ธาตุต่างๆ ในปุ๋ยมูลไส้เดือน การยอมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพ สูงโดยการใช้ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ การทดสอบปุ๋ยมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักสวนครัวต่างๆในสภาพโรงเรือน และกลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าทางการเกษตร เพื่อชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การศึกษาการเลี้ยงไส้เดือนโดยการใช้วัสดุรองพื้นที่แตกต่างกัน 3 ชนิด มูลโค มูลสุกร และมูลไก่ แล้วทาการเปรียบเทียบค่ามาตรฐานของมูลไส้เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยความชื้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนการเลี้ยงไส้เดือนโดยการไม่เสริมอาหาร และเสริมอาหารที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ข้าวโพดบด ราละเอียด และกากถั่วเหลือง พบว่าค่าเฉลี่ยโปแทส เซี่ยมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ พบว่าสามารถบาบัดขยะอินทรีย์แล้วเชื่อมโยงไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะอินทรีย์โดยการใช้ไส้เดือนดินบาบัด แล้วได้เป็นมูลไส้เดือนซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และสามารถเชื่อมโยงไปสู่การทาเกษตรกรรมปลอดสารเคมีของเกษตรกร ชุมชนสามารถผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนเพื่อใช้ในการเกษตร เป็นการลดต้นทุนและสร้างรายได้ ส่งผลดีต่อการลดปัญหาขยะทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนได้อย่างยั่งยืน 3. การทดสอบปุ๋ยมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักสวนครัวต่างๆ ในสภาพโรงเรือน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือนส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของผักชี มะเขือเปราะ ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ต้นหอม โหรพา พริกจินดา แตงกวา และคะน้ามากกว่าชุดควบคุม ทั้งนี้การผสมปุ๋ยมูลไส้เดือนอัตราส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ในการปลูกผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และแตงกวาในดินที่ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตมากที่สุด ในขณะที่การผสมปุ๋ยมูลไส้เดือนอัตราส่วน 30 เปอร์เซ็นต์ในการปลูกผักชี มะเขือเปราะ ต้นหอม โหรพา พริกจินดา และคะน้าในดินที่ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตมากที่สุด 4. กลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าทางการเกษตรเพื่อชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ จากการศึกษาวิจัย พบว่า ควรมีกลยุทธ์การให้ข่าวสารเกี่ยวกับจังหวัดและผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ในการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และบริการของจังหวัด กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์โดยผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษ กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าและจังหวัด กลยุทธ์ยืมความสนใจ กลยุทธ์ผ่าน กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน คำสำคัญ: คุณภาพมูลไส้เดือน วัสดุรองพื้น ปุ๋ยมูลไส้เดือน ขยะอินทรีย์ การถ่ายทอด ผักสวนครัว พืชอินทรีย์ เกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ กลยุทธ์ทางการตลาด
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study, were divided in 4 experiments. 1st experiment; to compare the different bedding for worm compost quality. 2nd experiment; to get rid of the organic waste by earthworms production propagation and created an earthworms network society in this research‘s community to sustainable. 3rd experiment, to determine the effects of vermicompost application on growth and yield of backyard vegetable garden. 4th experiment, to study the marketing strategy of agriculture products for community enterprises in Phetchabun province. The results of 4 experiments were described as following: 1st experiment, the results revealed that the average of moisture in 3 manures, cow pig and chicken, were significantly different. (P<0.05). The average potassium in four treatments, control (no treat), corn mill, rice bran and soybean meal supplements were significantly different. (P<0.05). 2nd experiment, the results of this project activities, high quality vermicompost fertilizer using earthworms transform organic waste in Phetchabun. province propagation technology can be added value from organic waste using earthworms and treated as vermicompost organic fertilizer which is of high quality and can be related to the agricultural chemical-free farming. Communities can produce vermicompost fertilizer for agricultural use. Reduce costs and generate revenue. Impact on reducing waste, both household and community sustainability. Including the propagation knowledge for other communities by the learning center. 3rd experiment, the results of experiment showed that application of 20% (w/w) vermicompost had increased significantly on growth and yield of water apinach, yard-long bean, and cucumber. While, the application of 30% (w/w) vermicompost was produced the highest all parameters of coriander, bringal, green Shallot, sweet basil, pepper, and chinese kale. 4rd experiment, the results of experiment showed that there should be provincial and product information strategies. Strategies to build credibility and trust in provincial products and services. Experience strategy through special events. Branding strategies and provinces Strategies lend attention to strategies through media relations management strategies. Keywords: Vermicompost quality, Bedding, Vermicompost, Organic waste, Propagation, Backyard vegetable garden. Organic plant, Organic plants farmers, Marketing strategy, Agriculture Product, Community, Phetchabun province.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-11-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2559
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงโดยการใช้ ไส้เดือนแปรสภาพขยะอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การพัฒนาระบบการผลิตผักสวนครัวอินทรีย์ด้วยปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในจังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตเห็ดฟางด้วยปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูง โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชและการผลิตพืชอินทรีย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับชาติและระดับภูมิภาค การสร้างเสริมความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของกลุ่มผู้ผลิตหอมแดงจังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการย่อยที่2 การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวแบบอินทรีย์ ในกลุ่มเกษตรกร รายย่อยของอําเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ความยั่งยืนของข้าวอินทรีย์สุรินทร์: บนเส้นทางมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ผลิตข้าวคุณภาพสูงจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ชุมชนบ้านสายยาว จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก